Wyckoff in Depth - Part II

หลักการของ Wyckoff นั้นยืนอยู่บนกฎพื้นฐาน 3 อย่างคือ

  1. Supply and Demand: อุปสงค์และอุปทาน
  2. Cause and Effect: เหตุและผล
  3. Effort and Result: กฏแห่งกรรม กรรมคือการกระทำสะท้อนออกมาในรูปของปริมาณการซื้อขาย ส่วนผลกรรมคือราคาที่เปลี่ยนแปลงไป "The law of effort and result states that every action must have an equal and opposite reaction. The effort is represented by volume, while the result is represented by price. This means that the price action must reflect the volume action. Without effort there can be no result."

ทฤษฎีนี้ผ่านทดสอบของกาลเวลามามากว่าร้อยปีและพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ได้กับตลาดทุนแทบทุกประเภท

WYCKOFF METHODOLOGY STRUCTURES

ตลาดทางการเงินนั้นเป็นสิ่งมีชีวิต เพราะผู้คนในตลาดเป็นสิ่งมีชีวิต (และสิ่งมีชีวิตมีพฤติกรรมที่เป็นแบบแผน) ดังนั้นตลาดจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามปฏิสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด การวิเคราะห์ตลาดด้วยหลักการ วิธีการ ทฤษฎีหรือ pattern ใดเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นข้อผิดพลาดเบื้องต้นของการวิเคราะห์

Wyckoff นำเสนอหลักการวิเคราะห์ที่เรียบง่าย โดยแบ่งลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาออกเป็นสองช่วงสำคัญคือ ช่วงสะสมหุ้นหรือ Accumulation และ ช่วงกระจายหุ้นหรือ Distribution เพื่อเป็นไอเดียคร่าว ๆ ในการวิเคราะห์ตลาด จำไว้เสมอว่า มันเป็นเพียงหลักการคร่าว ๆ เท่านั้น ไม่มีตลาดไหนที่จะเป็นไปตามหลักการนี้เป๊ะ ๆ เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ตลาดนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยากคาดเดาได้

Basic Accumulation Structure #1

ระยะสะสมหุ้นจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อรายใหญ่เริ่มเก็บหุ้น หุ้นในตลาดจะเริ่มถ่ายเทจากมือรายย่อยไปสู่มือรายใหญ่

Creek เป็นเส้นตรงแนวนอนที่ที่วางไว้ ณ AR หรือ Automatic Rally เพื่อกำหนดเป็นแนวต้านราคาที่สำคัญ  
CHoCH หรือ Change of Character เป็นช่วงที่ตลาดเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นเกิดอยู่สองช่วงคือ หนึ่งในระยะ phase A คือเปลี่ยนจากเทรนขาลงมาเป็น sideway และช่วงที่สองคือในระยะ phase C คือเปลี่ยนจาก sideway เป็นเทรนขาขึ้น

Phase A ระยะสิ้นสุดของเทรนขาลง

  • PS: Preliminary Support - จุดแรกของการสัญญาณการสิ้นสุดของขาลง แต่ไม่ใช่จุดต่ำสุดของเทรนขาลง
  • SC: Selling Climax - จุดต่ำสุดของขาลง
  • AR: Automatic Rally - จุดสูงสุดของการเด้นกลับของราคาหลังจากลงไปต่ำสุด
  • ST: Secondary Test - หลังจากราคาเด้งกลับอัตโนมัติแล้วราคาจะไหลลงไปทดสอบความแข็งแรงของแนวรับ

Phase B ระยะก่อเหตุ หรือ Construction of the cause.

  • UA: Upthrust Action - เป็นการทดสอบแนวต้านที่เกิดขึ้นจาก AR หากแนวต้านนั้นแข็งแรงมันจะกดราคาให้ไหลกลับลงมาอยู่ในกรอบ (นี่ไม่ใช่แค่การทดสอบความแข็งแรงของแนวต้านเท่านั้น แต่ยังเป็นการทดสอบความแข็งแรงหากแนวต้านนั้นกลายเป็นแนวรับ)
  • ST as SOW: การทดสอบแนวรับเพื่อหาสัญญาณความอ่อนแอ โดยราคาจะทำการลองเบรคแนวรับที่เกิดขึ้นก่อนหน้าซึ่งก็คือจุดต่ำสุดที่เกิดในช่วง Selling Climax หรือ SC หากแนวรับมีความแข็งแรง มันจะดันราคาให้กลับขึ้นมาอยู่ในกรอบ แต่ถ้าหากไม่ ราคาก็จะไหลลงต่อ การฟอร์มตัวใน phase A ถือว่าล้มเหลว

