Risk Management

การบริหารความเสี่ยงนั้นประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ

1. อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน (Risk/Reward ratio) ซึ่งคิดคำนวนจาก จุดเข้า, ราคาเป้าหมาย และจุดตัดขาดทุน

2. ขนาดในการเทรด

Risk/Reward Analysis: Entry, Profit and Stop Loss

การวิเคราะห์ความเสี่ยงเทียบกับผลตอบแทน ยกตัวอย่างเช่นในการเทรดหนึ่งครั้ง ถ้าผิดทางเราจะเสียเงิน 100 บาท ถ้าได้กำไร จะได้ 300 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงจึงเท่ากับ 3:1 เทรดเดอร์ที่ดีจะไม่เข้าเทรดที่อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงน้อยกว่า 2:1 ยกตัวอย่างเช่น เข้าซื้อหุ้นมูลค่า 1000 บาท ต้องขายได้อย่างน้อย 1200 บาท ถึงจะทำกำไร 200 บาน ถ้าหุ้นที่ซื้อราคาตกลงไปที่ 900 บาท ต้องขายออกไปทันทีเพื่อควบคุมความเสี่ยง และต้องเสียเงินไป 100 บาท

การที่จะคำนวนตัวเลขนี้ออกมาได้ เราจำเป็นต้องรู้จุดเข้าซื้อ จุดขายทำกำไร และจุดขายตัดขาดทุน ยกตัวอย่างเช่น ซื้อหุ้น A ที่ราคา 50 บาท โดยวางจุดขายไว้ที่แนวต้านถัดไปที่ 51.20 ผลตอบแทนที่จะได้ต่อหุ้นคือ 1.20 บาท จุดตัดขายทุนคือจุดต่ำสุดก่อนหน้าที่ 49.60 บาท ซึ่งเท่ากับว่าแต่ละหุ้นมีความเสี่ยง 0.40 บาท ดั้งนั้นผลตอบแทนต่อความเสี่ยงจึงเท่ากับ 3:1 (1.20/0.40)

Position Sizing

กฏ 2%

ขนาดในการเทรดแต่ละครั้งนั้นคิดคำนวนจากขนาดของพอร์ตเป็นหลัก โดยความเสี่ยงแต่ละครั้งนั้นต้องน้อยกว่า 2% ของขนาดของพอร์ต จำไว้เสมอว่าน้อยกว่า 2% นั้นไม่เป็นปัญหา แต่ต้องไม่มากกว่า 2% โดยเด็ดขาด เทรดเดอร์ที่เก่ง ๆ นั้นลดขนาดความเสี่ยงลงไปน้อยมาก ๆ ระดับที่เหมาะสมนั้นอยู่ระหว่าง 0.25-2%  ยกตัวอย่างการเช่น ขนาดของพอร์ตคือ 20000 บาท 2% ของพอร์ตคือ 200 บาท นี่คือจำนวนที่เราเสียได้ในแต่ละครั้งที่เทรด ขั้นตอนถัดมาคือหาความเสี่ยงของหุ้นที่กำลังจะซื้อเช่น ราคาหุ้น คือ 100.50 บาท จุดตัดขาดทุนคือ 100 บาท ขนาดความเสี่ยงเท่ากับ 0.50 บาทต่อหุ้น ขั้นตอนสุดท้ายคือ นำจำนวนเงินที่สามารถเสี่ยงได้ หารกับขนาดความเสี่ยงต่อหุ้น จะได้จำนวนหุ้นที่สามารถซื้อได้ 200/0.50 = 400 หุ้น

กฎ 6%

กฎ 6% คือจำนวนเงินที่จะเสียได้ในแต่ละเดือน เทียบกับขนาดของพอร์ต หากเดือนไหนถึง 6% ต้องหยุดเทรดทันที กฎ 2% นั้นใช้สำหรับป้องกันพอร์ตจากการเทรดแต่ละครั้ง แต่กฏ 6% นั้นใช้สำหรับป้องกันการเสียเงินจากการเทรดทีละเล็กน้อยติดต่อกัน หากเปรียบเทียบกัน กฏ 2% เปรียบเสมือนการป้องกันชีวิตจากการจู่โจมของฉลาม นักว่ายน้ำอาจเสียแขนหรือขา แต่ยังคงมีชีวิต กฏ 6% นั้นเปรียบเป็นการป้องกันการจู่โจมของปลาปิรันย่าที่ตอดเล็กตอดน้อย ดูเหมือนจะเสียน้อยแต่หากสะสมกันต่อเนื่องก็อาจทำให้นักว่ายน้ำเสียชีวิตได้เช่นกัน การเทรดนั้นก็เหมือนกับการว่ายน้ำ ต้องระวังทั้งฉลามและปิรันย่า และต้องขึ้นจากน้ำให้ทันก่อนโดนจู่โจม

วิธีแก้ไขในกรณีที่เสียต่อเนื่อง คือการลดขนาดในการเทรดลง วิธีนี้เป็นแนวคิดที่สวนทางกับการพนัน นักพนันส่วนใหญ่นั้นเมื่อเล่นเสียมักจะเพิ่มเดิมพันเป็นเท่าตัวในตาถัดไปเพื่อถอนทุนคืน ทุกการเทรดนั้นเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะเพิ่มขนาดของการเทรดในเทรดถัดไปหลังจากเทรดเสีย


Develop Trading Skills, Not Strategy