Wyckoff in Depth - Part VII

การตัดสินใจเข้าสู่ตลาดนั้นยืนอยู่บนพื้นฐานหลักสามประการคือ

The Context

Context หรือบริบทของตลาดนั้นแปรผันโดยตรงกับกรอบเวลาหรือ Timeframe โครงสร้างของกราฟราคานั้น ถึงแม้จะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ก็แตกต่างกันตามกรอบเวลาที่ใช้และโครงสร้างราคาในแต่ละกรอบเวลานั้นก็มีความสำคัญแตกต่างกัน โดยเรียงลำดับความสำคัญตามขนาดของกรอบเวลา กรอบเวลาที่ใหญ่ที่สุดมีความสำคัญที่สุด เป็นโครงสร้างหลักที่ใช้ในการตัดสินใจเทรด  โดยการเทรดนั้นจะต้องยึดตามทิศทางของราคาในกรอบที่ใหญ่ที่สุดเป็นหลัก

ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราใช้ 3 Timeframe ในการเทรดคือ Day, 1H และ 5m, หากโครงสร้างราคาใน Timeframe Day เป็นเทรนขาลง เราจะไม่เปิด Position Long หรือซื้อหุ้น เด็ดขาด ในทางตรงกันข้ามหากเป็นเทรนขาขึ้นเราจะไม่เปิด Position Short เด็ดขาด

สิ่งสำคัญไม่ใช่การเช้าเทรดได้ถูกฝั่ง แต่คือการไม่ไปยืนผิดฝั่ง ถึงแม้จะไม่ได้กำไร แต่ต้องไม่ขาดทุนเด็ดขาด

The Structures

โครงสร้างราคานั้นเป็นเป็นแกนหลักสำหรับการวิเคราะห์ตลาดของ Wyckoff เพื่อหาว่าใครเป็นคนคุมตลาดอยู่ เทรดเดอร์หลายคนมองข้ามแนวคิดและวิธีวิเคราะห์แบบ Wyckoff เพราะคิดว่ามันล้าหลัง จริงอยู่ที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอาจทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต แต่สำหรับตลาดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ Demand และ Supply ปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายก่อเกิดเป็นโครงสร้างราคา และโครงสร้างราคาในแต่ละแบบก็เกิดขึ้นซ้ำ ๆ วนไป โครงสร้างราคานั้นเกิดขึ้นและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงที่เกิดขึ้น การเคลื่อนไหวราคาหุ้นนั้นจำเป็นต้องมีช่วงที่ต้องกักตุนและช่วงที่กระจายมันออกไป เปรียบดังเช่นหัวใจที่คอยสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย

วิธีการวิเคราะห์ตลาดในแต่ละช่วงนั้นเป็นการวิเคราะห์จากร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Demand และ Supply โดยใช้ปริมาณการซื้อขายและราคาในการจำแนกแยกแยะว่าตลาดอยู่ในสภาวะไหน สมดุลหรือเสียสมดุล หากจะเทียบให้เห็นภาพ การวิเคราะห์แบบ Wyckoff นั้นเสมือนการวิเคราะห์สนามรบของสงครามระหว่างฝ่ายซื้อกับฝ่ายขาย โดยใช้จำนวนศพทหารกับดินแดนทั้งสองฝ่ายเป็นตัวชี้วัดว่าฝ่ายใหนกำลังได้เปรียบ และคาดเดาว่าเมื่อใหร่จะถึงจุดเผด็จศึก

Trading Areas

การเทรดของรายใหญ่แต่ละครั้งนั้นตลาดจำเป็นต้องมีสภาพคล่องเพียงพอ แต่สภาพคล่องในตลาดนั้นไม่ได้คงที่อยู่ตลอดเวลา รายใหญ่จึงจำเป็นต้องสร้างสถานการณ์เพื่อดึงดูดให้เทรดเดอร์คนอื่นเข้าสู่ตลาดเพื่อให้ตลาดเกิดสภาพคล่อง เช่นการเขย่าราคาให้คนกลัวแล้วขายหุ้นออกมาเป็นต้น

โซนซื้อขายเป็นช่วงราคาที่ดึงดูดให้เทรดเดอร์ทำการซื้อขาย เป็นช่วงที่ตลาดมีสภาพคล่องสูง จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่จะเข้าเทรด

PRIMARY POSITIONS

หลักการวิเคราะห์กราฟราคาแบบ Wyckoff นั้นมีจุดเข้าเทรดหลักๆ ดังนี้

  • Phase C, ช่วงที่มีโอกาศเกิดการเขย่าราคาหรือ Shock
  • Phase D, ช่วงที่ราคาวิ่งเป็นเทรนอยู่ในกรอบ TR
  • Phase E, ช่วงที่ราคาทำการทดสอบเทรน หรือแนวรับ

