Start with WHY x OKRs

ยาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรคนั้นไม่มีอยู่จริง เช่นเดียวกันกับปัญหา ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการเดียวกันได้ทั้งหมด วิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพล้วนเกิดจากการผสมผสานหลักการ และวิธีการต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างลงตัว สำหรับบทความนี้จะเป็นการลองจินตนาการถึงการผสมผสานหลักการ Start with WHY กับ OKRs เข้าด้วยกัน

Start with WHY คืออะไร?

Start with WHY นั้นคือหลักการพื้นฐานที่ทำให้ประสบความสำเร็จ Simon Sinek ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหลักการของ Golden Ratio ที่มีการคิดค้นและสืบทอดมาอย่างยาวนาน เขาชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่นั้น ล้วนยืนอยู่บนหลักการพื้นฐานเหล่านี้ทั้งสิ้น หลักการนั้นคือ "การตั้งคำถาม" ตามลำดับ 3 ข้อคือ WHY - เหตุผลที่เราทำ? HOW - วิธีทำ? และ WHAT - สิ่งที่ต้องทำ? ตามลำดับโดยสามารถอ่านรายละเอียดได้จากบทความเรื่อง

Start with WHY? part -I

Start with WHY? part-II

OKRs คืออะไร?

OKR นั้นย่อมาจาก Object Key Results เป็นกรอบของการร่างเป้าหมายที่ประกอบไปด้วยความท้าทายและสามารถทำได้จริง นิยามโดย Peter Drucker และถูกนำไปใช้ครั้งแรกในบริษัท Intel โดยผ่านการแนะนำของ Andrew Grove ต่อมา John Doerr ได้แนะนำหลักการนี้ให้กับผู้บริหารของ Google นับจากนั้นหลักการนี้ได้กลายเป็นหัวใจหลักในกระบวนการทำงานที่ทำให้ Google ประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้

ทำไมต้องนำสองหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ด้วยกัน?

องค์กรนั้นประกอบไปด้วยโครงสร้างหลักอยู่สามระดับ คือผู้นำองค์กร, ผู้บริหาร และพนักงาน ทั้งสามระดับนี้มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ผู้นำองค์กรทำหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมายและทิศทางองค์กร ผู้บริหารจะทำหน้าที่หาวิธีที่จะพาองค์กรไปให้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนผู้จัดการและพนักงานทำหน้าที่พาองค์กรไปให้ถึงเป้าหมายนั้น ถ้าตั้งคำถามความตามหลักของ Start with why ก็จะได้ประมาณนี้

ผู้นำองค์กร: ทำไมเราต้องไปตรงนั้น?

ผู้บริหาร: เราจะไปตรงนั้นได้อย่างไร?

ผู้จัดการและพนักงาน: เราต้องทำอะไร? ถึงจะไปถึงจุดนั้นได้

OKR ของแต่ละระดับนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอดคล้องกัน ผู้บริหารใช้ OKR ของผู้นำองค์กรเป็นหลักในการกำหนด OKR ของตน ผู้จัดการและพนักงานใช้ OKR ของผู้บริหารในการกำหนด OKR ของแผนกหรือของพนักงาน

ตัวอย่าง OKRs ตามหลัก Start with Why

เมื่อ OKR ทุกระดับสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร การ Implement OKR นั้นไม่สามารถทำได้จากล่างขึ้นบน จำเป็นต้องขับเคลื่อนจากบนลงล่างและต้องสอดคล้องกันทั้งองค์กร ถึงจะมีประสิทธิภาพ

OKRs + KPIs

OKR นั้นไม่ใช่ KPI ดังนั้นการใช้ OKR ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นต้องยกเลิก KPI แต่เราจำเป็นต้องปรับ KPI ให้สอดคล้องกับ OKR หลายคนอาจสับสนในสองเรื่องนี้ ถ้าจะอธิบายในอีกแบบคือ OKR นั้นเป็นการบอกว่าเป้าหมายของเราคืออะไร? KPI นั้นเป็นวิธีในการวัดผลว่าเราบรรลุถึงเป้าหมายนั้นหรือยัง สองอย่างนี้จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกัน ดังนั้นเมื่อ Implement OKR จึงต้องคำนึงถึงการปรับเปลี่ยน KPI ให้สอดคล้องกัน หลายองค์กรที่ล้มเหลวในการ Implement OKR สาเหตุนั้นเกิดจากความขัดแย้งกันระหว่างทั้งสองอย่างนี้ อยากได้ OKR แต่ไม่อยากเปลี่ยน KPI นั้นเป็นเรื่องยาก

Photo by Austin Distel / Unsplash