สรุป: 40 กฏทองของมนุษย์
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวม ทฤษฏี กฏ และหลักการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ โดยผู้เขียนได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ของบุคคลต่าง ๆ มาประกอบเพื่อให้มองเห็นภาพ โดยรวมแล้วหนังสือเล่มนี้ได้ทำการรวบรวมและสรุปทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านั้นไว้แล้ว ในฐานะผู้อ่านจะขอยกเอาเฉพาะตัวอย่างหรือทฤษฎีที่น่าสนใจในมุมมองส่วนตัวเท่านั้น
- ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (Edward Lorenz: 1979) Does the Flap of a Butterfly’s wings in Brazil set off a Tornado in Texas? โดยหลักการคือการขยับปีกของผีเสื้อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาสรอบตัว และความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาสเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดเป็นพายุทอร์นาโดได้ จากมุมมองทางจิตวิทยาต่อทฤษฎีนี้ คือ ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยที่เรามองข้าม อาจส่งผลต่อชีวิตของเรามากเกินกว่าที่เราจะคาดคิด ดังเช่นเรื่องราวที่ผู้เขียนยกมาเป็นตัวอย่าง
- กฏมอร์ฟี (Edward A. Murphy: 1949) หากมันมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด มันย่อมพลาดเข้าซักวัน ดังนั้นหากรู้ว่าอะไรมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด พึงระวังใส่ใจให้ดี
- ทฤษฎีการลอกคราบ- เอาชนะตัวเอง แล้วเราจะแข็งแกร่งขึ้น (แนะนำอ่าน: ความพึงพอใจเป็นศัตรูต่อการพัฒนา)
- กฏของพาร์กินสัน (C. Northcote Parkinson : 1958) Work expands so as to fill the time available for its completion. จงบริหารเวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (แนะนำอ่าน: หัวหน้าที่คุณไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง)
- ทฤษฎีกาเบะ (อดีตผู้บริหาร AT&T Inc) การยอมละทิ้งบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีกว่า. อยากบินให้สูงต้องทำตัวให้เบาที่สุด ละทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นในชีวิต เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่แท้จริง
- หลักเส้นทางแห่งการพึ่งพา. เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง (แนะนำอ่าน: หาดาวหมีใหญ่)
- กฏของหวางหย่งชิ่ง. การหาเงินได้เป็นความสามารถ แต่การรู้จักใช้เงินเป็นปัญญา
- ทฤษฎีอุโมงค์. จงออกจากอุโมงค์ของคุณซะ
- กฎลมทิศใต้ หรือกฏความอ่อนโยน. จงเรียนรู้ที่จะใช้ความรู้สึกของตนเองทำให้ผู้อื่นประทับใจ แต่จงใช้สติปัญญาทำให้ผู้อื่นเข้าใจ
- กฏของเทอร์รี การยอมรับข้อผิดพลาด เป็นบ่อเกินแห่งพลัง (แนะนำอ่าน: รับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองโดยไม่หาข้ออ้างใดๆ)
- กฏการบริหารแบบเทียบเคียง คู่แข่งคือแบบอย่างการเรียนรู้ที่ดีที่สุด จงทำดีกับคู่แข่ง และค้นหาจุดที่คู่แข่งทำได้ดีกว่า แล้วนำมาศึกษาพัฒนา คู่แข่งคือคนที่มีผลโดยตรงต่อพัฒนาการของเรา
- ปรากฎการณ์พิเมเลี่ยน หรือปรากฏการณ์ความคาดหวัง
- กฏของเห็ด (แนะนำอ่าน: ทำเรื่องง่ายๆ ให้เพอเฟกส์ — เซโกะ โนดะ)
- กฏการทำงานของวอชิงตัน (จับปูใส่ตะกล้า, 1+1>2)
- ปรากฏการณ์ปลาไพค์ เมื่อไม่มีการแข่งขัน ย่อมไม่เกิดแรงผลักดัน
- ปรากฏการณ์น้ำร้อนน้ำเย็น (จงเรียนรู้ที่จะวัดของต่างชนิดกันด้วยตราชั่งที่ต่างกัน)
- ปรากฏการณ์ภูเขาเรเนียร์ จงทำความเข้าใจความพึงพอใจของพนักงาน
- หลักการของดรักเกอร์ (แนะนำอ่าน: ลูกหลานบริหารเจ๊งในวันเดียว, ปิดประตูใส่เครือญาติของคุณซะ
- เบียร์เกม อุปสงค์เพิ่มขึ้นเพียง 10% สามารถส่งผลให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 200% (แนะนำอ่าน: ยึดข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด)
- กฏนาฬิกา จงเชื่อมั่นในนาฬิกาของคุณ (แนะนำอ่าน: เลือกเป้าหมายที่ถูกต้อง)
- ทฤษฏีโดมิโน
- ปรากฏการณ์มัทธิว ผู้ที่แข็งแกร่งขึ้นถึงจะได้เปรียบ — กฏของการโยนโบงลิ่งเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุด
- กฏแห่งความไม่คุ้มค่า
- ตรรกะกรงนก จงเป็นตัวของตัวเองในแบบที่คุณพอใจ
- ทฤษฏีหน้าต่างแตก แก้ใขและชดเชยปัญหาที่เกิดขึ้นทันที
- จุดวิกฤต ก้าวข้ามมันไปได้ คุณจะเป็นผู้ชนะ
- กฏของลูอิส ถ่อมตัว อย่างพอดีพองาม
- ทฤษฏีคนที่โง่กว่า จงโยนเผือกร้อนออกให้พ้นตัวเร็วที่สุด (แนะนำอ่าน: ระวังติดกับดักที่คนอื่นวางไว้)
- ทฤษฏีกระดานหก มีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างลงตัวจึงจะเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย (แนะนำอ่าน : ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้คุณมีหนทางเอาชีวิตรอดมากขึ้น)
- กฏเตาอบร้อน กฏต้องชัดเจน และบทลงโทษต้องใช้ได้กับทุกคน
- กฏภูเขาเหิงซาน ใช้อำนาจควบคุมมิสู้ส่งเสริมให้เขาควบคุมตัวเอง
- กฏของกบ (ในหม้อน้ำร้อน) นึกถึงอันตราย แม้อยู่ในยามสงบ และเตรียมแผนรับมือ
- กฏการกระโดดข้ามรั้ว ยิ่งก้าวข้ามปัญหาใหญ่แค่ไหน ความสำเร็จที่ตามมาก็จะใหญ่ขึ้น
- กฏของโอกิลวี่ กล้าใช้คนเก่งแล้วบริหารเขาอย่างมีประสิทธิภาพ
- สูตรของคาเรล สติ แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
- กฏของดูแกน ความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นตัวตัดสินความสำเร็จ
- ปรากฏการณ์ First Impression ความประทับใจแรก สำคัญที่สุด
- กฏของดูลิโอ ขาดซึ่งความกระตือรือร้นแล้ว ไม่มีงานใดจะสามารถลุล่วงไปด้วยดี
- ปรากฏการณ์ประภาคาร เป้าหมายคือแม่เหล็กดึงดูดไปสู่ความสำเร็จ
- หลักการของสมิธ เรื่องผลประโยชน์ แม้เป็นความร่วมมือก็ถือเป็นสนามแข่งขัน หากต้องการความร่วมมือ จงหยิบยื่น และชี้ให้เขาเห็นถึงผลประโยชน์
สำหรับผู้อ่านแล้ว หลายเรื่องราวที่ผู้เขียนยกตัวอย่างมา ทำให้เข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงทั้งสำเร็จและล้มเหลว จากกฏหรือทฤษฏีเหล่านี้