Trading in the Zone
FUNDAMENTAL, TECHNICAL, OR MENTAL ANALYSIS
การเทรดนั้นเริ่มต้นจาก การวิเคราะห์พื้นฐาน แล้วพัฒนามาเป็น การวิเคราะห์ทางเทคนิคอล แต่การจะใช้ทั้งพื้นฐานและเทคนิคคอลนั้นต้องบรรลุถึงขั้นการวิเคราะห์ทางจิตใจ
การวิเคราะห์ทั้งสามรูปแบบนี้แบ่งออกเป็นสองปัจจัยคือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่การวิเคราะห์พื้นฐานและเทคนิค ส่วน การวิเคราะห์ทางจิตนั้นเป็นปัจจัยภายใน คนที่เก่งในการวิเคราะห์พื้นฐานนั้นมีไม่น้อย และคนที่มีความรู้ในด้านเทคนิคคอลนั้นมีมากมายในทุกวันนี้ ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้เหมือนกัน เรียนรู้หลักการ วิธีการต่าง ๆ ได้เหมือนกัน แต่ทำไมคนที่ประสบความสำเร็จถึงไม่ได้เพิ่มขึ้น สิ่งที่คนส่วนใหญ่ขาดคือการวิเคราะห์ทางจิต ซึ่งเป็นปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นส่วนที่ยากที่สุด คนที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องสมบูรณ์พร้อมทั้งสองปัจจัยเท่านั้น
นิยามของ "ความสำเร็จ" คือสามารถสร้างรายได้จากการเทรดอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ใช่ทุกคนที่ซื้อขายเป็นจะเป็นเทรดเดอร์ไปทั้งหมด คนที่ประสบความสำเร็จในการเทรดกับเทรดเดอร์ทั่วไปนั้นมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก การจะเปลี่ยนตัวเองจากเทรดเดอร์เป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จนั้นยากพอๆ กับการเดินทางไปดวงจันทร์ ซึ่งถึงแม้เราจะมองเห็นมันทุกคืน ไกล้เหมือนจะเอื้อมมือถึง แต่ทุกคนรู้ว่าการเดินทางไปจริง ๆ นั้นต้องใช้ความพยายามเท่าใด แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะมนุษย์เราได้พิสูจน์แล้วว่าทำได้
สิ่งที่ไหลเวียนอยู่ในตลาดคือ เงิน สำหรับคนที่บรรลุถึงขั้นเทรดเดอร์จริง ๆ การจะกวาดเงินในตลาดเข้ากระเป๋านั้นเป็นเรื่องง่ายดาย อยากทำตอนไหนก็ได้ แต่สำหรับคนในตลาดทั่วไปการกวาดเงินในตลาดเข้ากระเป๋านั้นดูเหมือนจะง่าย แต่ไม่เคยง่าย สิ่งเดียวที่แตกต่างกันระหว่างคนสองกลุ่มนี้คือ "ความคิด" การเรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ควรซื้อเมื่อไหร่ควรขายนั้นไม่ได้หมายความว่าเราเรียนรู้วิธีคิดแบบเทรดเดอร์
ความแตกต่างระหว่างคนสองกลุ่มนี้คือ mind-set และทัศนคติ ทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนที่ประสบความสำเร็จ มีวินัย มีความตั้งใจ และมีความมั่นใจไม่ว่าสถานการณ์ภายนอกจะเป็นอย่างไร ทั้งสองอย่างนี้ไม่ใช่ใครในตลาดก็เรียนรู้เองได้ ต้องมีผู้ชี้แนะคอยแนะนำถ่ายทอด ในโลกความเป็นจริง ผู้บรรลุเป็นเทรดเดอร์ทุกคนใช่จะบรรลุหลักการถ่ายทอดความรู้ด้วย ดังนั้นจำนวนผู้บรรลุที่สามารถถ่ายทอดสิ่งที่บรรลุได้จึงมีน้อย
Trader คืออะไร?
ถ้าเราต้องเลือกประโยคที่ใช้อธิบายคำว่า "Trading" ให้สั้นที่สุด ประโยคที่เหมาะสมคือ "ความขัดแย้ง" ความขัดแย้งทางอารมณ์ ความคิด มุมมอง ทัศนคติ ตลอดถึงหลักการต่าง ๆ ของผู้คนในตลาด ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การซื้อขายแลกเปลี่ยน การซื้อขายในตลาดทุนนั้นแตกต่างจากตลาดทั่วไป เราไม่ได้กำลังซื้อขายสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เราซื้อขายเพื่อเก็งกำไร สิ่งที่มาพร้อมกับการเก็งกำไรคือ "ความเสี่ยง" ดังนั้นเทรดเดอร์ คือ risk-taker หรือนักเสี่ยงโชค ทุกการเทรดนั้นยืนอยู่บนความเสี่ยงและไม่มีอะไรการันตีว่าจะได้กำไร เทรดเดอร์นั้นไม่เพียงแต่รับความเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังเรียนรู้และยอมรับและเข้าใจความเสี่ยงอย่างถ่องแท้
เมื่อเรายอมรับและเข้าใจความเสี่ยงอย่างถ่องแท้ เราจะมองข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากตลาดอย่างเป็นกลาง เราจะมองมันเป็นข้อมูลอย่างแท้จริงโดยไม่มีอารมณ์ส่วนตัวเข้าไปเป็นส่วนผสมทำให้การตีความข้อมูลเหล่านั้นผิดเพี้ยน และข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สามารถสะกิดอารมณ์ของเทรดเดอร์ได้ กิจกรรมการเทรดที่เกิดขี้นจึงยืนอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้รับจากตลาด ไม่ใช่อารมณ์ส่วนตัวของเทรดเดอร์
THE LURE (AND THE DANGERS) OF TRADING
