The Market Wizard - Richard Driehaus

The art of Bottom-Up investing

ริชาร์ดสนใจหุ้นตั้งแต่อายุ 13 และใช้เงินเก็บก้อนแรกจากการเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์จำนวน 1,000$ ในการลงทุนโดยซื้อหุ้นตามที่นักวิเคราะห์แนะนำ แต่ผลลัพท์ที่ได้นั้นน่าผิดหวังเป็นอย่างมาก ทำให้เขาตัดสินใจที่จะศึกษาว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหว ขึ้นลง เขาเริ่มงานแรกหลังจบมหาวิทยาลัยกับโปรกเกอร์แห่งหนึ่งในฐานะนักวิเคราะห์ แต่สิ่งที่เขาค้นพบต่อมาคือบทวิเคราะห์ของเขาไม่ได้ถูกนำไปใช้มากนัก

Brokers weren’t portfolio managers but were primarily sales oriented - ความเห็น: โปรเกอร์คือบริษัท ซึ่งก่อตั้งมาเพื่อแสวงหากำไร ดังนั้นทุกอย่างที่มาจากโบรกเกอร์มีเพียงวัตถุประสงค์เดียวคือกำไร ยกตัวอย่างเช่นบทวิเคราะห์ หรือข่าวต่าง ๆ สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจที่แท้จริงคือ วัตถุประสงค์หรือเจตนาของข่าวหรือบทวิเคราะห์นั้น ๆ เราต้องตัังคำถามเสมอว่าทำไมถึงนำเสนอข่าวหรือบทวิเคราะห์นี้? วัตถุประสงค์คืออะไร? ผลลัพท์ที่ต้องการคืออะไร? ยกตัวอย่างเช่น "หุ้น ABC ผ่านจุดต่ำสุด...มีอนาคตที่สดใส แนวรับ x บาทแนวต้าน y บาท" หากแปลความหมายคือ โบรกที่ออกข่าวนี้เก็บหุ้นตัวนี้ครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว เชิญเม่าเข้ามาดันราคา หรือ "หุ้น xyz หลุดแนวรับสำคัญที่ x บาทมีโอากาสที่จะลงลึกไปที่ y บาท" หากดูเจตนาคือ ฉันรอซื้อที่ราคาแถวๆ นี้อยู่นะ รีบขายออกมาสิ

You want the fastest horse, even if your first horse is still trotting in the right direction and get off the horse if it starts heading in the wrong direction. ความเห็น: เปลี่ยนม้ากลางศึก เปลี่ยนขุนศึกกลางสงคราม นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม แต่การสับเปลี่ยนหุ้นนั้นเป็นเรื่องปกติ เราต้องคอยมองหาหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงกว่าเสมอ สำหรับตลาดหุ้น สิ่งที่มีอย่างจำกัดคือเงินทุน สิ่งที่มีอย่างไม่จำกัดคือโอกาส

คนส่วนใหญ่มักจะมองว่าการซื้อขายบ่อยนั้นมีเสี่ยงสูง แต่ในความเป็นจริงนั้นตรงกันข้าม การซื้อขายบ่อยๆ นั้นช่วยลดความเสี่ยง - ความเห็น: สำหรับเทรดเดอร์เท่านั้น อาจจะไม่เหมาะกับนักลงทุนพื้นฐาน เราอาจจะสูญเสียครั้งละเล็กละน้อยบ่อย ๆ จากการ stop loss แต่มันช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดดอยหุ้น เพราะหากติดดอยแล้ว สิ่งที่สูญเสียนั้นไม่เพียงแต่เงินทุน แต่ยังรวมไปถึงเวลา และสภาพจิตใจด้วย

การบริหารพอร์ทแต่ละพอร์ทนั้นแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์เช่น พอร์ทสำหรับลงทุน การตัดสินใจต่าง ๆ จะใช้หลักการลงทุนเป็นพื้นฐาน, พอร์ทสำหรับเทรด การตัดสินใจต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นหลัก - ความเห็น: นี่เป็นความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ล้มเหลว นักลงทุนกับนักเก็งกำไรนั้นอยู่ในตลาดเดียวกัน แต่หลักการพื้นฐานที่ใช้ในการตัดสินใจนั้นแตกต่างกัน จะประสบความสำเร็จ อย่างแรกต้องแยกให้ออกระหว่างนักลงทุนกับนักเก็งกำไร หาไม่แล้วจะประสบกับเหตุการณ์ ซื้อด้วยพื้นฐาน ขายตามเทคนิค บ่อย ๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีนัก

หลักการคัทลอสของริชาร์ดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของพอร์ต ถ้าเป็นพอร์ทลงทุน การคัทลอสจะเกิดขึ้นเมื่อพื้นฐานของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนพอร์ทสำหรับการเก็งกำไร จะใช้ Price Action เป็นหลักในการตัดสินใจ - ความเห็น: การเป็นนักเก็งกำไรนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการวิเคราะห์ทางเทคนิคจากกราฟราคา โดยมองภาพรวมของกราฟเพื่อค้นหาแนวรับแนวต้าน สิ่งสำคัญที่สุดคือ แนวรับ-แนวต้าน ของราคาดังคำกล่าวที่ว่า เทรนไลน์นั้นเป็นเพียงภาพลวงตา แนวรับแนวต้านของราคานั้นคือของจริง

The major misconceptions about the stock market?

