Volume Profile
ก่อนศตวรรษที่ 20 การเทรดทุกอย่างทำด้วยมือหมดซึ่งเป็นข้อจำกัดหนึ่งที่ทำให้ปริมาณการซื้อขายนั้นถูกจำกัด แต่ปัจจุบันการเทรดส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการประมวลผลที่รวดเร็ว ดังนั้นปริมาณการซื้อขายจึงเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
การทำงานของตลาดนั้นอิงอยู่บนพื้นฐานของ Demand/Supply และ Demand/Supply ในตลาดทางการเงินนั้นแปรผันไปตามมูลค่าหรือ Value มูลค่านั้นประกอบไปด้วย 3 อย่างคือ ราคา เวลา และปริมาณการซื้อขาย ราคาเป็นเครื่องมือในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เวลาตัวเร่งให้เกิดการซื้อขาย ส่วนปริมาณการซื้อขายคือผลลัพท์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Demand กับ Supply
Price + Time + Volume = Value
Volume profile
Volume profile ไม่ใช่ Indicator แต่เป็นวิธีการหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง เพื่อใช้ระบุโซนซื้อขาย โซนซื้อขายนั้นตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าตลาดนั้นมีความทรงจำ (ตลาดไม่มีความทรงจำ แต่คนในตลาดต่างหากที่มีความทรงจำ) และสิ่งที่อยู่ในความทรงจำนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดซ้ำ สำหรับตลาดการเงินแล้วความทรงจำล่าสุดนั้นสำคัญที่สุด ความทรงจำล่าสุดนั้นหมายถึงทั้งเรื่องของเวลาและราคา ยิ่งเวลาผ่านไปนานหรือราคาวิ่งห่างออกจากจุดความทรงจำนั้นเท่าไหร่ ความสำคัญของมันจะยิ่งลดลงไปเรื่อย ๆ แต่ตราบใดที่ยังไม่เกิดจุดอ้างอิงอื่น มันยังคงมีค่า
Value Area (VA)
VA ประกอบด้วย VAH หรือ Value Area High และ VAL หรือ Value Area Low ซึ่งเป็นช่วงราคาที่การเทรดมากที่สุด โดย VAH นั้นเป็นโซนแนวต้านในขณะเดียวกัน VAL นั้นเป็นโซนแนวรับ ส่วนโซนราคาที่อยู่เหนือ VAH กับ VAL นั้นเรียกว่า Extremes โดยจะมีอยู่สองลักษณะสำคัญคือ
Finished Auction, คือปริมาณการซื้อขายในโซนนี้ลดน้อยลงมาก เพราะเป็นโซนราคาที่ไม่มีนัยสำคัญ คนซื้อไม่อยากซื้อคนขายไม่อยากขาย จึงทำให้ปริมาณการซื้อขายน้อย
UnFinished Auction, คือปริมาณการซื้อขายในโซนนี้ยังไม่ลดลง ยังมีการซื้อขายกันอย่างคึกคัก
ถ้ามองว่าตลาดกำลังจะเป็นขาขึ้น สิ่งที่อยากเห็นคือ Finished auction ด้านล่างซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีใครอยากขายในโซนราคาแถวนั้น แต่ถ้ามองว่าตลาดกำลังจะกลับตัวเป็นขาลง สิ่งที่อยากเห็นคือ Finished auction ด้านบนซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีคนอยากซื้อในโซนราคาแถวนั้นแล้ว
ความเห็นส่วนตัว-ถ้ามองว่าตลาดกำลังจะขึ้น สิ่งที่อยากเห็นคือ Finished auction ด้านล่าง UnFinished auction ด้านบนซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนแย่งกันซื้อ กลับกัน ถ้ามองว่าตลาดกำลังจะลง Finished auction จะอยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างจะเป็น Unfinished auction แสดงให้เห็นว่าคนแย่งกันขาย