สิ่งที่เด็กทุกคนมีเหมือนกันไม่ว่าจะเกิดจากประเทศไหน เชื้อชาติศาสนาใดก็ตามคือ ความอยากรู้อยากเห็น หรือ Curiosity ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็ก แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนจะสนใจมีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเดียวกัน และบ่อยครัังที่ความอยากรู้อยากเห็นนั้นอาจนำมาซึ่งอันตรายต่อตัวเด็ก ในขณะที่ผู้ใหญ่พยายามปกป้องเด็กจากอันตรายต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็ขัดขวางความอยากรู้อยากเห็นของเด็กโดยไม่รู้ตัว เมื่อเด็กถูกขัดขวางไม่ให้เรียนรู้ในสิ่งที่อยากรู้ สิ่งเดียวที่เด็กทำได้คือ ร้องให้ การร้องให้แสดงให้เห็นถึงความไม่สมปรารถนา แต่ในทางจิตวิทยานั้นเป็นการบอกให้รู้ถึงภาวะความไม่สมดุลทางจิตใจ ผลลัพธ์ของความไมสมดุลนี้ทำให้เกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจ หรือไม่มีความสุข วิธีที่ทางธรรมชาติที่ง่ายที่สุดในการปรับสมดุลนี้คือการร้องให้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกการเสียสมดุลสามารถเติมเต็มได้ด้วยการร้องให้เสมอไป
ตลาดนั้นมีโครงสร้างเชิงพฤติกรรมที่สามารถใช้เป็นจุดระบุจังหวะซื้อขายได้ แต่ตลาดนั้นเหมือนสายน้ำที่ไหลอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งขณะตลาดปิด ไม่มีที่สิ้นสุด สำหรับเกมส์ทั่วไปนั้น ถ้าเราตัดสินใจเล่น เราต้องเล่นให้จบถึงจะได้รางวัล เราจะเปลี่ยนใจระหว่างการเล่นไม่ได้ แต่กับการเทรดนั้นต่างออกไป เราสามารถเริ่มตอนไหน หรือจบเมื่อไหร่ก็ได้ คนเดียวที่ตัดสินใจเริ่มหรือจบเกมส์คือตัวเราเอง ดังนั้นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมดในการเทรดนั้นมาจากจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากในการควบคุมที่สุด และไม่มีใครสามารถควบคุมมันได้นอกจากตัวเราเอง
การจะควบคุมจิตใจนั้นจำเป็นต้องมีกฏที่เคร่งครัด แต่การปฏิบัติตามกฏนั้นยากถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่ากฏเหล่านั้นดีก็ตาม เหตุเพราะโครงสร้างทางความคิดของเรานั้นไม่ใช่โครงสร้างทางความคิดดั้งเดิม แต่เป็นโครงสร้างทางความคิดที่เราได้รับมาจากสังคม หรือจากคนอื่น ในขั้นตอนการพัฒนาโครงสร้างทางความคิดนั้นมีหลายอย่างที่ถูกปฏิเสธจากครอบครัวหรือสังคม สมดุลทางจิตใจที่เสียไปจากการถูกปฏิเสธเหล่านั้นไม่ได้หายไปใหน มันถูกกดทับลึกอยู่ภายในใจในรูปแบบของความโกรธ ความผิดหวัง ความเสียใจ หรือแม้กระทั่งความเกลียดชัง ความรู้สึกด้านลบที่สะสมภายในใจเหล่านี้ทำให้เราต่อต้านทุกอย่างที่ปิดกันไม่ให้เราได้รับอิสรภาพที่เราต้องการ
กล่าวอีกอย่างคือ เราทุกคนเข้ามาเทรดก็เพราะต้องการอิสรภาพ (ทางการเงิน) ในขณะเดียวกันเรากลับต่อต้านกฏทุกอย่างที่จะช่วยให้เราบรรลุถึงอิสรภาพนั้น ๆ ซึ่งมันย้อนแย้งในตัวมันเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องกลับไปแก้ใขเติมเต็มสมดุลเหล่านั้นก่อนถึงจะประสบความสำเร็จในการเป็นเทรดเดอร์ได้
"ความรับผิดชอบ" คือหนี่งในกุญแจสำคัญ เมื่อเราเข้าสู่โลกของการเทรด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราทั้งหมด เรียกว่าเรามีอิสรภาพในการตัดสินใจตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจเหล่านั้น วิธีการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบที่เกิดจากการเทรดคือเทรดอย่างไม่มีแผน เพราะว่ามันง่ายในการโทษคนอื่นถ้าการเทรดนั้นไม่ให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
TAKING RESPONSIBILITY
การแสดงความรับผิดชอบนั้นคือหลักการสำคัญข้อแรกในการพัฒนาทัศนคติแบบผู้ชนะ หรือ winning attitude อย่างแรกคือต้องรู้ก่อนว่าในการเทรดนั้นอะไรคือความรับผิดชอบของเรา เมื่อรู้แล้วต้องเต็มใจแบกรับความรับผิดชอบนั้นจริงๆ การเปิดใจยอมรับความผิดพลาดนั้นเป็น mind-set ที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้เราพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นเทรดเดอร์ที่แท้จริง
เราทุกคนเคยลิ้มรสรสชาติของชัยชนะ แต่ไม่มีใครที่จะชนะตลอดไป สิ่งเดียวที่ชัยชนะจะนำพาไปหาคือความประมาท และความประมาทนั้นคือหนทางสู่หายนะ และเมื่อมันเกิดขึ้น เราจะโทษตลาดแทนที่จะโทษตัวเอง เมื่อเราโทษตลาด เราเริ่มศึกษาตลาด เพื่อที่จะเอาชนะตลาด ยิ่งเราพยายามสู้กับตลาดเท่าไหร่ ตลาดก็ยิ่งยัดเยียดความพ่ายแพ้ให้เรา ไม่ว่าเราจะศึกษาอะไรมา ศึกษามาดีแค่ไหน ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถเอาชนะตลาดอยู่ดี เราจึงตกอยู่ในวังวนของการค้นหาจอกวิเศษในการเทรดไปจนกว่าจะท้อแท้ หรือหมดตัวออกจากตลาดไป
สำหรับเทรดเดอร์, สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ mind-set ไม่ใช่ทักษะซึ่งแตกต่างจากนักกีฬาอื่นที่ต้องมีทั้ง mind-set และทักษะถึงจะประสบความสำเร็จ ถ้ามีแค่ทักษะก็สามารถประสบความสำเร็จในการเทรดคงไม่มีใครสู้เหล่านักวิเคราะห์ในตลาดได้ สำหรับการเทรดนั้น เราไม่ได้กำลังสู้กับตลาด แต่เรากำลังสู้กับตัวเอง เราไม่จำเป็นต้องเอาชนะตลาด แต่เราต้องเอาชนะใจตนเอง
ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นล้วนเกิดจากการตัดสินใจและลงมือทำ ของเราเองทั้งหมด ตลาดมีหน้าที่แค่อำนวยความสะดวกเท่านั้น แพ้ ชนะ กำไร ขาดทุน คือผลลัพธ์จากการตัดสินใจของเราเอง กรรมที่เราก่อ เราต้องเป็นผู้รับผิดชอบเท่านั้น การโยนความผิดให้กับตลาดเป็นวิธีหนึ่งในการปัดความรับผิดชอบและมันไม่ช่วยแก้ปัญหา วิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาได้คือเผชิญหน้าแสดงความรับผิดชอบ
การแสดงความรับผิดชอบในการเทรดคือ การรับรู้และยอมรับในผลกรรมนั้น เมื่อเกิดความผิดพลาดก็ต้องยอมรับมันอย่างนิ่งเฉย เมื่อได้กำไรก็ยอมรับมันอย่างนิ่งเฉย สภาวะ "นิ่งเฉย" นี้ในทางกีฬาเรียกว่า "zone" คืออาการไม่ตื่นเต้นตกใจเมื่ออยู่ต่อหน้าคู่แข่งขันในสนาม พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
ไม่กลัวแต่ไม่ประมาท คือ mind-set แรกที่ต้องเรียนรู้ นิยามของคำว่า "ประสบความสำเร็จ" ในการเป็นเทรดเดอร์คือการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ แต่ "ความสม่ำเสมอ" นั้นเป็นเรื่องของจิตใจไม่ใช่ตลาด หลายคนพยายามทำความเข้าใจตลาดเพื่อหาหนทางที่จะทำกำไรให้ได้อย่างสม่ำเสมอ แทนที่จะทำความเข้าใจว่าเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้สม่ำเสมอเขามีวิธีคิดอย่างไร การทำผิดซ้ำๆ เสียเงินซ้ำๆ หรือประมาทซ้ำๆ นั้นมีต้นเหตุมาจากความเชื่อและทัศนคติ ไม่ใช่ตลาด
การแสดงความรับผิดชอบในเรื่องทั่วไปนั้นเรามักจะคาดหวังการให้อภัยจากคนรอบข้างหรือสังคม แต่กับตลาดนั้น ไม่มีคำว่าให้อภัย เพราะทุกคนเข้าสู่ตลาดด้วยเหตุผลเดียวกันหมดคือ ทำกำไร ดังนั้นการแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดในการเทรดคือ การรับรู้และยอมรับในความผิดพลาดนั้น ต้องตอกย้ำตัวเองอยู่เสมอว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการเทรดนั้นคือความรับผิดชอบของตัวเราเองทั้งหมด และเราต้องเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ
CONSISTENCY, A STATE OF MIND
สิ่งที่แตกต่างระหว่างคนที่ประสบความสำเร็จในการเทรดกับคนส่วนใหญ่ในตลาดนั้นไม่ใช่วิธีการ แต่เป็นวิธีคิด ทุกคนในตลาดรู้วิธีซื้อขายเหมือนกัน แต่สิ่งที่ทุกคนมีไม่เหมือนกันคือวิธีคิดก่อนที่จะลงมือซื้อขาย
Consistency หรือความเสมอต้นเสมอปลายนั้นเป็นสภาวะทางจิตใจ เช่นเดียวกับความสุข ความสนุก ความพึงพอใจ ไม่ใช่ตลาด ตลาดนั้นถึงแม้จะมีโครงสร้างเชิงพฤติกรรมแต่มันไม่เคยมีความคงเส้นคงวา สภาวะทางจิตใจ เกี่ยวข้องกับความเชื่อและทัศนคติ เราไม่สามารถทำอะไรได้อย่างเสมอต้นเสมอปลายได้โดยปราศจากความเชื่อหรือทัศนคติ เช่นเดียวกันกับการที่เราพยายามมีความสุขกับสิ่งที่เราไม่รู้สึกสนุกด้วย ถ้าเราไม่สนุก มันยากที่จะมีความสุขเพราะมันฝืนความรู้สึก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกสนุกกับสิ่งที่เรากำลังทำ เราจะไม่รู้สึกว่าเราต้องพยายามมากมาย แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นกลับเป็นที่น่าพึงพอใจ ต่อให้เป็นเรื่องยาก แต่มันกลับง่ายเมื่อเราสนุกกับมัน
การที่จะก้าวข้ามไปสู่สภาวะเทรดแบบไร้กังวลนั้นเราต้องทำความเข้าใจ ความเสี่ยง หรือ Risk อย่างถ่องแท้ การเราซื้อขายในตลาดนั้นไม่ได้หมายความว่าเรายอมรับความเสี่ยง การยอมรับความเสี่ยงที่แท้จริงนั้นคือการยอมรับผลลัพธ์จากการเทรดโดยปราศจากอารมณ์หรือความกลัว แต่มนุษณ์เรานั้นใครบ้างที่จะไม่มีสองอย่างนี้
THE DYNAMICS OF PERCEPTION
มองตลาดให้เห็นตลาด มองตลาดอย่างเป็นกลาง
จุดเริ่มต้นของการเทรดนั้นเริ่มจากการรับรู้หรือมองเห็นโอกาส ดังนั้นเราจะเริ่มต้นจากการแยกแยะ "การรับรู้"
มนุษย์เรารับรู้สิ่งต่าง ๆ จากภายนอกร่างกายผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ยกตัวอย่างเช่น หิน นั้นประกอบด้วย Atom และ Molecules เฉพาะทำให้เกิดเป็นรูปลักษณ์และคุณสมบัติเฉพาะ ถึงแม้มันจะมีรูปร่างคงทีไม่เปลี่ยนแปลง แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาในระดับ Atom กับ Molecules เมื่อมีการเคลื่อนไหวนั่นหมายถึงมันมีพลังงาน กล่าวอีกอย่างคือ วัตถุทุกอย่างที่ประกอบขึ้นจาก Atom และ Molecules ล้วนแต่มีพลังงานซ่อนอยู่ และเมื่อเราสัมผัสมัน จะเกิดการแลกเปลี่ยนพลังงาน ระบบประสาทจะทำการแปลงพลังงานเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบพลังงานไฟฟ้าแล้วจัดเก็บลงไปภายใน กล่าวอีกอย่างคือ อะไรก็ตามที่เรา มองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และสัมผัส จะถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วจัดเก็บไว้ภายในจิตใจในลักษณะของความทรงจำ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงาน
ความทรงจำ สัญชาติญาณ ความเชื่อต่าง ๆ ในชีวิตเรานั้นล้วนถูกจัดเก็บอยู่ภายในตัวเราในลักษณะโครงสร้างพลังงาน หรือ "Energy Structures" รวม ๆ เรียกว่าพลังจิต
