BECOME THE INSIDER 1
เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงินนั้นประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ อย่างแรกที่ต้องมีคือ เงิน เงินก้อนแรกนั้นสำคัญมาก ต้องเก็บเงินก้อนแรกให้ได้ เพื่อที่จะนำเงินก้อนนี้ไปต่อยอดให้งอกเงยขึ้น ถัดมาคือการปรับเปลี่ยนทัศนคติทางการเงิน ต้องขจัดมุมมองด้านลบที่มีต่อเงินให้หมดไปให้ได้ และอย่างที่สามที่ขาดไม่ได้คือความรู้ทางการเงิน กระบวนการในการทำให้เงินที่มีอยู่งอกเงยเพิ่มขึ้น
KNOW THE RULES BEFORE YOU GET IN THE GAME
เราจะเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่าเกมนั้นเล่นยังไง แต่ละเกมที่คิดค้นนั้นมีกฏเกณฑ์ในการเล่นที่แตกต่างกันออกไป ผู้ชนะนั้นจำเป็นต้องเข้าใจกฎเกณฑ์เหล่านั้นอย่างละเอียดถ่องแท้ ถึงจะสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและเอาชนะคู่แข่งขันได้ เกมการเงินนั้นก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเกมอื่น ๆ มันมีกฎที่เราต้องรู้และทำความเข้าใจก่อน ถึงจะเอาชนะเกมนี้ได้
You have to learn the rules of the game, and then you have to play better than anyone else - Albert Einstein
กฏของเกมการเงินข้อที่ 1
Don't get in the game unless you know the rules อย่าลงไปเล่นเกมจนกว่าคุณจะเข้าใจกฎของเกมนั้นดีพอ ลองนึกถึงเกมการพนัน เช่นโปกเกอร์ ถ้าคุณไม่เข้าใจกฏ คุณจะอ่านเกมไม่ออกและแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเอาชนะคู่แข่งขัน ไม่ว่าไพ่ในมือคุณจะดีขนาดใหนก็ตาม
9 ประโยคลวงในเรื่องการลงทุน
บนหน้าหนังสือพิมพ์ทางการเงินในปัจจุบันนั้นแทบจะไม่มีข่าวสารทางการเงิน ส่วนใหญ่เป็นข้อความโฆษณาที่กระตุ้นให้ผู้คนอยากลงทุน และพอคุณตัดสินใจลงทุน คุณจะถูกชักจูงให้เข้าซื้อกองทุนต่าง ๆ โดยเหล่านักขายกองทุนทั้งหลายที่แอบเฝ้ามองคุณอยู่ทันที และเงินทั้งหมดที่คุณเตรียมไว้ลงทุนเพื่ออนาคตของคุณและครอบครัว จะเข้าไปอยู่ในกองทุนใดกองทุนหนึ่งในท้ายที่สุดด้วยเหตุผล ข้อดีต่าง ๆ ที่เหล่านักขายกรอกใส่หูคุณ สิ่งต่าง ๆ ที่เหล่านักขายกรอกใส่หูคุณนั้นเรียกคร่าว ๆ ว่า คำโกหกที่มีมูลค่า 13 ล้านล้านเหรียญ (Trillion) - 13 ล้านล้านเหรียญ คือ ประมาณการมูลค่าของกองทุนรวมทั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกา
คำโกหกที่ 1: Invest with us, we'll beat the market!
เมื่อคุณตัดสินใจซื้อกองทุน ตัวแปรที่ทำให้คุณตัดสินใจคือ ความคาดหวัง คุณกำลังซื้อความหวังในตัวของผู้จัดการกองทุน คุณหวังว่าเขาจะเลือกหุ้นได้ดีกว่าคุณ เพราะคุณคิดว่าเขาเหล่านั้นฉลาดและเชี่ยวชาญการลงทุนมากกว่าคุณ คุณหวังให้เขาช่วยให้เงินของคุณงอกเงย คุณหวังว่าเขาเหล่านั้นจะช่วยให้คุณ "เอาชนะตลาด" ได้ แต่สิ่งที่คุณกำลังซื้อคือความคาดหวัง อันลม ๆ แล้ง ๆ ข้อมูลทางสถิติเฉลยให้เห็นว่า 96% ของผู้จัดการกองทุนนั้นไม่เคยเอาชนะตลาดได้ และที่สำคัญคือตัวเลขนี้ไม่ใช่สถิติของปีใดปีหนึ่ง แต่คือสถิติโดยเฉลี่ยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
อย่าพยายามเอาชนะตลาด เพราะมีไม่กี่คนในโลกที่ทำได้ - Ray Dalio
คำโกหกที่ 2: Our fees? There're a small price to pay!