Volume Point of Control (VPOC)
เป็นโซนราคาที่มีปริมาณการซื้อขายที่มากที่สุด เป็นจุดที่แสดงให้เห็นถึงความเห็นพ้องต้องกันของทั้งฝ่ายซื้อและฝ่ายขายว่าเป็นจุดที่ราคาเหมาะสม เป็นจุดที่รายใหญ่เข้าสู่ตลาด นอกจากนี้ยังเป็นจุดที่ใช้สำหรับระบุว่าฝ่ายไหนกำลังมีอิทธิพลเหนือกว่า โดยหากราคาอยู่เหนือ VPOC แสดงว่าฝ่ายซื้อแข็งแกร่งกว่าในทางตรงกันข้ามหากราคาอยู่ใต้ VPOC แสดงว่าฝ่ายขายแข็งแกร่งกว่า
High Volume Nodes (HVN)
เป็นโซนที่ปริมาณการซื้อขายสูง เป็นช่วงราคาแสดงให้เห็นถึงความสมดุลและเป็นช่วงราคาที่คนส่วนใหญ่ในตลาดให้ความสนใจ
Low Volume Nodes (LVN)
เป็นช่วงราคาที่มีปริมาณการซื้อขายน้อยมาก เป็นการแสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมรับหรือ Rejection ช่วงราคาดังกล่าว
ข้อแตกต่างระหว่าง Volume Profile กับ Volume ในรูปแบบปกติ
ทั้งสองแบบนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลปริมาณการซื้อขายเหมือนกัน แต่นำเสนอในรูปแบบที่แตกต่างกันและไม่เกี่ยวข้องกัน
Volume in time หรือปริมาณการซื้อขายที่ขึ้นตรงต่อเวลา ซึ่งก็คือ Volume ในแนวตั้งทั่วไป โดยแต่ละแท่งนั้นเป็นการแสดงให้เห็นปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้น โดยช่วงเวลาก็ขึ้นอยู่กับ Timeframe ที่กำหนด สิ่งที่ Volume ปกติจะบอกคือ เมื่อไหร่ที่รายใหญ่เข้าสู่ตลาด (When)
Volume in price คือ Volume Profile ที่เรากำลังศึกษาอยู่ เป็นปริมาณการซื้อขายในแต่ละช่วงราคาแสดงอยู่ในรูปแนวนอน สิ่งที่มันต้องการบอกคือ ราคาช่วงไหนที่รายใหญ่เข้าสู่ตลาด (Where)
จะเห็นว่าทั้งสองแบบเป็นเรื่องของปริมาณการซื้อขายเหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลต่างกัน
รูปทรงของ Volume Profile
มีหลากหลายทฤษฏีเกี่ยวกับ Market Profile ที่พยายามหาว่าตลาดแต่ละวันเป็นอย่างไรโดยใช้รูปร่างของ Volume Profile เป็นตัวอ้างอิง แต่ในแง่ของการเทรดแล้ว สิ่งเหล่านี้แทบจะไม่มีประโยชน์ต่อการเทรดเพราะเป็นการวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต Volume Profile จะมีรูปร่างแบบใดก็ต่อเมื่อมันจบวันแล้วเท่านั้น หลักการของ Wyckoff ก็เช่นกัน เราจะมองเห็นจุดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นชัดเจนเมื่อมันผ่านไปแล้วเท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องหาไม่ใช่รูปร่าง แต่เป็นโซนราคา และกรอบราคาในการซื้อขาย เพื่อหาว่าฝ่ายไหนกำลังคุมตลาด เมื่อนำรูปร่างของ Volume Profile ประกอบเข้ากับหลักการของ Wyckoff มันจะเกิดภาพประมาณนี้
รูปทรงตัว b
เป็นรูปที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายของ Bearish Trend เข้าสู่ช่วง Sideway ออกข้าง
รูปทรงตัว P
เป็นลักษณะของ Bullish Movement แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่จะเกิด Distribution หรือ ReAccumulation