HOW WILL YOU MEASURE YOUR LIFE?

ปัญญา วิชา ชีวิต


หนังสือเล่มนี้เป็นการตกผลึกจากหนังสือเล่มสุดท้ายของปรมาจารย์ด้านเศรษฐศาตร์ Clayton M. Christensen. จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้นำเสนอทฤษฏี Disruptive Innovation หรือที่กลายมาเป็นคำว่า Disruption ในปัจจุบัน

ในส่วนแรกของหนังสือเล่มนี้เป็นการตั้งคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับชีวิตของเราสามข้อคือ

  1. เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า “เราจะมีความสุขกับอาชีพการงาน”?
  2. เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า “ครอบครัวของเราจะมีความสุขตลอดไป”?
  3. เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า “ชีวิตของเราจะไม่มีจุดจบที่น่าอนาจ”?

โดยคริสเตนเซนจะให้คำตอบของคำถามเหล่านี้ผ่านทางทฤษฎีต่าง ๆ ที่เขาค้นพบจากการทำงาน จากการพบปะผู้คนที่ประสบความสำเร็จในแวดวงธุรกิจ ตลอดชีวิตของเขา


เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า “เราจะมีความสุขกับอาชีพการงาน”?

คริสเตนเซนนำเสนอทฤษฏี ของเฟรเดอริค เฮิร์ซเบิร์ก (Frederick Herzberg) ในการใช้เป็นแนวทางในการค้นหาคำตอบ ซึ่งข้อสรุปจากทฤษฏีนี้คือ “เงินเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้มนุษณ์ทำงาน คล้ายกับปัจจัยพื้นฐานที่องค์กรจำเป็นต้องมี เพื่อก่อให้เกิดเงื่อนไขการทำงานที่ดี แต่เงินไม่ใช่ปัจจัยหลักในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน”

ความรักในงานนั้นเกิดจากปัจจัยภายในซึ่งไม่สามารถถูกชี้นำโดยวัตถุได้ ซึ่งปัจจัยภายในเหล่านั้นได้แก่

  • Opportunity to Learn โอกาศที่จะได้เรียนรู้จากงาน
  • Grow in Responsibility มีการเติบโตก้าวหน้า
  • Contribute to Other ได้ช่วยเหลือผู้อื่น
  • Recognized of Achievements ผลงานจะได้รับความชื่นชนและเป็นที่จดจำ

เมื่อมีความรู้เพิ่มขึ้น เติบโตก้าวหน้าในอาชีพการงานมากขึ้น และภาระที่รับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้มนุษณ์รู้สึกถึงคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีโอกาศช่วยเหลือผู้อื่นและ ผลงานต่าง ๆ ได้รับการชื่นชมจากคนอื่นๆ จะยิ่งทำให้รู้สึกถึงความสำคัญของตน เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งคนเหล่านี้จะมุ่งอุทิศตนทำงานเพื่อผู้อื่น เป็นหลัก

หากองค์กรต้องการให้คนที่ทำงานในองค์กรมีความสุขกับการทำงาน ทุ่มเทในการทำงาน เงินอย่างเดียวไม่อาจทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ องค์กรต้องมอบโอกาศทั้งสี่ประการนี้ให้กับพนักงาน เพราะนี่คือสิ่งที่จะทำให้พนักงานขององค์กรไม่ใช่คนที่ทำงานไปวันๆ เพื่อเงินตรา แต่ทุ่มเททำงานด้วยความมุ่งมาดปราถนาเพราะเป้าหมายของชีวิตของเขาเหล่านั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เงินตราเพียงอย่างเดียว

สำหรับคนทำงานแล้ว ลองย้อนมองดูว่าองค์กรของคุณให้อะไรคุณบ้างนอกจากเงินเดือน ผ่านทางทฤษฏีที่เขานำเสนอ หากไม่มีนั่นก็อาจหมายความว่ามันถึงเวลาแล้วที่คุณต้องมองหาองค์กรใหม่ ที่ให้คุณมากกว่าแค่เงินเดือน


เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า “ครอบครัวของเราจะมีความสุขตลอดไป”

ชีวิตเราจะดำเนินไปอย่างอย่างไร สิ่งชี้นำที่ดีที่สุดคือเป้าหมายของชีวิต แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การรักษาเป้าหมายของชีวิต

จากการสังเกตุของผู้เขียนพบว่าในบรรดานักบริหารที่ร่วมชั้นเรียนกับเขาที่ฮาร์วาร์ด ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่กลับต้องเผชิญกับความโศกเศร้าจากการหย่าร้าง ห่างเหินจากครอบครัว และพลัดพลากจากบุตรหลาน มันเกิดอะไรขึ้นกับเขาเหล่านั้น

คริสเตนเซนได้สรุปออกมาเป็นเหตุผลสั้น ๆ ว่า “เป็นเพราะเขาเหล่านั้นสูญเสียเป้าหมายของชีวิต” เมื่อขาดเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิตเขาเหล่านั้นจึงอุทิศ เวลา ความรู้และพลังงานทั้งหมดไปกับสิ่งที่เขาเหล่านั้นไม่ได้ต้องการอย่างแท้จริง แต่กว่าจะรู้ตัวว่าสิ่งที่เราต้องการที่แท้จริงคืออะไร มันก็สายไปเสียแล้ว

แต่หากเราไม่สามารถค้นหาเป้าหมายชีวิตให้เจอ ก็เปรียบเสมือนล่องเรือโดยปราศจากหางเสือ ยากที่ควบคุมทิศทาง

เมื่อเรามีเป้าหมายที่แน่ชัด แต่การมีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากรของเราซึ่งก็คือ เวลา ความรู้ และพลังงาน ถือเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นการจัดสรรทรัพยากร จึงถือเป็นกลยุทธที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้อย่างราบรื่น หากผิดพลาดก็จะเป็นดังเช่นพื่อนร่วมรุ่นของผู้เขียน ที่ทุ่มเทให้กับหน้าที่การงานจนชีวิตครอบครัวพังทลาย

คริสเตนเซนมองว่า สาเหตุหลักนั้นเกิดจากการให้น้ำหนักความสำคัญของมุมมองระยะสั้น มากกว่ามุมมองในระยะยาว ความสำเร็จในหน้าที่การงาน อาจจะเห็นผลไนไม่กี่เดือนปี แต่การที่จะเลี้ยงลูกออกมาเป็นคนดี ต้องใช้เวลาหลายสิบปีในการพิสูจน์ “การงานเจริญก้าวหน้า แต่ครอบครับถูกลดค่าล้าหลัง” ผลลัพท์จึงเป็นดังที่เห็น

หากเปรียบเทียบแล้วเราใช้ทรัพยากรไปกับสิ่งที่ครั้งหนึ่งเราเคยกล่าวว่ามันมีค่าที่สุดกับชีวิตเราไปน้อยมาก หากอยากจะบรรลุเป้าหมายจำเป็นต้องอดทนต่อความเย้ายวนของผลลัพท์จากเป้าหมายระยะสั้น มุ่งมั่นและทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของเราไปที่เป้าหมายระยะยาว มีแต่วิธีนี้เท่านั้นที่จะทำให้เป้าหมายของเราชัดเจนอยู่เสมอ


เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า “ชีวิตของเราจะไม่มีจุดจบที่น่าอนาจ”?

คำถามนี้เหมือนไม่น่าจะมีความสำคัญ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จไม่น้อย กลับมีชีวิตที่ลงเอยด้วยการใช้ชีวิตอยู่ในคุก แทนที่จะเป็นบ้านอันแสนอบอุ่น อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเก่งเหล่านี้มีจุดจบที่น่าอนาจ คำตอบจากคริสเตนเซนคือ “การใช้ชีวิตอย่างอรุ่มอร่วย และผ่อนปรน” โดยเขาให้คำตอบผ่านมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่อง “ต้นทุนส่วนเพิ่ม (Marginal Cost)” ในการประเมินทางเลือกในการลงทุนว่า