Phase C

ช่วงเวลานี้เป็นจังหวะเทรดที่ให้อัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงหรือ Risk/Reward ที่ดีที่สุด โอกาสที่จะได้คำใหญ่จากการกลับตัวของราคาเป็นเทรนมีสูง แต่ปัญหาคือ ความแม่นยำในการเข้าเทรด อันเนื่องมาจากระยะเวลาใน Phase นี้สั้นกว่าสอง Phase ก่อนหน้า

เมื่อเหตุการณ์เขย่าเม่า หรือ Shake เกิดขึ้น สิ่งที่ควรทำไม่ใช่การเข้าเทรดทันที แต่คือการเฝ้าสังเกตุปริมาณการซื้อขายหลักจากที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ จุดเข้าที่มีโอกาสชนะมากที่สุดนั้นอยู่ในช่วงที่ราคามาทดสอบการเขย่า สิ่งสำคัญคือการทดสอบนั้นต้องไม่หลุดลงไปสร้างจุดต่ำสุดใหม่

Phase D

หลังจากที่เกิดการเขย่าและทดสอบแล้ว เราควรจะต้องเห็นสัญญาณที่บ่งชี้ให้เห็นการกลับตัวของราคา โดยในช่วงนี้จะมีจุดเข้าเทรดดังนี้

  • เข้าเทรดเมื่อเกิดแท่งเทียนสำคัญ เช่นแท่งเทียน SOS และ SOW ซึ่งเป็นบ่งบอกถึงจุดที่รายใหญ่เข้าเล่น หรือ Bullish candle stick pattern อื่น ๆ
  • Minor Structure หรือโครงสร้างราคาในกรอบ timeframe ที่เล็กกว่า เช่นถ้าเพิ่งเกิด Spring + Test เราจะย่อ timeframe ให้เล็กลงแล้วมองหาโครงสร้างราคาแบบ ReAccumulation เพื่อหาจังหวะเข้าซื้อ หรือตัวอย่างในขาลง ถ้าเราเจอ Upthrust + Test เราสามารถย่อ timeframe ให้เล็กลงแล้วมองหาโครงสร้างราคาแบบ ReDistribution เพื่อหาจังหวะเข้าเทรด
  • Minor Shake หรือ Last Point of Support/Supply หรือ LPS/LPSY คือช่วงจังหวะย่อตัวในขาขึ้น
  • The Break Test เป็นจุดเข้าเทรดที่ Wyckoff ชอบเพราะทุกอย่างได้ถูกเฉลยออกมาแล้ว ขนาดของ Risk/Reward ณ จุดนี้อาจจะไม่ดีเท่าช่วง shake แต่มีความปลอดภัยกว่า

Phase E

หลังจากที่เราคาทำการเบรคกรอบ TR และ Pullback กลับไปทดสอบแนวรับเป็นที่เรียบร้อย ราคาอยู่ในช่วงเทรนขาขึ้นเต็มตัว การเข้าซื้อหรือเปิด position buy ในช่วงนี้นั้นปลอดภัยที่สุด แต่จังหวะในการเข้าเทรดนั้นน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า

ส่วนจุดเข้าเทรดนั้นก็เหมือนกับ Phase D จังหวะการเทรดในแต่ละช่วงที่กล่าวมา สามารถสรุปออกมาเป็นตารางให้ดูเข้าใจง่ายได้ ดังนี้

DECISION MAKING

สิ่งที่เราเรียนรู้มาทั้งหมดทั้งมวลนั้นมีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือ เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาประกอบการตัดสินใจ การเข้าเทรดนั้นมีอยู่หลายท่า โดยท่าหลัก ๆ มีดังนี้

The Significant Bar

ในระยะสั้นนั้นยากที่จะคาดเดาการกลับตัวของราคาล่วงหน้า วิธีที่ดีที่สุดคือดูจากผลของการเทรดที่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงอยู่ในรูปของแท่งเทียน เช่น SOS หรือ SOW ซึ่งแท่งเทียนลักษณะนี้ชี้ให้เห็นถึงการเข้าสู่ตลาดของรายใหญ่ คุณลักษณะที่สำคัญของแท่งเทียนเหล่านี้ นอกจากช่วงราคาที่กว้างแล้ว (แท่งเทียนยาว) ยังต้องประกอบด้วย

  1. ปริมาณการซื้อขายที่สอดคล้องกับขนาดของแท่งเทียน
  2. ราคาปิดอยู่ในทิศทางเดียวกับเทรนปัจจุบัน

