Blockchain ฉบับภาษาชาวบ้าน

Blockchain คือคำที่หลายคนคงเคยได้ยินผ่านหู แต่น้อยคนที่จะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่ามันคืออะไร และคนที่จะสามารถอธิบายให้ชัดเจนนั้นยิ่งหายากขึ้นไปอีก เพราะมันเป็นเรื่องราวของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้นมันจึงเต็มไปด้วยคำทับศัพท์และคำศัพท์เฉพาะที่ชวนให้งงงวยเข้าไปอีก มันจะมีวิธีไหนที่เราจะอธิบายคำนี้ให้กับ ลุงคำมากับป้าคำมีเข้าใจได้บ้างหรือไม่ เรามาลองดูกันครับ

ก่อนอื่นต้องขอท้าวความไปถึงที่มาของ Blockchain ก่อนสิ่งที่เป็นต้นกำเนิด Blockchain นั้นเรียกสั้น ๆ ว่า DLT ซึ่งย่อมาจาก Distributed Ledger Technology ซึ่งก็คือการพยายามเชื่อมโยงข้อมูลทุกอย่างบนโลกเข้าด้วยกัน คำว่า Ledger หากแปลตรงตัวก็คือบัญชีแยกประเภท ซึ่งเป็นบัญชีลำดับที่สองถัดจากบัญชีสมุดรายวัน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงของบริษัท

ในปัจจุบันข้อมูลทุกอย่าง ล้วนแต่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบดิจิตอลแทบทั้งหมด และบริษัทต่าง ๆ ก็จัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นเป็นของส่วนตัวของใครของมัน เวลาจะแลกเปลี่ยนข้อมูลก็พิมพ์ออกมาเป็นเอกสารส่งต่อกัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งใช้เวลานานและสิ้นเปลืองทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือความน่าเชื่อถือของเอกสาร จึงทำให้มีคนพยายามคิดค้นเทคโนโลยีที่จะช่วยเชื่อมโยงข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทุกมุมบนโลกใบนี้เข้าด้วยกัน โดยเรียกรวม ๆ ว่า DLT โดยเน้นการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันโดยตรง โดยไม่ผ่านคนกลางเพื่อป้องกันการการผูกขาด รวมไปถึงการคอรัปชั่น ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย

Blockchain เป็นหนึ่งในวิธีการที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้เข้าด้วยกัน และมันก็ไม่ได้มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้น นอกจาก Blockchain แล้วยังมีวิธีการที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับอีกหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น Directed Acyclic Graph และ Hashgraph เป็นต้น

https://cryptomaniaks.com/guides/distributed-ledger-technology-for-dummies

Blockchain เป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมและยอมรับอย่างกว้างขวางเพราะข้อมูลที่เก็บในลักษณะนี้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือสูงแต่ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะดีไปหมด ตัว Blockchain เองก็มีข้อเสียเปรียบวิธีอื่นเช่นกัน

จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นว่า Blockchain นั้นจะทำงานได้ช้ากว่า DAG และ Hashgraph เป็นอย่างมาก เหตุเพราะหนึ่งในกระบวนการสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลที่เก็บอยู่ใน Blockchain คือกระบวนการที่เรียกว่า Consensus หรือมติเอกฉันท์จากทุกคนในเนตเวิร์คว่าข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ ธุรกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้น ทุกคนในระบบต้องรับรู้และมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น นี่คือเหตุผลที่ทำให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน Blockchain เป็นที่น่าเชื่อถือและส่งผลให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

การเชื่อมต่อสื่อสารกันผ่านอินเตอร์ในรูปแบบปกตินั้นเป็นการส่งต่อสำเนาของข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราแนบไฟล์เอกสารที่อยู่ในเครื่องเราส่งอีเมลไปให้เพื่อน เราก็ยังคงมีเอกสารนั้นอยู่ในเครื่อง แต่การสื่อสารกันในรูปแบบ Blockchain นั้นเป็นการส่งต่อสิ่งที่มีคุณค่าหรือมูลค่าจากทอดหนึ่งไปสู่อีกทอดหนึ่ง ด้วยวิธีการจัดเก็บและเข้ารหัสที่น่าเชื่อถือ ทำให้คุณค่าของสิ่งนั้นไม่ลดลงหรือสูญหายไป


Crypto Currency ต่าง ๆ ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น BitCoin LiteCoin หรือ Ethereum ล้วนแต่พัฒนาขึ้นบนหลักพื้นฐานในเรื่อง DLT โดยใช้วิธีการแบบ Blockchain แต่ทว่า BitCoin Blockchain DLT

ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้อย่างกระจ่างแจ้ง แต่ก็หวังว่าลุงคำมา กับป้าคำมี พอจะมองเห็นภาพรวมว่า Blockchain นั้นมาจากไหน ทำงานอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ท้ายที่สุดนี้ หากยังเข้าใจไม่ชัดเจน ก็ลองไปฟังลุงคำปันเขาอธิบายอีกทีนะครับ