ความคิดนั้นเป็นพลังงาน เพราะเราคิดเป็นภาษา และภาษาแต่ละภาษานั้นมีกฏเกณฑ์ข้อจำกัดต่าง ๆ อยู่ เราส่งต่อสิ่งที่เราคิดของเราออกไปในลักษณะของเคลื่อนเสียงซึ่งเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างเฉพาะ - เคลื่อนเสียงส่งผ่านอากาศ ตกกระทบแก้วหู ประสาทการฟังแปลงพลังงานที่เกิดจากการตกกระทบแก้วหูของเคลื่อนเสียงเป็นพลังงานที่มีโครงสร้างเฉพาะแล้วส่งไปแมทกับพลังงานที่เก็บอยู่ในรูปของความทรงจำ ทำให้เราเข้าใจภาษาและความหมายของมัน ดังนั้นถ้ามีคนพูดภาษาที่เราไม่มีอยู่ในความทรงจำ เราจะไม่เข้าใจ นี่เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงการมีอยู่ของ "Energy Structures"
การรับรู้และการเรียนรู้
มนุษย์เรามีข้อจำกัดในการรับรู้เช่น ตาเราไม่สามารถมองเห็นแสงในทุกความถี่ของคลื่นแสง หูเราไม่สามารถได้ยินเสียงจากทุกความถี่ของคลื่นเสียง เราจึงไม่สามารถเรียนรู้สิ่งที่อยู่เหนือขอบข่ายการรับรู้ของเรา - เพื่อที่จะขยายขอบเขตของการเรียนรู้ เราต้องตระหนักถึงการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้นก่อน
Mental energy หรือพลังจิต นั้นมีอยู่สองขั้วคือ ขั้วบวก เช่น ความรัก ความมั่นใจ ความตื่นเต้น ความกระตือรือร้น รวม ๆ เรียกว่า ความสุข และขั้วลบเช่น ความกลัว ความโกรธ ความเสียใจ เป็นต้น รวม ๆ เรียกว่าความทุกข์
ความทรงจำ
มนุษย์จำแนกสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจากการนำรูปลักษณ์ หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ของมันไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราเก็บไว้ในความทรงจำ ซึ่งการเปรียบเทียบนี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
THE MARKET'S PERSPECTIVE
ถ้ามันมีอะไรที่พอจะถือว่าเป็นเคล็ดลับในการเทรด คงจะเป็นดังนี้
- Trade without fear or overconfidence,
- Perceive what the market is offering from its perspective,
- Stay completely focused in the "now moment opportunity flow,"
- Spontaneously enter the "zone,"
เราจะ Sync กับตลาดอย่างไร?
บางอย่างอธิบายได้ด้วยเหตุผล แต่บางอย่างไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ ที่ไม่มีเหตุผลมาอธิบายอาจเป็นเพราะเรายังไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น - ศาสน์และศิลป์
ราคาปัจจุบัน สะท้อนความเชื่อในอนาคต แต่อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เราต้องเชื่ออย่างสนิทใจว่า "ไม่มีอะไรแน่นอน" ดังนั้นสามอย่างที่ต้องมีก่อนเทรดคือ
- ขนาดของความเสี่ยง
- จุด Stop loss
- Money Management
THE TRADER'S EDGE, THINKING IN PROBABILITIES
อยากเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จในการเทรดอย่างสม่ำเสมอ ต้องฝึกคิดแบบ "ความน่าจะเป็น", ทำไมต้องฝึกคิดแบบ "ความน่าจะเป็น"? เพราะตลาดไม่มีความแน่นอน ถ้าตลาดนั้นไม่มีความแน่นอน เราจะทำกำไรอย่างสม่ำเสมอได้อย่างไร - ซึ่งฟังดูแล้วมันย้อนแย้ง
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่มีความเที่ยงแท้แน่นอน "ความไม่เที่ยง" นั้นเป็นแก่นของศาสนาพุทธ เมื่อเราเข้าใจถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เราถึงจะสามารถปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ลงได้
เทรดเดอร์ก็เหมือนนักธุรกิจทั่วไป ไม่มีนักธุรกิจคนไหนที่รู้ล่วงหน้าว่าธุรกิจที่ทำอยู่จะรุ่งเรืองหรือโรยรา คนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่พยายามทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพราะการตั้งใจทำมันให้ดีที่สุด มีความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จที่สุดเท่านั้น
การคิดแบบความน่าจะเป็นนั้นยากเพราะมันต้องอาศัยความเชื่อสองชั้น ความยากคือความเชื่อทั้งสองนั้นขัดแย้งกันเองอยู่
ชั้นแรกเรียกว่า Micro level คือเราต้องเชื่อว่าผลลัพธ์ของการเทรดแต่ละครั้งนั้นมีความไม่แน่นอนและคาดเดาไม่ได้ - ตลาดนั้นไม่เคยมีความเสถียรเพราะมีปัจจัยหรือตัวแปรหลายอย่างที่สามารถส่งผลกระทบต่อตลาดได้ตลอดเวลา เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าคนในตลาดคิดยังไง เราทำได้เพียงคาดเดาว่าเขาเหล่านั้นจะคิดยังไง โดยใช้หลักจิตวิทยาเป็นฐานทางความคิดเท่านั้น
ชั้นที่สองเรียกว่า Macro level คือ เราต้องเชื่อว่า ผลลัพธ์ในการเทรดต่อเนื่องนั้นมีความแน่นอนและคาดเดาได้ ระดับความแน่นอนนั้นขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและความได้เปรียบอื่น ๆ (Trading Edge) ที่เรามี ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เราชนะทุกการเทรด แต่ในระยะยาวแล้วจะชนะมากกว่าแพ้
ตัวแปรตลาดคืออะไร?