Phase C ระยะทดสอบแนวรับ/ต้าน

  • Spring เป็นการทดสอบจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นใน phase A กับ phase B เพื่อเป็นการยืนยันความแข็งแกร่งของแนวรับ โดย spring นั้นแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ
  1. Test Spring การกดราคาให้หลุดแนวรับแต่ไม่ลึก เพื่อทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองของฝ่ายขาย
  2. LPS: Last Point of Support ราคาลงไปยังแถวแนวรับเท่านั้น แต่ไม่เบรคแนวรับลงไป
  3. TSO: Terminal Shakeout or Shakeout ราคาเบรคแนวรับลงไปลึกแล้วดึงกลับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว (แท่งเทียนแบบ Hammer)

Phase D ระยะขาขึ้นในกรอบราคา

  • SOS: สัญญาณความแข็งแกร่งหรือ Sign of Strength โดยขาขึ้นนั้นจะเริ่มต้นในช่วงหลังจาก phase C การทดสอบแนวต้านของกรอบราคานั้นเรียกอีกอย่างว่า JAC หรือ Jump Across the Creek
  • LPS: แนวรับสุดท้าย หรือ Last point of Support ราคาเริ่มวิ่งขึ้นไปหาแนวต้าน
  • BU: ฺBackup เป็นปฏิกิริยาสุดท้ายก่อนการเริ่มต้นของเทรนขาขึ้น เรียกอีกอย่างว่า BUEC หรือ ฺBackup to the Edge of the Creek เพราะแนวรับนั้นคือเส้น Creek ที่สร้างขี้นตั้งแต่ตอนต้นของ Sideway

Phase E เริ่มต้นเทรนขาขึ้น กราฟจะเริ่มยก high ยก low สูงขึ้นเรื่อย ๆ

Basic Accumulation Structure #2

ข้อแตกต่างของโครงสร้างแบบที่สองนี้อยู่ใน phase C โดยราคาไม่สามารถเบรคจุดต่ำสุดก่อนหน้าที่เกิดใน phase A กับ phase B ได้ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโครงสร้างแบบนี้อาจเป็นเพราะรายใหญ่ได้รับข่าวเชิงบวกบางอย่างทำให้เกิดแรงซื้อที่มากจนทำให้ราคาไม่สามารถต่ำลงไปได้อีก

จากโครงสร้างแบบที่ 1 จังหวะการเข้าซื้อที่ดีนั้นอยู่ในจุด Spring แต่ถ้ามันเป็นโครงสร้างในแบบที่ 2 นั้นการหาจุดเข้าซื้อจะยากขึ้นมาระดับหนึ่ง เพราะมันจะไม่เกิดการเขย่า หรือ Shakeout การรอซื้อตอนเกิด Spring นั้นอาจทำให้พลาดโอกาสได้ แต่การซื้อในจุด LPS นั้นก็หวาดเสียวเช่นกัน เพราะเราไม่รู้ว่ามันจะเกิด Spring หรือไม่ ดังนั้นจุดซื้อที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับโครงสร้างแบบนี้คือจุด BUEC

BASIC DISTRIBUTION STRUCTURE #1

Distribution - การบวนการในการกระจายหุ้นจากมือรายใหญ่สู่มือรายย่อย (การเปลี่ยนมือของหุ้นจากผู้มีความรู้ สู่มือของผู้มีความโลภ)

  • ICE: คือแนวรับของช่วง Distribution หรือ ReDistribution เป็นเส้นตรงที่ลากจากจุด AR ไปถึงจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นใน phase B
  • CHoCH: จุดเปลี่ยนพฤติกรรมหรือ Change of Character โดยจะเกิดขึ้นอยู่สองช่วง หนึ่งคือใน phase A ณ จุดที่ราคาเปลี่ยนจากขาขึ้นเข้าสู่ช่วง Distribution ช่วงที่สองคือ ณ จุดที่ราคาเข้าสู่จุดสูงสุดใน phase C ไปถึงจุดที่ราคาลงถึงจุดต่ำสุดของกราฟที่จุด SOW ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยน ที่จะเปลียนจาก sideway ไปสู่เทรนขาลง