ต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของการเป็นเจ้าของกองทุนในอเมริกานั้นอยู่ที่ 3.17% ในขณะเดียวกันคุณสามารถซื้อหุ้นทั้งตลาดได้โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 0.14% ตัวเลขนั้นไม่เยอะแต่ส่วนต่างนั้นกลับมหาศาล คิดง่าย ๆ คุณไปซื้อของที่ร้านในราคา 14 บาท ถ้าคุณฝากเพื่อนบ้านไปซื้อคุณต้องจ่าย 317 บาท โดยหวังว่าเพื่อนบ้านจะเลือกสินค้าได้ดีกว่าคุณ
ดังนั้น อย่างแรกที่ต้องรู้ก่อนซื้อกองทุนคือ คุณต้องจ่ายค่าบริการเท่าไหร่? อะไรบ้าง? เพราะค่าบริการนั้นเหมือนรูรั่วบนเรือของคุณ คุณจะพายเรือไปถึงจุดหมายได้อย่างไรถ้าต้องมัวแต่วิดน้ำออกจากเรือ กองทุนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดค่าบริการ มากกว่าการลงทุนเสียอีก รายการค่าบริการนั้นยาวเป็นหางว่าวและเต็มไปด้วยคำที่ไม่เราไม่รู้ความหมาย และที่สำคัญคือคนส่วนใหญ่ไม่เคยอ่าน
ค่าธรรมเนียมกองทุนรวมสำหรับประเทศไทย
จากตารางตัวอย่างด้านบน สิ่งที่ไม่มั่นคงแน่นอนคือ กำไร แต่สิ่งที่ยั่งยืนและถาวรคือค่าใช้จ่ายและค่าบริการ ทุกๆ รายได้ 100 เหรียญจะถูกหักค่าบริการที่คุณไม่รู้ว่ามันคืออะไรไป 31.70 เหรียญ และถ้ากองทุนที่คุณถือมีกำไรมากกว่า 3.17% ก็ถือว่าโชคดีเสมอตัว ดังนั้นการซื้อกองทุนอย่ามองข้ามรายละเอียดค่าบริการ เพราะบางครั้งค่าบริการเหล่านั้น อาจจะสูงกว่าผลกำไรที่ได้รับ กองทุนที่ซื้อและถือเหมือนจะได้กำไรแต่แท้ที่จริงอาจจะไม่ได้อะไรเลย
คำโกหกที่ 3: Our returns? What you see is what you get
สถิติทางการเงินแบ่งออกเป็น Time Weighted กับ Dollar Weighted (Money Weighted) ตัวเลขอัตราเปอร์เซนต์ของผลตอบแทนที่กองทุนนำมาทำการโฆษณาส่วนใหญ่จะเป็น Time Weighted ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงผลตอบแทนที่จะได้รับจริง คำโฆษณาที่ว่าสร้างผลตอบแทนได้ 20% ต่อปี นั้นไม่ได้หมายความว่าเงินที่เราลงไปจะเพิ่มขึ้น 20% ยกตัวอย่างวิธีคิดดังนี้ ลงทุน 100,000 ได้กำไรเดือนแรก +50% เดือนถัดไป -50% สลักกันไปมาจนถึงสิ้นปี ตัวเลขค่าเฉลี่ยคือ 0% เหมือนเงินเราจะเท่าเดิม แต่จริง ๆ แล้วจำนวนเงินหายไป 82,202.15 หรือคิดเป็น 82.20% ดังนั้นถ้ามีคนบอกว่าเขาทำกำไรได้เท่านั้นเท่านี้เปอร์เซนต์ต่อปี ต้องถามให้ชัดเจนว่าตัวเลขนี้คิดจากอะไร Time Weighted หรือ Money Weighted
คำโกหกที่ 4: I'm your Broker, and I'm here to help
ทุกคนอยากเป็นนักลงทุน แต่น้อยคนที่จะลงมือศึกษาการลงทุนอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่จะไปปรึกษาคนที่เขาคิดว่าเป็นผู้เชียวชาญการลงทุน แต่แท้ที่จริงเขาเหล่านั้นคือนักขายกองทุน ความสามารถในด้านการลงทุนของคนเหล่านี้แทบจะเป็น 0 เมื่อเทียบกับความสามารถในด้านการขาย
เชพทำอาหารส่วนใหญ่ไม่กินอาหารที่เขาปรุง ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทุนในกองทุนที่ตัวเองบริหาร จากสถิติมีเพียงผู้บริหารส่วนน้อยเท่านั้นที่ลงทุนในกองทุนที่ตนเองบริหารและจำนวนเงินที่ลงทุนนั้นก็ไม่ได้มากมายเมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้รับจากการบริหารกองทุน