สำหรับการเทรด, ตัวแปรที่เรารู้คือ ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ตลาดด้วยวิธีทางเทคนิคอล เพื่อค้นหารูปแบบพฤติกรรมของมวลชนในตลาด เครื่องมือแต่ละอย่างคือชุดเงื่อนใขสำหรับกำหนดกรอบพฤติกรรมในแต่ละรูปแบบ ชุดเงื่อนไขและรูปแบบพฤติกรรมคือตัวแปรตลาด กล่าวอีกอย่างคือ เครื่องมือทางเทคนิคคอลคือตัวแปรตลาด
ไม่มีเทรดเดอร์คนไหนที่ใช้เครื่องมือเดียวในการวิเคราะห์พฤติกรรมตลาด ทุกคนมีชุดเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันไป ชุดเครื่องมือนี้เรียกรวม ๆ ว่า Trading Edge
นอกจากตัวแปรที่เรารู้ ยังมีตัวแปรที่เราไม่รู้ สำหรับเทรดเดอร์ ตัวแปรที่เราไม่รู้และคาดเดาไม่ได้คือคน เทรดเดอร์ทุกคนมี trading edge และความเชื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่านำไปสู่การกระทำที่แตกต่างกันออกไป และการกระทำเหล่านั้นล้วนส่งผลต่อการเทรดของเรา นี่คือสาเหตุของความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของผลลัพธ์ในแต่ละครั้งของการเทรด
เมื่อผลลัพธ์ในการเทรดแต่ละครั้งนั้นแปรผกผันไปกับตัวแปรเหล่านี้ การเทรดแต่ละครั้งย่อมเป็นอิสระจากกันโดยสิ้นเชิง ไม่ต่างกับการพนันต่าง ๆ ที่เล่นกันจบเป็นเกม ๆ ไป
พฤติกรรมมนุษย์นั้นมักจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "รูปแบบพฤติกรรม" เมื่อเกิดขึ้นในตลาดจะเป็น รูปแบบพฤติกรรมราคาหรือ price pattern แต่ถึงแม้มันจะมีรูปแบบราคาที่คล้ายกันแต่ก็ไม่ไช่อันเดียวกัน เพราะตัวแปรในขณะที่เกิดพฤติกรรมแต่ละครั้งนั้นแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการอ่านพฤติกรรมตลาดนั้นต้องเน้นที่ปัจจุบันไม่ใช่อดีต กล่าวอีกอย่างคือ "จงอยู่กับปัจจุบัน" ตระหนักรู้ถึงความไม่เที่ยง, เข้าใจธรรมชาติของความน่าจะเป็น
ความคาดหวัง
ไม่คาดหวัง ย่อมไม่เจ็บปวดจากความผิดหวัง ไม่ผิดหวัง ก็ไม่ต้องมีอะไรฝังใจ จิตใต้สำนึกของเรานั้นมีกลไกในการป้องกันไม่ให้เราได้รับบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเห็นลูกบอลพุ่งใส่หน้า เราจะยกมือขึ้นมากันโดยอัติโนมัติ การป้องกันทางกายภาพนั้นสามารถเกิดได้ทั้งขณะที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว แต่การป้องกันความเจ็บปวดทางอารมณ์หรือจิตใจนั้นเรามักจะไม่รู้ตัว
การหาวิธีป้องกันความเจ็บปวดทางจิตใจนั้นง่ายกว่าการหาวิธีรับมือกับความเจ็บปวดนั้น ต้นเหตุของความเจ็บปวดทางจิตใจส่วนใหญ่นั้นเกิดจากความคาดหวัง เมื่อเรามีความคาดหวัง และจิตใต้สำนึกเรารู้ว่าเราจะเจ็บปวดถ้าหากผิดหวัง ระบบป้องกันความเจ็บปวดทางจิตใจจะถูกทริกให้ทำงานทันที เราจะมองไม่เห็นอะไรก็ตามที่จะทำให้เราผิดหวัง ยกตัวอย่างเช่น เราเทรดด้วยความหวังที่จะเอาชนะ ในขณะที่ราคาไม่ไปในทิศทางที่เราต้องการ เทรนเริ่มกลับตัวไปในทิศตรงข้าม สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตรงหน้า แต่เราจะมองไม่เห็น จิตใต้สำนึกจะปิดกั้นไม่ให้เราเห็น เพราะมันรู้ว่าถ้าเราเห็น เราจะผิดหวัง และความผิดหวังนั้นจะสร้างความเจ็บปวดทางจิตใจ ระบบป้องกันความเจ็บปวดทางจิตใจจะทำงานอัตโนมัติ เราจะมองเห็นมันได้ก็ต่อเมื่อเราออกจากการเทรด หรือความคาดหวังเหล่านั้นหมดไปเท่านั้น
ความเสี่ยงทางอารมณ์ - การจะตัดอารมณ์ออกจากการเทรดได้เราต้องคิดแบบ "ความน่าจะเป็น" ให้ได้ก่อน วิธีคิดแบบนี้เป็นวิธีคิดในมุมของตลาด หลักความจริง 5 ข้อดังต่อไปนี้เป็นหลักพื้นฐานในการปลูกฝัง mind-set การคิดแบบความน่าจะเป็น
- ในตลาดนั้น อะไรก็เกิดขึ้นได้
- ในการทำกำไรนั้น เราไม่จำเป็นต้องรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- การเทรดนั้นต้องมีแพ้ชนะ ผลลัพธ์ในการเทรดนั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ ณ ขณะนั้น
- เครื่องมือต่าง ๆ นั้นเป็นเพียงตัวช่วยให้น้ำหนักความเป็นไปได้เท่านั้น
- ทุกชั่วขณะนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนอดีต และจะไม่เหมือนเดิมในอนาคต - จงอยู่กับปัจจุบัน
Mind-set ทั้ง 5 ข้อนี้จะช่วยให้ความคาดหวังของเราสอดคล้องกับหลักจิตวิทยาที่อ้างอิงกับตลาดโดยตรง กล่าวอีกแบบคือ คาดหวังในสิ่งที่เป็นไปได้
WORKING WITH YOUR BELIEFS
ก่อนที่เราจะสามารถนำหลักความจริง 5 ข้อมาใช้ได้นั้น เราต้องปรับความเชื่อของเราก่อน
สิ่งที่เราเห็นจากตลาดคือ แท่งเทียนราคา ที่เมื่อหลายแท่งประกอบกันทำให้เกิดรูปแบบราคา เราใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นตัวกำหนดรูปแบบเหล่านี้ รูปแบบราคาต่าง ๆ นั้นจะชี้ให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ที่ราคาจะไปในทิศทางไหน รูปแบบราคาเหล่านี้เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง สิ่งที่อยู่ภายใต้ภูเขาน้ำแข็งนี้คือเหล่า trader ที่ลงมือซื้อขายจนทำให้เกิดรูปแบบราคานี้ขึ้นมา ดังนั้น ถึงแม้รูปแบบราคาที่เกิดขึ้นมีความคล้ายคลึงกับรูปแบบราคาในอดีต แต่กลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังกราฟนี้ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน ดังนั้นรูปแบบราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาจึงมีความ unique