Phase A จุดจบของเทรนก่อนหน้า

  • PSY: Preliminary Supply ความพยายามหยุดราคาขาขึ้นครั้งแรก (ซึ่งมักจะไม่สำเร็จและถูกเบรคขึ้นไป)
  • BC: Buying Climax, จุดยอดของราคาของเทรนขาขึ้น
  • AR: Automatic Reaction, ปฏิกิริยาสะท้อนกลับอัติโนมัติหลังกราฟทำจุดสูงสุด
  • ST Secondary Test, การทดสอบแรงซื้อแถวแนวต้านจุด High ก่อนหน้า เป็นจุดเริ่มต้นของ phase B

Phase B Construction of the cause ระยะก่อเหตุ

  • UT Upthrust, มีลักษณะเดียวกับ UA ในช่วง Accumulation ราคาจะเบรคแนวต้านออกไปเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนถูกตบกลับมาอยู่ในกรอบ เป็นการทดสอบแนวต้านที่เกิดขึ้นจาก BC ก่อนหน้า
  • mSOW Minor Sign of Weakness, เป็นเหตุการณ์เช่นเดียวกับ ST ในช่วง Accumulation ราคาจะเบรคแนวรับลงไปเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะมีแรงซื้อดันกลับเข้ามาในกรอบ เป็นการทดสอบแนวรับที่เกิดขึ้นจาก AR ก่อนหน้า

Phase C Test, ช่วงทดสอบแนวต้าน

  • UTAD: Upthrust After Distribution เป็นการทดสอบโดยเบรคแนวต้านที่เกิดขึ้นใน phase A และ phase B ขึ้นไปเพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนองของตลาด
  • ST หลังจากที่ทำ UTAD แล้วถูกแรงขายกดราคาลงมาอยู่ในกรอบแล้ว จะมีการวิ่งขี้นไปทดสอบแรงขาย ณ จุดแนวต้านอีกครั้งเพื่อเป็นการยืนยันว่าแรงขายยังมีอยู่

Phase D ขาลงในกรอบราคาหรือ Trend Within Range

  • MSOW: สัญญาณความอ่อนแอหลัก หรือ Major Sign of weakness, เป็นการเคลื่อนไหวของราคาในเทรนขาลง โดยเริ่มต้นจากสูงสุดใน phase C โดยราคาจะวิ่งไป ณ จุดต่ำสุดของกรอบราคาแล้วเบรคแนวรับลงไป ทำให้เกิดสัญญาณ CHoCH
  • LPSY แนวรับสุดท้าย หรือ Last Point of Supply ราคาเด้งกลับไปทดสอบแนวต้าน ICE หลังจากเบรคมันลงมา

Phase E หลังจากทำการทดสอบแนวต้าน LPSY (ICE ซึ่งเป็นแนวรับเดิม) แล้วไม่สามารถกลับเข้าไปในกรอบราคาได้ เป็นสัญญาณการเข้าสู่เทรนขาลงเต็มตัวโดยราคาจะทำ Lower Highs และ Lower Lows ต่ำลงไปเรื่อย ๆ

BASIC DISTRIBUTION STRUCTURE #2

ข้อแตกต่างของโครงสร้างทั้งสองรูปแบบนั้นอยู่ใน phase C, UTAD นั้นเป็นจุดเทรดที่ดีที่สุด แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางครั้งมันมีปัจจัยลบบางอย่างทำให้รายใหญ่เทขายหุ้นออกมาหนาแน่นกว่าปกติ กดราคาไม่ให้สูงขึ้นไปได้อีก การเข้าเทรดในจุด LPSY นั้นมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะเราไม่รู้ว่ามันจะเกิดการ Shakeout หรือไม่ ดังนั้นจุดเทรดที่ปลอดภัยที่สุดจึงไปตกอยู่ที่จุด LPSY หลัง SOW