คำถามคือ ทำไมเชฟส่วนใหญ่ไม่กินอาหารที่ปรุงเอง เพราะเขาเหล่านั้นอาจจะรู้ว่าครัวนั้นสกปรกขนาดใหน หรือวัตถุดิบที่นำมาปรุงนั้นไม่ได้ดีอย่างที่คิด สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเดาได้ไม่ยาก แต่เหล่านักขายกองทุนนั้นมีวิธีการทำงานที่ชาญฉลาดกว่า เขาจะเสนอตัวมาในรูปแบบเพื่อนผู้หวังดี คอยให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ปรึกษา ถ้าเราถามผู้คนส่วนใหญ่ว่าเชื่อเขาเหล่านั้นหรือไม่ คำตอบ เชื่อหรือไม่เชื่อ นั้นสิ่งที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าคนที่ตอบคำถามนี้จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในทางการเงิน หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ระหว่างที่คุณกำลังปีนเขา คุณคิดว่าไกด์ของคุณเห็นชีวิตคุณสำคัญกว่าหรือชีวิตของเขาเองสำคัญกว่า นักปีนเขาที่บอกว่าไกด์เห็นชีวิตของนักปีนเขาสำคัญกว่านั้นมักจะไม่รอด
ถ้าเขาเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้แล้วใครที่เราควรเชื่อ คำตอบคือตัวคุณเอง เพราะไม่มีใครสนใจอนาคตของคุณเท่าตัวคุณเอง ไม่มีใครสนใจอนาคตของลูกคุณเท่าตัวคุณ ไม่มีใครสนใจความเป็นอยู่ของคุณเท่าตัวคุณเอง สิ่งที่เขาเหล่านั้นสนใจอย่างแท้จริงคือเงินของคุณ ดังนั้นคุณต้องเป็นคนลงมือจัดการกับอนาคตของคุณด้วยมือของคุณเอง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะเอาอนาคตของคุณไปวางไว้ในมือคนที่คุนแทบจะไม่รู้จักด้วยซ้ำ เช่นผู้บริหารกองทุนที่คุณไม่เคยเห็นหน้า หรือที่ปรึกษาทางการเงินผู้หวังดีที่เสนอตัวเข้ามาช่วยคุณ
ทำไมผู้บริหารกองทุนถึงไม่ลงทุนในกองทุนที่ตนเองบริหาร หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่ลงทุนในกองทุนเลย เพราะเขาเหล่านั้นรู้ว่ามันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำกำไรให้กับนักลงทุนจริง ๆ มันออกแบบมาเพื่อนำเงินจากนักลงทุนไปหาเงินให้กับสถาบันทางการเงิน หรือพูดให้ชัดเจนคือมันถูกออกแบบมาเพื่อทำกำไรให้กับเจ้าของกองทุนนั่นเอง ดังนั้นกองทุนเหล่านี้จึงมีแต่ได้กับได้เพราะสามารถสร้างรายได้จากทั้งสองทางคือ จากเงินลงทุนและค่าบริการต่าง ๆ
แต่ก็ไม่ใช่ทุกกองทุนจะเป็นแบบนั้นเสมอไป ก็มีบางกองทุนที่ผู้ก่อตั้ง ตั้งใจก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักลงทุนจริง ๆ กองทุนเหล่านี้สังเกตุไม่ยาก เช่นไม่ค่อยมีค่าบริการยิบย่อยต่าง ๆ แต่การเข้าถึงนั้นกลับยาก เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้เปิดให้สาธารณชนเข้าถึง บางกองทุนมีการกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการลงทุนไว้สูงลิบลิ่ว บางแห่งก็ต้องใช้บุคคลอ้างอิงในการเข้าถึงเท่านั้น
โปรดติดตามคำโกหกถัดไปในตอนต่อไป