Secrets of the Millionaire Mind

พูดถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวย คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่มีความต้องการเหล่านี้ แต่จะมีสักกี่คนที่ประสบความสำเร็จในสิ่งเหล่านี้จริง ๆ หากคิดกันคร่าว ๆ ตามทฤษฎี Pareto แล้วจำนวนประชากรเพียง 20% เท่านั้นที่มีความมั่งคั่ง ร่ำรวย ในขณะที่อีก 80% คือคนชั้นกลางและคนจน แต่หากมองให้ละเอียดลงไปอีก อัตราส่วนผู้ที่มั่งคั่งร่ำรวยอย่างแท้จริงจะลดลงไปอยู่ในหลักหน่วย ด้วยตัวเลขที่แตกต่างกันอย่างเป็นอย่างมากทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า คนที่ร่ำรวยเหล่านั้น แตกต่างจากคนชั้นกลางและคนจนอย่างไร? ทำไมถึงมีคนเพียงน้อยนิด ที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้?

ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างคนรวยกับคนชั้นกลางและคนจน คือ Mindset หรือความคิด สิ่งนี้เป็นตัวตัดสินว่าใครจะอยู่ฝั่งไหนระหว่างความร่ำรวยกับความยากจน ประการแรกที่เราต้องทำความเข้าใจ คือกระบวนการในการได้มาซึ่งผลลัพธ์ หรือผลกรรมซึ่งมีสูตรดังนี้

T->F->A=R : Thoughts lead to Feelings, Feelings lead to Actions, Actions lead to Result

ความคิดนำไปสู่ความรู้สึก ความรู้สึกนำไปสู่การกระทำ และการกระทำไปสู่ผลลัพธ์ จะเห็นได้ว่าความคิด คือ จุดเริ่มต้นของกระบวนการทั้งหมด ดังนั้นผลลัพธ์หรือจะพูดให้ถูกคือผลกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา ล้วนเริ่มต้นมาจากความคิดของเราเองทั้งนั้น หากว่าผลลัพธ์ในปัจจุบันของเราคือความขัดสน ยากจน สิ่งแรกที่เราต้องแก้ไขคือความคิดของเรา เราไม่สามารถแก้ไขผลลัพธ์ได้ดังเช่นที่เราไม่สามารถแก้ไขผลไม้ให้หอมหวานได้โดยปราศจากการให้ปุ๋ยบำรุงราก ในเรื่อง The Roots Create the Fruits ถ้าเราพยายามแก้ไขที่ผลลัพธ์ต่อให้ทำได้สำเร็จก็เป็นแค่เพียงชั่วคราว จากการเก็บสถิติของคนที่ถูกลอตเตอรรี่รางวัลใหญ่ ๆ มีเพียง 1% เท่านั้นที่สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ อีก 99% จะกลับมาอยู่ในสถานะเดิมภายใน 3-5 ปี แสดงให้เห็นว่าหากไม่พัฒนาความคิดต่อให้มีทรัพย์สินเงินทองเท่าไหร่ก็จะหมดไป

เมื่อรู้ต้นกำเนิดของผลลัพธ์ในชีวิตเราแล้ว คำถามถัดมาคือ แล้วความคิดมาจากไหน? ความคิดเกิดมาจากจิตใต้สำนึก จิตใต้สำนึกก่อร่างสร้างตัวมาจากประสบการณ์ในชีวิต สังคม การเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ในเรื่องเดียวกัน ความคิดเห็นของแต่ละคนแตกต่างกันไป คนรวยก็มีวิธีคิดแบบคนรวย และแน่นอนว่าคนจน ย่อมมีวิธีคิดแบบคนจน เพราะคนทั้งสองกลุ่มเกิดและเติบโตในสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูสั่งสอนที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากเราอยากรวย ก็ต้องคิดแบบคนรวย แต่การจะปรับเปลี่ยนแนวความคิดไม่สามารถสำเร็จได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ต้องอาศัยความมีวินัยและอดทนในการฝึกฝน อย่างเข้มงวด

คำถามถัดมาคือ คนรวยเขาคิดกันยังไง? แน่นอนว่าเราจะคิดแบบคนรวย อย่างแรกคือเราต้องรู้ก่อนว่าคนที่ร่ำรวย มั่งคั่งเขาคิดยังไงก่อน แต่ก่อนที่เราจะไปถึงจุดนั้นอย่างแรกที่เราต้องทำคือปรับพื้นฐานของเราที่มีต่อเงินทองหรือความมั่งคั่งร่ำรวยก่อน ทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อความมั่งคั่งหรือเงินทอง เพราะว่าความเข้าใจและทัศนคติจะส่งผลต่อจิตใต้สำนึกโดยตรง ก่อให้เกิดอิทธิพลทางความคิด ซึ่งประกอบด้วยสามหัวข้อดังนี้