ความกลัวคือสิ่งที่ปิดกั้นการรับรู้ถึงความเป็น "ปัจจุบันขณะ" ซึ่งที่มาของความกลัวเหล่านั้นมาจากการตีความสาร หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับมา ซึ่งความเชื่อคือสิ่งที่ทำหน้าที่ในการกำหนดและตีความข้อมูลเหล่านั้น เป็นตัวกลางที่เชื่อระหว่างกลไกการปกป้องตัวเองกับความคาดหวัง ความคาดหวังคือความเชื่อที่ฉายภาพขณะใดขณะหนึ่งของอนาคตให้เราเห็น เมื่อข้อมูลที่ได้รับกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในความทรงจำคล้ายกัน ก็จะถูกเชื่อมโยงกันโดยอัตโนมัติ การเชื่อมต่อข้อมูลทั้งสองชุดเข้าด้วยกันจะกระตุ้น state of mind หรือสติอารมณ์ (ตรงข้ามกับสติปัญญา) ให้เกิดขี้น ปัญหาคือเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า "ความเชื่อ" นั้นถูกต้อง ในเมื่อตลาดนั้นไม่เที่ยง
วัตถุประสงค์หลักของการเทรดคือ ทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ และรักษากำไรเหล่านั้นไว้ได้ โดยจะทำอย่างนี้ได้ ต้องย้ายโฟกัสจากเงินไปที่่ทักษะแทน
ทักษะอะไรบ้างที่ต้องโฟกัส - ความไร้กังวล (carefree) ถ้าไม่มีกังวล เราจะรับรู้สิ่งที่ตลาดบอกเราอย่างตรงไปตรงมา ณ ปัจจุบันขณะ
สภาวะจิตที่ไร้ซึ่งความกังวลเป็นอย่างไร - มีความมั่นใจ แต่ไม่ประมาท จะไร้กังวลได้เราต้องยอมรับความเสี่ยงอย่างแท้จริงเท่านั้น
ความเที่ยงแท้แน่นอน - คือ สติ เมื่อมีสติ จะไม่มีอะไรปิดกั้นการรับรู้ เมื่อข้อมูลไม่ถูกบิดเบือน เราจะเรียนรู้ธรรมชาติของตลาดที่แท้จริง
ปัจจุบันขณะ - ไม่ใช้อดีตมากำหนดปัจจุบัน สิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็น "ต่างกรรมต่างวาระ" ไม่เกี่ยวข้องกัน
หลักความจริงเกี่ยวข้องกับทักษะอย่างไร
- อะไรก็เกิดขึ้นได้ - การเปลี่ยนแปลงของราคานั้นคาดเดาได้ยาก เพราะมันขึ้นอยู่กับผู้เล่นในตลาดซึ่งมีอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าเราจะมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่ดีแค่ไหน หรือทักษะในการวิเคราะห์ได้ดีแค่ไหน เราก็ไม่สามารถเดาใจผู้เล่นทั้งตลาดได้ - จิตวิทยานั้นเป็นแขนงหนึ่งของการวิเคราะห์ที่จะช่วยให้เราเข้าใจผู้คนในตลาดมากขึ้น แต่ผลลัพธ์ก็ยังคงเป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้น
- การทำเงินในตลาดนั้น เราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างล่วงหน้า - เราต้องเข้าใจก่อนว่าตลาดนั้นเป็น Probability game, ชุดเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ตลาดหรือ Trading Edge ไม่สามารถการันตีผลลัพธ์ได้ การที่มันใช้ได้ผลในตลาดหนึ่ง ณ ช่วงเวลาหนึ่งนั้นไม่ได้หมายความว่ามันจะได้ผลตลอดไป เพราะตลาดนั้นประกอบด้วยตัวแปรไม่คงที่ ที่เราไม่สามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้วิเคราะห์ได้ ซึ่งก็คือผู้คนในตลาด เราไม่จำเป็นต้องรู้ว่าการเทรดแต่ละครั้งนั้นจะแพ้หรือชนะ กำไรหรือขาดทุน เราอาจจะรู้ว่าถ้าเราใช้ Trading Edge นี้ผลการเทรด 20 ครั้งจะชนะ 12 แพ้ 8 แต่สิ่งที่เราไม่รู้คือลำดับในการแพ้หรือชนะ และผลกำไรขาดทุนในแต่ละครั้ง เมื่อเราเข้าใจว่าการเทรดนั้นเป็น Probability game มันจะช่วยลดความคาดหวังในการเทรดแต่ละครั้งลง และเมื่อความหวังลดลง ความเจ็บปวดจากความผิดหวังนั้นย่อมลดลงไปด้วย สิ่งที่เราต้องรู้คือ โอกาสที่ราคาจะวิ่งไปในทิศทางที่เราคาดการณ์นั้นมากน้อยแค่ไหน และ ต้นทุนที่ใช้ในการพิสูขน์การคาดการณ์นั้นอยู่ที่เท่าไหร่ กล่าวอีกอย่างคือ จำนวนเงินที่ต้องเสียหากราคาไม่วิ่งไปในทิศทางที่คาดการณ์ - Entry point, stop loss และ money management
- ผลของการเทรดแต่ละครั้งนั้นไม่เที่ยง เราอาจจะรู้อัตราส่วนแพ้ชนะของ Trading Edge แต่สิ่งที่เราไม่รู้คือเมื่อไหร่หรือเทรดครั้งที่ไหนที่จะชนะหรือแพ้ เพราะตลาดนั้นไม่เที่ยง ผลลัพธ์ในการเทรดแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับผู้คนในตลาด ณ ขณะนั้น
- Trading Edge นั้นเป็นเพียงชุดเครื่องมือที่ใช้ในการคาดเดาความเป็นไปได้เท่านั้น - อย่าเคลือบแคลงสงสัยหรือพยายามพิสูจน์ความแม่นยำของมันโดยเฉพาะกับการเทรดแต่ละครั้ง ยิ่งสงสัยในความแม่นยำของมันเท่าไหร่ ยิ่งขาดความมั่นใจเมื่อผลลัพธ์นั้นไม่เป็นไปตามคาด
