Trade your way to FINANCIAL FREEDOM 11 - 13

CHAPTER 11: How to Take Profits

การเข้าซื้อนั้นอยาก แต่การขายออกนั้นยากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการขายตัดขาดทุนที่กล่าวถึงในบทก่อนหน้า หรือการขายทำกำไรที่เรากำลังจะพูดถึงในบทนี้ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเมินเฉยต่อเรื่องนี้ [Root: การขายนั้นเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการการลงทุนว่าด้วยเรื่องความกลัวและความโลภ การขายขาดทุนนั้นต้องเอาชนะความกลัว สองประการ หนึ่งคือกลัวขาดทุน สองคือกลัวขายแล้วเด้ง ส่วนการขายทำกำไรนั้นต้องเอาชนะความโลภ กลัวจะได้กำไรน้อยเกินไป] วัตถุประสงค์หลักของการขายนั้นมีอยู่สองประการคือ หนึ่งควบคุมความเสี่ยง สองขายทำกำไร สำหรับเรื่องแรกนั้นเรากล่าวถึงไปแล้วในบทก่อนหน้านี้ วิธีที่จะทำกำไรให้ได้มากที่สุดนั้นคือ เราต้องคืนกำไรบางส่วนที่ได้ออกไป

You can’t make money if you’re not willing to lose. It’s like breathing in, but not being willing to breathe out.

The Trailing Stop

การยกระดับจุดขายเป็นขั้นบันใดนั้นเป็นวิธีการที่ต้องคืนกำไรส่วนหนึ่งที่ได้ให้กับตลาดเสมอ หลักการนี้มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

The Profit Retracement Stop เป็นการกำหนดจุดขายตามจำนวนเปอร์เซ็นต์ของกำไรที่เราจะยอมเสียไป วิธีนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีกำไรจากการเทรดแล้วเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เราซื้อหุ้นมาในราคา $52 ความเสี่ยงตั้งต้น(R) คือ $6 หมายความว่าเราจะขายตัดขาดทุนเมื่อราคาลงไปที่ $46 คาดหวังกำไรที่ 2R คือ $12 เมื่อราคาหุ้นขึ้นไปที่ $64 เรากำหนด Trailing stop เผื่อโอกาศที่ราคาจะวิ่งขึ้นไปต่อ แทนที่จะขายหุ้นออกไปเลย โดยกำหนดเงื่อนใขว่า ถ้าราคาลดลงมากกว่ากี่เปอร์เซ็นต์ของกำไรให้ขายออก ในกรณีนี้เราเริ่มที่ 30% ของกำไรคือ $3.60  ซึ่งหมายความว่าเราจะขายหุ้นออกถ้าราคาหุ้นปัจจุบันลดลงไปที่ $60.40 ถ้าราคายังคงวิ่งขึ้นไป กำไรจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ากำไรเพิ่มเป็น $13 จำนวนกำไรที่เราจะคืนให้ตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น $3.9 และถ้ากำไรเพิ่มเป็น $14 ตัวเลขที่กำไรที่ต้องคืนจะเพิ่มเป็น $4.2 ดังนั้น เมื่อกำไรเพิ่มขึ้นเราต้องพิจารณาลดอัตราเปอร์เซ็นต์ของกำไรที่จะเสียลง ยกตัวอย่างเช่น ลดอันตราเปอร์เซ็นต์ของกำไรลงทุก 5% ของการเพิ่มขึ้นของกำไร 1R เป็นต้น

The Percent Retracement Stop วิธีการนี้ใช้หลักการเดียวกับวิธีก่อนหน้า เพียงแต่เปลี่ยนจากเปอร์เซนต์ของอัตรากำไรเป็นเปอร์เซนต์ของราคาหุ้น ณ จุดสูงสุดแทน ตัวเลขที่เหมาะสมจากการทดลองนั้นอยู่ที่ 25% ถ้ามากกว่านั้น ผู้เขียนไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะเป็นการคืนกำไร (ขาดทุน) ที่มากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าขาดทุน 24% เราต้องทำกำไรให้ได้อย่างน้อย 33% ถึงจะกลับมาเท่าทุน หรือถ้าเสีย 49% เราต้องทำกำไรให้ได้ 100% ถึงจะกลับมาเท่าทุนซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก [Root: ในทางปฏิบัติก็กำหนดไว้ที่ประมาณ 8 - 10% ถ้าน้อยกว่านั้นจะถูก Noise รบกวน]

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

วิธีที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ซื้อไม้ใหญ่ไม้เดียวแล้วค่อย ๆ แบ่งขาย วิธีนี้ขัดแย้งกับกฎทองของการเทรดที่ว่า ขาดทุนให้น้อย ปล่อยให้กำไรเติบโต เพราะมันมีโอกาสที่จะขาดทุนมาก แต่เมื่อมีกำไรกลับได้กำไรน้อยกว่าที่ควรจะได้ มันอาจจะดูเหมือนปลอดภัยเพราะล็อคกำไรไว้ส่วนหนึ่งแล้ว แต่ในความเป็นจริงมันเป็นการตัดโอกาสที่จะได้กำไรคำใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นซื้อหุ้นไว้ทีเดียว 300 หุ้น ถ้าขาดทุนคือขาดทุนทั้งหมด แต่พอมีกำไรแล้วแบ่งขายทีละ 100 หุ้น ที่ 1R และ 2R เพื่อล็อคกำไร เหลือเก็บไว้ 100 หุ้น ผลปรากฎว่าราคาวิ่งไปที่ 20R กำไรที่ได้จึงน้อยกว่าที่ควรจะได้

CHAPTER 12 There’s Money for Everyone

You cannot trade the market. Instead, you can only trade your beliefs
about the market. However, you can do that successfully if you
understand the fundamental concepts behind low-risk ideas, expectancy,
and position sizing. - Van Tharp