ราคาเปิด (เสริม)

  1. สำหรับเทรนขาขึ้น ราคาเปิดควรอยู่สูงกว่า Open/Low ของแท่งเทียนก่อนหน้า
  2. สำหร้บเทรนขาลง ราคาเปิดควรอยู่ต่ำกว่า Close/High ของแท่งเทียนก่อนหน้า

Reversal of Movement

เป้าหมายหลักคือการค้นหาจุดที่มีความเป็นไปได้ที่ราคาจะกลับตัวจากกราฟราคาปัจจุบัน อย่างแรกคือต้องหาแท่งเทียนที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าใครคือคนที่กำลังคุมตลาดอยู่ เพราะราคามีโอกาสที่จะไปในทิศทางเดียวกับฝ่ายนั้นมากกว่า

ถ้ากราฟอยู่ในช่วงเทรนขาขึ้น และราคาอยู่เหนือแท่งเทียนที่สำคัญเช่น SOS สามารถอนุมานได้ว่าฝ่ายซื้อคุมตลาดอยู่ แต่ถ้ากราฟอยู่ในช่วงขาลงและราคาอยู่ต่ำกว่าแท่งเทียน SOW อนุมานได้ว่าฝ่ายขายกำลังคุมเกมส์อยู่ เมื่อไหร่ก็ตามที่ราคาหลุดจุดต่ำสุดของแท่งเทียนเหล่านี้ สามารถอนุมานได้ว่าตลาดเกิดการเปลี่ยนมือ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงเทรนขาขึ้น หากราคาตกลงมาต่ำกว่าแท่งเทียน SOS ล่าสุด อนุมานว่าตลาดเกิดการเปลี่ยนมือแล้ว หรือในช่วงขาลง ราคาเพิ่มสูงขี้นมากกว่าแท่ง SOW อนุมานได้ว่าฝ่ายซื้อเข้าคุมตลาดแล้ว วัตถุประสงค์หลักคือเราต้องการรู้ว่าเมื่อใหร่ที่ตลาดเกิดการเปลี่ยนมือ
NOTE: ตามตำราแท่งเทียน คือ Engulfing แต่สิ่งที่แตกต่างคือ Engulfing ดูสองแท่งเทียนล่าสุดเท่านั้น

Position Management

การเข้าสู่การตลาดนั้นจำเป็นต้องมีจุดอยู่สามจุด คือ จุดเข้า, stop loss, take profit ก่อนเสมอ สามจุดนี้ต้องถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ตลาด หากสามารถวิเคราะห์ตลาดได้ สามจุดนี้ควรถูกกำหนดได้ตั้งแต่ขั้นตอนนี้แล้ว

Stop Loss

เป็นจุดที่ถ้าหากราคามันไปถึง แสดงว่าผลการวิเคราะห์ก่อนเข้าเทรดนั้นไม่ถูกต้อง โดยปกติแล้วจุดนี้จะอยู่ตรงข้ามกับทิศทางปัจจุบันของแท่งเทียน SOS/SOW และที่สำคัญคืออยู่ตรงข้ามกับทิศที่ที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตอันไกล้

ในช่วงที่เกิดการเขย่าราคาแบบ Spring จุด Stop loss จะอยู่ต่ำกว่าจุดต่ำสุด และหากเป็นการเขย่าแบบ Upthrust จุดนี้จะอยู่สูงกว่าจุดสูงสุด

Stop loss สำหรับการเข้าเทรดช่วงทดสอบแนวรับ/ต้าน หลังจากเกิดการเขย่าราคานั้นมีอยู่สองจุดคือ จุดที่หนึ่งคืออยู่ต่ำกว่าแท่ง SOS/SOW จุดที่สองคือจุดต่ำสุด/สูงสุด ที่เกิดในช่วงเขย่าราคา

อีกวิธีหนึ่งในการกำหนดจุด Stop Loss คือการใช้ Timeframe ที่เล็กลงไป หรือที่เรียกว่า Minor Structures โดยจุด Stop Loss นั้นจะวางอยู่ในจุดที่ต่ำ/สูงกว่าจุดเขย่าในโครงสร้างย่อย

สำหรับการเทรดในช่วง Breakout นั้น จุด Stop Loss ควรอยู่ต่ำกว่าแนวรับ (แนวต้านเดิมที่เพิ่งเบรคออกมา) สำหรับตลาดขาลงควรสูงว่าแนวต้าน (แนวรับเดิมที่เพิ่งเบรคลงมา)


Wyckoff 2.0 - Stay tuned!

To be continued…
Photo by Reuben Juarez / Unsplash