- ตลาดนั้นไม่เคยเหมือนเดิม ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกชั่วขณะ - อย่าพยายามคาดเดาอนาคตโดยใช้ข้อมูลในอดีต ถึงแม้มันจะเกิดรูปแบบที่คล้ายกัน แต่ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด ยิ่งเดาถูกยิ่งทำให้การคาดหวังในผลลัทพ์เพิ่มขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราต้องการ เราต้องลดความคาดหวังลงให้น้อยที่สุด หรือแม้กระทั่งกำจัดให้หมดไป
THE NATURE OF BELIEFS
ต้นกำเนิดของความเชื่อ
ความทรงจำ, สัญชาติญาณ และความเชื่อ นั้นถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบหนึ่งของพลังงานที่มีลักษณะโครงสร้างพลังงานที่ชัดเจน
ความทรงจำกับความเชื่อแตกต่างกันอย่างไร
ความทรงจำคือข้อมูลต่าง ๆ ที่เรารับมาจากประสาทสัมผัสมาจัดเก็บอยู่ในรูปแบบของพลังงาน ความเชื่อนั้นเป็นแนวคิดที่เกิดจากการนำข้อมูลต่าง ๆ มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน เป็นการผสานความทรงจำเข้ากับภาษา เรียบเรียงออกมาเป็นคำพูด ดังนั้นความเชื่อจึงเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่มีรากฐานมาจากโครงสร้างภาษา เพราะเราคิดเป็นภาษา
ความเชื่อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่สำคัญมาก ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร ดำเนินไปในทิศทางใหนนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อของเรา แต่ความเชื่อที่เรามีนั้นแท้จริงแล้วไม่ใช่ของเรา แต่เกิดจากการปลูกฝังจากสภาพแวดล้อมและผู้คนรอบตัวเช่นครอบครัวหรือสังคมอาศัยอยู่
ความเชื่อส่งผลต่อการดำเนินชีวิตดังนี้
- การรับรู้และการตีความหมาย เรามักรับรู้และตีความหมายสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวในชีวิตประจำวันโดยมีความเชื่อเป็นพื้นฐาน
- ความเชื่อเป็นตัวกำหนดความคาดหวัง - ความคาดหวังนั้นเกิดจากการฉายภาพอนาคตให้เห็น และภาพที่ฉายนั้นมีรากฐานมาจากความเชื่อของเรา
- การแสดงออกไม่ว่าจะเป็นความคิดหรือการกระทำล้วนแต่มีรากฐานมาจากความเชื่อทั้งนั้น
- ความรู้สึก ความรู้สึกอันเกิดจากการกระทำนั้นถูกกำหนดโดยความเชื่อที่เรามี เช่นถ้าเราทำสิ่งที่เราเชื่อว่าดี มันจะทำให้เรามีความสุข เป็นต้น
ความเชื่อกับความจริง
ความเชื่อกำหนดขอบเขตในการรับรู้ข้อมูล และการทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับของแต่ละคนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อของบุคคลนั้น ๆ ดังนั้น เราต้องเข้าใจว่าไม่มีความเชื่อใดที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ แทนที่เราจะวัดกันที่ความถูกต้อง เราควรวัดกันที่ความมีประโยชน์มากกว่า
THE IMPACT OF BELIEFS ON TRADING
ความขัดแย้งทางความเชื่อ - ความขัดแย้งทางความคิด
- เราทุกคนอยากได้รับความเชื่อถือ มันทำให้เกิดความรู้สึกดี ในขณะเดียวกันเราจะรู้สึกแย่เมื่อมีคนบอกว่า ผมไม่เชื่อคุณ
- เราไม่อยากให้ใครมาท้าทายความเชื่อของเรา เพราะทำให้เกิดความรู้สึกถูกคุกคาม เราจะถกเถียงเพื่อปกป้องความเชื่อเหล่านั้น และพยายามชี้นำให้เห็นว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง
- เราอยากถ่ายทอดความเชื่อที่มีให้คนอื่น เราอยากให้คนอื่นฟังเรา เชื่อเหมือนที่เราเชื่อ
- ทำไมการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้นยาก? การเป็นผู้ฟังที่ดีนั้นยาก หากสิ่งที่เรากำลังฟังนั้นขัดแย้งกับความเชื่อของเรา มันเป็นสิ่งที่ยากมากในการอดทนฟังในสิ่งที่เราไม่เชื่อโดยไม่โต้แย้ง
คุณลักษณะพื้นฐานหลักของความเชื่อ 3 ประการ
- ความเชื่อนั้นเหมือนสิ่งมีชีวิต มันจะต่อต้านพลังงานใดก็ตามที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงมัน ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยอมตายเพื่อปกป้องความเชื่อ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่จะเปลี่ยนมันได้ เราต้องเข้าใจมัน : ในทางฟิสิกส์แล้ว พลังงานนั้นไม่สามารถสร้างหรือทำลายได้ มันแค่เปลี่ยนรูปเท่านั้น ความเชื่อนั้นเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ดังนั้นมันจึงอยู่ภายใต้กฏของฟิสิกส์ข้อนี้เช่นกัน - วิธีที่มีประสิทธภาพและง่ายที่สุดในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อคือ การกำจัดอิทธิพลของความเชื่อนั้น มันไม่ได้หายไปใหน มันเพียงแต่เปลี่ยนรูปไปอยู่ในรูปของความเชื่อที่ถูกพิสูจน์และแก้ไขแล้วเท่านั้น วิธีการกำจัดอิทธิพลของความเชื่อ คือเปิดใจศึกษาทำความเข้าใจความเชื่อนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่นเด็กส่วนใหญ่เชื่อว่าซานตาครอสมีอยู่จริง แต่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะรู้ว่ามันเป็นเพียงเรื่องเล่า ทั้งสองมีความเชื่อเหมือนกันแตกต่างกันที่ของความเชื่อของเด็กนั้นมีอิทธิพลต่อตัวเด็ก เพราะมันยังไม่ถูกศึกษาและพิสูจน์ด้วยตัวเด็กเอง แต่ความเชื่อของผู้ใหญ่นั้นไม่มีอิทธิพลแล้วเพราะมันผ่านการเรียนรู้และพิสูจน์ด้วยตนเองแล้วว่าความเชื่อนั้นไม่จริง ดังนั้นความเชื่อจึงมีอยู่สองสถานะคือ active และ inactive มันไม่ได้หายไปแค่เปลี่ยนสถานะ