เรื่องแรก, ความสับสนระหว่างความผันผวนของราคาในระยะสั้นกับความเสี่ยงในระยะยาว ความเสี่ยงนั้นแปรผันกับระยะเวลา กล่าวคือยิ่งถือหุ้นนานวันเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น. (ความเห็น: ต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานของบริษัทด้วย ไม่สามารถใช้ได้กับหุ้นทุกตัว)

ผู้คนใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของราคาในรายวัน รายสัปดาห์หรือแม้แต่กระทั่งรายเดือนมากเกินไปจนลืมมองถึงศักยภาพในระยะยาว เหตุผลหลักที่คนเหล่านี้ไม่สามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ คือคิดว่าความผันผวนของราคาในระยะสั้นนั้นคือความเสี่ยง ซึ่งในความเห็นของ ริชาร์ดแล้ว หุ้นมีความผันผวนของราคาในระยะสั้นต่ำนั้น จะมีความเสี่ยงในระยะยาวที่สูงขึ้น

หุ้นที่มีราคาผันผวนสูงในระยะสั้น คือหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำในระยะยาว หุ้นที่มีความเสี่ยงสูงในระยะยาว คือหุ้นที่มีราคาผันผวนต่ำในระยะสั้น

ดังนั้นจงมองการเคลื่อนไหวของราคาอย่างสร้างสรรค์ เพราะหากไม่มีมัน ย่อมไม่มีผลประโยชน์ชิ้นใหญ่ที่รออยู่ในอนาคต

เรื่องที่สอง, ความเชื่อในคำกล่าวที่ว่า "Buy low and sell high" แต่ริชาร์ดกลับมองว่าการทำเงินที่แท้จริงนั้นคือ "Buy high and selling at even higher prices" กล่าวคือซื้อหุ้นที่ราคาอยู่ในขาขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว ราคาอยู่ในเทรนขาขึ้นหมายความว่าหุ้นนั้นที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เมื่อตลาดมีความต้องการ ย่อมหมายถึงราคาที่จะเพิ่มสูงขึ้น ริชาร์ดกล่าวว่า เขายอมลงทุนในหุ้นที่ราคากำลังขึ้นแล้วรับความเสี่ยงว่ามันอาจจะกลับตัวได้ทุกเมื่อ แทนการลงทุนในหุ้นที่อยู่ในขาลง แล้วคอยเดาว่าเมื่อไหร่มันจะกลับตัว - ความเห็น: Price Action คือคำตอบ หุ้นที่อยู่ในจุดต่ำสุดนั้นจริง ๆ แล้วความเสี่ยงต่ำกว่ามาก ซึ่งหมายถึง จุดตัดขาดทุนที่แคบ และผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่สูงกว่า แต่การเล่นหุ้นลักษณะนี้ต้องมีวินัยในเรื่องการ stop loss ที่สูงมากด้วยเช่นกัน เพราะ หุ้นที่อยู่ในขาลง มีโอกาสลงมากกว่าขึ้น หุ้นที่อยู่ในขาขึ้น มีโอกาสขึ้นมากกว่าลง

เรื่องสุดท้าย คือ การพยายามคาดการณ์ตลาด หาจุดซื้อ-ขายที่ดีที่สุด  - ความเห็น: คนส่วนใหญ่มักจะขายหุ้นในวันที่ตลาดแย่ และซื้อหุ้นคืนในวันที่ตลาดสดใส ซึ่งหากกางชาร์ทราคาเทียบจะเห็นว่าส่วนใหญ่ขายในโซนราคาต่ำ แล้วซื้อคืนในโซนราคาสูง ซึ่งตรงกันข้ามกับหลักการ "Buy low and sell high" ดังนั้นเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจอารมณ์ของผู้คนส่วนใหญ่ในตลาด (hint: price action)  เมื่อเราเข้าใจอารมณ์ตลาด เราจะรู้ว่าเมื่อไหร่ควรขาย เมื่อไหร่ควรซื้อ และไม่กระทำตรงข้ามกัน

ลักษณะของผู้ที่ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้นในความเห็นของริชาร์ด

  1. เปิดกว้างทางความคิด
  2. มีความยืดหยุ่น
  3. กล้าที่จะรับความเสี่ยง
  4. มีความเชื่อมั่น

ริชาร์ดเชื่อว่าการเทรดนั้นเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนกันได้ ตราบใดที่ผู้ที่จะรับการฝึกนั้นเปิดกว้างทางความคิด

The mind is like a parachute—it’s only good when it’s open.

นอกจากการฝึกฝนแล้ว เทรดเดอร์ทุกคนต้องคิดค้นและพัฒนา หลักการเทรดที่เข้ากับลักษณะนิสัย หรือจริตของตนเอง

เคล็ดลับสำคัญที่ทำให้ริชาร์ดประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนานคือ ความเชื่อมั่นในหลักปรัชญาการลงทุน ในเวลาที่ตลาดประสบกับความยากลำบากนั้น เราจะไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ หรืออดทนถือหุ้นได้หากปราศจากความเชื่อมั่นนี้

การที่จะบรรลุถึงขั้นเข้าใจหลักปรัชญาการลงทุนอย่างแจ่มแจ้งนั้นจำเป็นต้องทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปรัชญาการลงทุนนั้นไม่ใช่สิ่งที่สามารถส่งต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ มันเป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องทุ่มเทเวลาและทรัพยากรในการค้นหาด้วยตนเอง

Any final advice?

If you reach high, you just might amaze yourself.