Operation Efficiency

จากประสบการณ์ของผู้เขียนหนังสือในฐานะผู้ประกอบการและนักลงทุน เขาพบว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นกังวลที่สุดคือ เวลา และสิ่งที่กำหนดว่าบริษัทมีเวลาเหลืออยู่เท่าไหร่นั้นคือ เงินทุน นับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มก่อตั้งบริษัท การนับถอยหลังก็เริ่มขึ้นทันที บริษัทต้องสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะสร้างรายได้ให้ได้ก่อนที่เวลาจะหมดลง

Milestone VS Time

หนทางเดียวที่จะยืดระยะเวลาหรือรันเวย์ของบริษัทให้ยาวนานขึ้นคือการเพิ่มทุน ยิ่งมีทุนมากเท่าไหร่ยิ่งก็ยิ่งช่วยให้อุ่นใจ ทำให้งานหลักของผู้ประกอบการกลายเป็นการวิ่งหาเงินทุนแทนที่จะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ข้อแตกต่างที่ผู้เขียนค้นพบคือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่โฟกัสที่เวลาหรือรันเวย์ของบริษัทแต่ผู้ประกอบการณ์ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะโฟกัสที่ไมล์สโตนแทน

What is Milestone? A milestone is a specific point  within a product road-map used to measure the progress of a project toward its ultimate goal.

ไมล์สโตนนั้นคือการซอยเป้าหมายหลัก ออกเป็นเป้าหมายเล็ก ๆ แล้วทำแต่ละเป้าหมายให้ประสบความสำเร็จ การนำพาบริษัทให้ประสบความสำเร็จนั้นก็เปรียบเสมือนการปีนขึ้นยอดเขาเอเวอร์เรซ ไม่มีใครที่จะสามารถปีนรวดเดียวไปจนถึงยอดเขาได้ จำเป็นต้องวางแผนในการปีนในแต่ละวัน กำหนดเป้าหมายระดับความสูงที่จะปีน แล้วค่อย ๆ ใต่ระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงยอดเขา

หนึ่งในสิ่งที่ยากสำหรับการทำสตาร์ทอัพคือการกำหนดว่าจะประสบความสำเร็จเมื่อไหร่ การใช้เวลาเป็นกรอบกำหนดความสำเร็จนั้นสร้างความกดดันให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทีมงาน ผู้ประกอบการ หรือแม้กระทั่งนักลงทุน เพราะทุกคนคาดหวังในความสำเร็จเมื่อเวลานั้นมาถึง ความกดดันนั้นจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ จากตัวอย่างในเรื่องการปีนเขาเอเวอร์เรซ ถ้านำกรอบเวลามาคลอบโดยบอกว่าเราต้องปีนให้ถึงยอดภายในสามวัน ความกดดันก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ เมื่อไกล้ถึงเวลาครบกำหนด ทุกคนจะปีนอย่างบ้าระห่ำ ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัยหรือแผนการใด ๆ ทั้งสิ้น ขอให้บรรลุถึงยอดเขาในเขาในเวลาที่กำหนดเป็นพอ เป็นต้น