- ความเชื่อที่ยัง active นั้นต้องการการแสดงออกเสมอ มันเป็นความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์ที่อยากเผยแผ่ความเชื่อของตนให้คนอื่น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเชื่อเหมือนกันและเมื่อความเชื่อไม่เหมือนกันก็จะเกิดการถกเถียงกัน ความขัดแย้งภายนอกแก้ไขได้ด้วยการถกเถียง แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าความเชื่อบางอย่างเกิดขัดแย้งกับความต้องการของตัวเราเอง
คิดนอกกรอบ หรือ creative thinking
เรามีความเชื่อมากมายอยู่ในใจไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เมื่อเรานึกถึงเรื่องไหน ความเชื่อในเรื่องนั้นก็จะแสดงตัวออกมาทันทีโดยอัตโนมัติ ประสบการณ์หรือทักษะบางอย่างนั้นฝังรากลึกลงไปถึงจิตใต้สำนึก ทำให้เราสามารถทำมันได้โดยอัติโนมัติ และสามารถทำได้ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่นคนที่เมาจนขาดสติ แต่สามารถขับรถกลับถึงบ้านได้โดยไม่รู้ตัวเป็นต้น
จะเล่นกับหมา เราต้องดูก่อนว่าหมานั้นเป็นมิตรไหม หุ้นก็เช่นกัน
ความเชื่อส่งผลกระทบต่อการเทรดอย่างไร
ตลาดนั้นเปิดโอกาสให้เราสร้างความมั่งคั่งเสมอ มีเงินอยู่ในตลาดมากมายและเรารู้ว่าเราสามารถที่จะเอามาเป็นของเราได้ แต่ทำไม่เราถึงเอามันมาไม่ได้ นั่นไม่ใช่เพราะตลาดไม่ให้เรา แต่เป็นเพราะจิตใจเราที่ไม่ยอมเปิดรับมันเอง ...
เพราะเราถูกสอน ถูกปลูกฝังว่าเงินตราและความร่ำรวยนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้าย คำสอนเหล่านี้ฝังลึกลงไปในจิตใต้สำนึกโดยที่เราไม่รู้ตัวและทำงานอยู่เงียบ ๆ คอยปฏิเสธเงินที่ตลาดให้เรา ไม่ว่าตลาดจะให้เท่าไหร่ เราจะคืนมันให้กับตลาดไปอย่างรวดเร็ว และบางครั้งก็คืนไปมากกว่าที่ตลาดให้มาเสียอีก
THINKING LIKE A TRADER
ในการเทรดนั้น ยิ่งเราคิดว่าเรารู้มากเท่าไหร่ เรายิ่งประสบความสำเร็จน้อยลง ยิ่งเราคิดว่าเรามีความรู้มาก ความคาดหวังยิ่งสูงขึ้น ยิ่งคิดว่าเรารู้มากยิ่งยากที่จะตระหนักว่าอะไรบ้างที่เรายังไม่รู้ สามขั้นตอนในการพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ
THE MECHANICAL STAGE
skill หรือทักษะนั้นเป็นเรื่องของจิตวิทยา เพราะมันคือความเชื่อ ความเชื่อของเราจะจริงแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่ามันช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้แค่ไหน กระบวนการในการพัฒนา คือ
- สังเกตุตนเอง - เราต้องรู้ตัวตลอดว่าเรากำลังคิดอะไร พูดอะไร และทำอะไร เพราะการแสดงออกเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับความเชื่อของเรา การสังเกตุตนเองนั้นต้องทำอย่างเป็นกลางที่สุด และเป็นการสังเกตุโดยปราศจากการตัดสินใดๆ นี่เป็นวิธีเดียวที่เราจะมองเห็นความผิดพลาดของตัวเราเอง และเมื่อเรามองเห็น เราต้องเปิดใจยอมรับความผิดพลาดนั้นให้ได้ การเปิดใจยอมรับความผิดพลาดนั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่า ความผิดพลาดนั้นเป็นเรื่องปกติในชีวิต มันเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างความเชื่อของเรากับความเป็นจริง ดังนั้นเราต้องปรับความเชื่อให้สัมพันธ์กับบความเป็นจริง
- Self-Discipline หรือความมีวินัย - ความมีวินัยนั้นไม่ได้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด มันเป็นสิ่งที่ฝึกฝนขึ้นมาภายหลัง มันเป็นเทคนิคในการสร้าง mental framework ขึ้นมาใหม่เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายหรือความต้องการบางอย่างในชีวิต
สร้างความเชื่อ
เราต้องเชื่อว่า "เราคือคนที่ชนะอยู่อย่างสม่ำเสมอ" หลักการสร้างความเชื่อมีดังนี้
- I objectively identify my edges - transform your self into a person who can consistently think in the market's perspective.
- I predefine the risk of every trade.
- I completely accept risk or I am willing to let go of the trade.
- I act on my edges without reservation or hesitation.
- I pay myself as the market makes money available to me.
- I continually monitor my susceptibility for making errors.
- I understand the absolute necessity of these principles of consistent success and, therefore, I never violate them.
SETTING UP THE EXERCISE
- Pick a market.
- Choose a set of market variables that define an edge.
- Time Frame.
- Trade Entry.
- Stop-Loss Exit.
- Taking Profits.
- Trading Sizes.
- Testing