บทนี้เป็นการวิเคราะห์การเทรดของเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ 5 คนที่มีความเชื่อ แนวความคิด หลักการเทรด และวิธีการเทรดที่แตกต่างกัน โดยทั้งหมดเทรดในตลาดเดียวกัน ช่วงเวลาเดียวกัน หุ้นตัวเดียวกัน และทำกำไรได้เหมือนกัน โดยมีข้อแตกต่างเดียวคือกำไรที่ได้นั้นแตกต่างกัน โดยคนเหล่านี้คุณลักษณะที่เหมือนกันอยู่สิบประการ

  1. มีการค้นคว้าหาข้อมูลมาก่อนเสมอ และมีระบบเทรดที่ใช้ค้นหาตลาดที่มีค่าความคาดหวังอยู่ในเชิงบวกเท่านั้น (positive expectancy system)
  2. ระบบที่ออกแบบมาเหมาะสมกับจริต ความเชื่อ และวัตถุประสงค์ ในการเทรดของแต่ละคน
  3. เข้าใจหลักการเทรดของตนเองเป็นอย่างดี
  4. รู้ว่าต้องเสียเท่าไหร่ในกรณีที่ตัดสินใจผิด ตั้งแต่ก่อนเข้าทำการเทรด
  5. คิดคำนวนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงในทุกการเทรด
  6. ใช้มีแผนทางธุรกิจเป็นตัวชี้นำการลงทุน [Root: อันนี้ไม่ค่อยเข้าใจ]
  7. เข้าใจเรื่องการกำหนดขนาดของการเทรดในแต่ละครั้ง ว่ามันคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเทรด
  8. ศึกษาหาความรู้และพัฒนาตัวเอง โดยใช้ประสิทธิภาพการเทรดของตนเป็นเกณฑ์ในการวัดพัฒนาการในการศึกษา
  9. รับผิดชอบต่อผลลัพท์ที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ไม่โทษคนอื่นหรือโชคชะตา
  10. เรียนรู้จากความล้มเหลวของตนเอง  

CHAPTER 13 Evaluating Your System

คนส่วนใหญ่มักจะพลาดโอกาส เพราะมันมักจะถูกปกปิดอย่างมิดชิด และดูเป็นเหมือนงาน - Thomas A. Edison

มาถึงตรงนี้เราเข้าใจเรื่องค่าความเสี่ยง R และค่าความคาดหวัง หรือ expectancy การประเมินผลระบบเทรดนั้นจะใช้ตัวเลขทั้งสองเป็นแกนหลัก เทียบกับผลกำไรขาดทุนที่ได้จากการเทรด ส่วนผลลัพท์ที่ได้นั้นจะแตกต่างกันไปตามแนวทางในการเทรด โดยแนวทางในการเทรดหลักนั้นมีอยู่ 4 หลักการคือ

  1. เทรดตามเทรนระยะยาว เป้าหมายคือกินคำใหญ่ กำไรเยอะ โดยคาดหวังกำไรเป็นหลายสิบเท่าต่อความเสี่ยง ข้อดีคือ โอกาสในการเทรดเกิดขึ้นไม่บ่อย ไม่ต้องกังวลเรื่องต้นทุนในการเทรด
  2. เทรดตามเทรนระยะยาว + ค่าความแม่นยำ 40% + อัตรากำไรต่อความเสี่ยงที่ 2.5:1R ต้องมีโอกาสในการเทรดมากระดับหนึ่งถึงจะทำเงินได้
  3. เทรดตามค่าความน่าจะเป็นด้วยขนาดของการเทรดขนาดเล็ก นี่เป็นวิธีการเทรดสำหรับคนที่เน้นค่าความแม่นยำของระบบสูง แต่ผลคือต้องแลกกับกำไรในการเทรดแต่ละครั้งที่น้อย ระบบต้องมีความแม่นยำอย่างน้อย 60% ขึ้นไปถึงจะทำเงินได้
  4. The Market Maker Who Gets the Bid-Ask Edge on Each Trade but Who Occasionally Gets Swept Along by the Market. วิธีนี้ไม่รู้เขาเขียนมาทำไม เพราะเป็นเรื่องของ market maker (ใครรู้ช่วยกระซิบบอกด้วยนะครับ)

วัตถุประสงค์ของการวัดผลระบบนั้นคือการหาความสัมพันธ์ของ ค่าความคาดหวัง กับ โอกาสในการเทรด เช่นเทรดตามเทรน ค่าความคาดหวังสูง โอกาสในการเทรดน้อย เทรดรายวันค่าความคาดหวังต่ำลงมาแต่โอกาสในการเข้าเทรดต้องสูงขึ้น

นอกจากเรื่องกำไรขาดทุนจากการเทรดแล้ว เรายังมีต้นทุนอื่นที่ต้องพิจารณาในการประเมินระบบด้วย ต้นทุนเหล่านี้จะทวีความสำคัญขึ้นตามจำนวนครั้งในการเทรดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต้นทุนเหล่านั้นประกอบด้วย

  1. Commissions
  2. Execution Costs - ขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์
  3. Taxes
  4. Psychological Costs ต้นทุนทางจิตวิทยานั้นเป็นเรื่องขวัญและกำลังใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับเทรดเดอร์ ความวิตกกังวล ความดีใจเสียใจนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาที่อยู่ในตลาด [Root:เทรดเดอร์ที่เก่งนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เทรดเก่ง แต่เป็นการเก่งในการรักษาสภาพจิตใจให้เป็นปกติ และมีสติอยู่เสมอ]
Businessman opening a paper
Photo by Adeolu Eletu / Unsplash