การใช้ไมล์สโตนเป็นตัวกำหนดความก้าวหน้าหรือความสำเร็จแทนกรอบเวลานั้นมีข้อได้เปรียบอยู่สองประการคือ หนึ่ง เหลือที่ว่างให้กับโอกาศใหม่ๆ ในบทความ Switch-up 5 นั้นเราพูดถึงความยืดหยุ่นซึ่งความยืดหยุ่นนั้นจะเกิดขึ้นได้ยากหรือไม่ได้เลยหากเราพุ่งเป้าทุกอย่างไปที่เวลา เมื่อโฟกัสไปที่เวลาที่ลดน้อยถอยลงทุกนาที เราย่อมไม่อาจเจียดเวลาไปทำอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าเราได้ปิดประตูสำหรับการค้นพบโอกาศใหม่ ๆ ที่อาจจะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น ข้อได้เปรียบประการที่สองคือ ช่วยให้การพูดคุยสนทนามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับพนักงาน หรือนักลงทุน เมื่อไม่ยึดติดกับกรอบเวลา การสนทนาส่วนใหญ่ก็จะโฟกัสไปที่ว่า เราอยู่ห่างจากไมล์สโตนที่ตั้งไว้ไกลเท่าไหร่ มากกว่าการหาคำตอบว่าจะทำเสร็จเมื่อใด จะประสบความสำเร็จเมื่อไหร่ การรู้ว่าเราอยู่ห่างจากไมล์สโตนที่ตั้งไว้ไกลเท่าไหร่นั้น ทำให้เกิดความท้าทายว่าเราจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไรโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้น้อยที่สุด ทำให้ทุกคนเกิดความร่วมมือช่วยกันระดมสมองในการหาหนทางไปให้ถึงจุดหมายนั้นภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สนใจเวลาอีกเลย เวลายังคงมีความสำคัญเช่นเดิม เพียงแต่เปลี่ยนโฟกัสจากกรอบของเวลาไปเป็นไมล์สโตนเพื่อลดความกดดันลง เมื่อไม่มีความกดดัน การทำงานร่วมกันย่อมราบรื่นขึ้น งานที่ได้ก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น คนทำงานก็มีความสุขกับงานมากขึ้น เมื่อมีพนักงานมีความสุขกับงานความรักที่มีต่อองค์กรก็เพิ่มขึ้น

How to setup a good Milestone?

ไมล์สโตนที่ดีนั้นประกอบด้วยสาระสำคัญสามประการคือ

  1. Relevant มีความสำคัญ เป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักของแต่ละไมล์สโตนนั้นต้องตั้งอยู่บนเส้นทางของภารกิจหลักขององค์กร
  2. Measurable วัดผลได้ การบรรลุถึงแต่ละไมล์สโตนนั้นต้องสามารถวัดผลออกมาเป็นตัวเลขได้ เป้าหมายของแต่ละไมล์สโตนนั้นต้องสามารถจับต้องหรือรับรู้ได้เมื่อบรรลุถึง
  3. Commercial มีผลในเชิงพานิชณ์ต่อธุรกิจ ตัวเลขที่ได้จากการวัดผลนั้นต้องมีผลในเชิงพานิชณ์ต่อธุรกิจขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านอาหาร ควรวัดผลจากรายได้ที่ลดลงอันเนื่องมาจากจำนวนร้านอาหารที่เพิ่มขึ้น แทนที่จะมานั่งนับจำนวนร้านอาหารที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

การเซตอัพไมล์สโตนนั้นเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น การบรรลุเป้าหมายของแต่ละไมล์สโตนถึงจะเป็นการออกเดินทางอย่างแท้จริง แต่ก่อนที่จะออกเดินทางได้ เราจำเป็นต้องกำหนดเส้นทางก่อน อย่างแรกที่ต้องทำคือการจัดลำดับความสำคัญของไมล์สโตน จากนั้นกำหนดกฏเกณฑ์และหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน บรรลุถึงเป้าหมายพร้อม ๆ กัน

ในชีวิตจริงของการเป็นผู้ประกอบการนั้น มีเรื่องสำคัญมากมายที่ต้องทำ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเรียงลำดับความสำคัญของเรื่องราวต่าง ๆ ให้ดี แล้วจัดการแก้ไขไปทีละจุด เลือกโฟกัสไปทีละปัญหา ดังเช่นสุภาษิตที่ว่า

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง

ไม่มีใครจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้จากการก้าวย่างเพียงก้าวเดียว ถ้าทำได้ นั่นแสดงว่าเป้าหมายนั้นต้องเล็กมาก และธรรมดามากจนใคร ๆ ก็ทำได้ ถ้าเลือกที่จะสนใจทำแต่เรื่องง่าย ๆ ชีวิตจะพบแต่ความลำบาก แต่ถ้าเลือกทำแต่เรื่องยาก ๆ ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ชีวิตสุขสบายขึ้น แต่สิ่งที่ได้จากการเลือกทำเรื่องยากคือความกระตืนรือร้น และสีสันในการดำเนินชีวติที่แตกต่างออกไป

ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ แล้วแบ่งย่อยซอยให้เล็ก ทำให้สำเร็จไปทีละขั้นละตอน ดังเช่นการก้าวขึ้นบันใดทีละขั้น จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายได้อย่างมั่งคง