HOW WILL YOU MEASURE YOUR LIFE?

ปัญญา วิชา ชีวิต ภาคอรรถาธิบาย


Disruption คืออะไร?

Disruption คือกระบวนการทำลายล้างธุรกิจที่ดำรงอยู่มาเป็นระยะเวลาช้านานให้ล้มหายตายจากไปอย่างรวดเร็ว โดยการสร้างนวัตกรรมใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธุรกิจเดิม ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน จึงก่อให้เกิดปรากฏการ “ธุรกิจใหม่ทำลายล้างธุรกิจเก่า ผู้เล่นในตลาดรายใหม่ทำลายล้างผู้ครอบครองตราดเดิม ผู้ประกอบการรายเล็ก ทำลายล้างองค์กรขนาดใหญ่” ดังจะเห็นได้หลายๆ ตัวอย่างที่ผู้เขียนหนังสือได้ยกมาเป็นตัวอย่าง

อะไรที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว?

“ถูกกว่า เร็วกว่า ดีกว่า” สามสิ่งนี้คือกุญแจที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค


ทฤษฏีแห่งการทำลายล้าง (Theory of Disruption)

นวัตกรรมทำลายล้าง (Disruptive Innovation) คืออาวุธที่สร้างจากการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับโมเดลธุรกิจ เข้าด้วยกัน ที่ผู้เล่นหน้าใหม่ใช้เบิกทางเข้าสู่กระบวนการทำลายล้างธุรกิจเดิม โดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากจุดที่มีความต้องการสูงผลตอบแทนดีเป็นจุดเข้าโจมตี ก่อนจะขยับขยายเข้าสู่ตลาดหลักเมื่อมีความพร้อมและเมื่อได้รับการตอบสนองจากผู้บริโภค ก็จะครอบครองตลาดอย่างสมบูรณ์ กว่าที่เจ้าของธุรกิจเดิมจะรู้ตัว “สายน้ำก็เปลี่ยนทิศเสียแล้ว

จะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางมรสุม?

กลยุทธที่ดีที่สุดในการป้องกันการถูกรุกราน ทำลายล้างคือการชิงลงมือเป็นผู้รุกรานก่อน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการเข้าสู่สนามรบที่เราไม่คุ้นเคย ทำธุรกิจที่เราไม่รู้จัก ไม่เชี่ยวชาญ แต่หมายถึงการสำรวจจุดอ่อนจุดแข็งของธุรกิจที่ทำอยู่และลองเปลี่ยนมุมมองจากผู้ที่คร่ำหวอดในธุรกิจนั้นๆ เป็นมุมมองของผู้รุกรานว่าหากต้องการโจมตีธุรกิจนี้แล้วจะต้องเริ่มจากจุดไหน เมื่อเราค้นพบจุดอ่อนของธุรกิจที่เราทำอยู่ แน่นอนว่ามันก็คือโอกาศอันดี แทนที่จะรอให้ถูกรุกรานจากนวัตกรรมของคนอื่น เราก็สร้างนวัตกรรมขึ้นมาอุดช่องนี้ นอกจากจะปิดทางผู้รุกรานจากภายนอกแล้ว ยังถือเป็นการรุกรานธุรกิจนี้จากผู้ที่ทำธุรกิจนี้โดยตรงและแน่นอนว่าหากบริษัทไหนเริ่มย่อมได้เปรียบกว่า ย่อมสามารถเปลี่ยนจากผู้ถูกทำลายล้าง เป็นผู้ทำลายล้างแทน

สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากผู้บริหารองค์กร ไม่มีวิสัยทัศน์ หรือยังยึดติดกับความสำเร็จใจอดีต องค์กรขนาดใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ต้องล้มหายไปจากโลกนี้ก็เพราะมัวแต่ชื่นชมความยิ่งใหญ่ในอดีต พอหันกลับมาอีกทีก็สายเกินกว่าจะแก้ไขเสียแล้ว เปรียบแล้วก็เหมือนกับ การขับรถบนทางที่คดเคี้ยวโดยมองเพียงกระจกมองหลังเพียงอย่างเดียว

จะเป็นผู้ที่ถูกทำลายล้าง หรือจะเป็นผู้ทำลายล้าง ก็ขึ้นอยู่กับวิศัยทัศน์ของผู้บริหารของบริษัท


CHANGE OR DIE?