หลายครั้งที่เราต้องตัดสินใจเลือกระหว่างสิ่งที่ “ถูก” และ “ผิด” เมื่อเราเลือกกระทำในสิ่งที่ผิด สามัญสำนึกของเราจะแก้ตัวให้เราว่า “แค่ครั้งนี้ครั้งเดียว” มันเป็นสถานการณ์พิเศษที่ไม่อาจใช้หลักการและเหตุผลที่มีอยู่ ต้นทุนส่วนเพิ่มของการทำผิดอันเนื่องมาจากคำว่า “แค่ครั้งนี้ครั้งเดียว” มันดูด้อยค่ามากเมื่อเทียบกันผลที่จะได้รับ และมันจะดึงดูดให้คุณถลำลึกลงไปเรื่อย ๆ กว่าที่เราจะรู้ตัวอีกที ต้นทุนรวมก็สูงจนเกินรับใหว

การนอกใจของสามีภรรยา เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดของการใช้ต้นทุนส่วนเพิ่มโดยเริ่มจากคำว่า “แค่ครั้งนี้ครั้งเดียว” หากเรายอมปล่อยให้คำนี้เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง แน่นอนว่ามันจะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายของชีวิต

จงค้นหาหลักการของชีวิตเพื่อให้รู้ว่าเรายืนหยัดอยู่เพื่ออะไร แล้วรักษามันไว้ มีเพียงหนทางนี้เท่านั้นที่จะทำให้เรามั่นใจได้ว่า อนาคตเราจะไม่ลงเอยอย่างที่มันไม่ควรเป็น


นอกจากการตอบคำถามสามข้อที่สำคัญในชีวิตแล้ว “ความอ่อนน้อมถ่อมตน” ก็เป็นสิ่งที่คริสเตนเซนเห็นว่าเป็นสิ่งที่เราทุกคนจำเป็นต้องมี เพราะความอ่อนน้อมถ่อมตนจะทำให้เรามีโอกาศเรียนรู้จากคนรอบข้างได้อย่างมากมายมหาศาล หากเราคิดว่าคนที่ฉลาดกว่า เรียนจบสูงกว่าเราเท่านั้นถึงจะเป็นครูของเราได้ โอกาศเรียนรู้ของเราจะถูกจำกัดลงไปมาก ยิ่งเราฉลาดเท่าไหร่เรียนมาสูงเท่าไหร่โอกาศในการเรียนรู้ยิ่งน้อยลงไปเท่านั้น

ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ได้เกิดจากความอ่อนแอ หากแต่เกิดจากการที่เราเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้อื่น แต่ก่อนที่เราจะไปถึงจุดนั้น เราต้องรู้จักคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเราเองก่อน เมื่อเรามองผู้อื่นจากมุมมองนี้แล้ว ความอ่อนน้อมถ่อมตนก็จะตามมาเอง

ประการที่สองที่คริสเตนเซนอยากให้ข้อคิดก่อนที่ชีวิตเขาจะดับสูญคือ การเลือกตราชั่งที่ถูกต้องให้กับชีวิต กล่าวคือความสำเร็จและทรัพย์สินเงินทองต่าง ๆ ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เราสมมติขึ้นมา ในวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่ว่าพระเจ้าหรือยมทูต ต่างล้วนไม่เคยสนใจว่าคุณเป็นคนที่ประสบความสำเร็จแค่ไหน คุณมีเงินในบัญชีเท่าไหร่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะไร้ค่า หาความหมายใดมิได้หากเราไม่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้ว ตราชั่งที่วัดว่าเราเป็นคนมีคุณค่าให้จดจำที่แท้จริง คือ จำนวนคนที่เราช่วยให้เขาเหล่านั้นมีชีวิตที่ดีขึ้นต่างหาก ถึงจะเป็นตราชั่งที่แท้จริง


นี่เป็นเพียงส่วนแรกของหนังสือเล่มนี้ ส่วนอีกครึ่งเล่มหลังคอยติดตามกันต่อไป