Verbal Programming : สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เด็ก เช่น เงินคือต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย คนรวยคือพวกโลภมาก พวกเศรษฐีล้วนแล้วแต่มือสกปรก จงทำงานหนักเพื่อให้ได้เงิน เงินซื้อความสุขไม่ได้ เรามันจน เราไม่มีวันรวยอย่างเขา เราไม่มีบุญ และอีกมากมายที่ส่งผลเชิงลบต่อทัศนคติด้านการเงินของเรา คนส่วนใหญ่ล้วนถูกปลูกฝังให้เป็นคนดี เราถูกสั่งสอนให้เป็นคนดีนับตั้งแต่เราจำความได้ ดังนั้นความมุ่งมั่นที่จะเป็นคนดีจึงถูกฝังสู่จิตใต้สำนึกของเรา แต่สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับเศรษฐี ผู้มั่งคั่งมั่งมี หรือเกี่ยวกับเงินทอง ล้วนแต่อยู่ตรงข้ามกับความดีทั้งสิ้น เช่นเรามักได้ยินว่า พวกคนรวยคือคนชั่ว จิตใต้สำนึกของเราจะบอกเราว่าถ้าอยากเป็นคนดี เราต้องไม่เป็นคนรวย เมื่อจิตใต้สำนึกบอกเช่นนั้นย่อมส่งผลต่อ ความคิด->ความรู้สึก ->การการกระทำ->ผลลัพธ์ ความร่ำรวยมั่งคั่งกลายเป็นเรื่องต้องห้ามที่จิตใต้สำนึกคอยย้ำเตือนบอกอยู่ตลอดเวลา ผลก็คือต่อให้เรามีรายได้มากแค่ไหน ท้ายที่สุดจะมีเหตุให้จับจ่ายมันออกไปจนแทบจะไม่เหลือเก็บ หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ ต้องทำงานถึงจะได้เงิน คนที่มีความเชื่อและทัศนคติแบบนี้ มักจะทำงานอย่างหนักแต่มีรายได้ไม่พอใช้จ่าย แต่ในความเป็นจริงผู้ที่ร่ำรวยมั่งคั่งเขาไม่ได้ต้องทำงานหนักแต่ทำไมเงินทองเขาถึงเพิ่มพูนขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ถ้าทำงานหนักแล้วร่ำรวย พวกเศรษฐีจะเป็นพวกที่จนที่สุดเพราะพวกนี้ทำงานน้อยที่สุด แต่ในโลกของความเป็นจริงมันกลับตาลปัตรกัน องค์ประกอบสี่อย่างที่เราต้องแก้ไขคือ  

  1. Awareness: ความตระหนักรู้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามที่เราไม่รู้ว่ามันมีอยู่จริง เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงจิตใต้สำนึกได้หากเราไม่รู้หรือไม่เชื่อว่ามันมีอยู่จริง
  2. Understanding : การจะเปลี่ยนแปลงความคิด เราต้องเข้าใจที่มาของกระบวนการในการคิดเสียก่อน ต้องหาต้นเหตุแห่งความคิดนั้น ๆ เสียก่อน และต้นเหตุเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยจากภายนอก เช่นประสบการณ์ การรับรู้ ต่าง ๆ ในวัยเด็ก
  3. DisAssociation : ลด ละ เลิก เมื่อรับรู้ว่า กระบวนการในการคิดไม่ถูกต้อง เราสามารถเลือกที่จะแก้ไขปรับปรุงมันให้ถูกต้อง หรือเปลี่ยนวิธีคิดเสียใหม่ สิ่งที่เราคิดมีพื้นฐานมาจากสิ่งที่เรารับรู้ ข้อมูลที่เรามีอยู่ในหัว หากสิ่งที่เรารับรู้มา ข้อมูลที่เรามีไม่ถูกต้องย่อมส่งผลให้สิ่งที่เราคิดมันผิด
  4. ReConditioning: ปรับปรุงซ่อมแซมข้อมูลที่เรามีอยู่ให้ถูกต้อง อะไรที่ได้ยินได้ฟังมาผิด ๆ ก็ค้นหาคำตอบที่มันถูก ความเชื่อต่าง ๆ ก็ต้องหาข้อพิสูจน์ให้แน่ชัด

Modeling: สิ่งที่คุณเห็นมาตั้งแต่เด็ก สถานะทางการเงินของครอบครัวหรือผู้ปกครองเป็นเช่นไร? พวกเขาบริหารจัดการเงินที่ได้มาดีหรือไม่? พวกเขาจับจ่ายใช้สอยมันออกไปหมดหรือเก็บออมสะสมไว้? พวกเขารู้จักคิดอ่านวางแผนในการลงทุนหรือไม่? พวกเขาเป็นพวกที่ชอบแบกรับความเสี่ยงหรือเปล่า? พวกเขามีรายได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่? เงินทำให้มีความสุขหรือเป็นสาเหตุแห่งการทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว?

ข้อมูลพวกนี้สำคัญอย่างไร? เราทุกคนเคยได้ยินสำนวนที่ว่า ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น บ่อยครั้งที่เราจะเห็นว่าเราทำบางสิ่งบางอย่างตามกันมาจากรุ่นต่อรุ่นโดยไม่รู้สาเหตุว่า เหตุใดต้องทำเช่นนั้น เราทำเช่นนั้นเพียงเพราะเราเห็นพ่อกระทำเช่นนั้น พ่อเราทำเช่นนั้นเพราะเห็นว่าปู่ทำเช่นนั้น ทำตามกันมาจนกลายเป็นความเชื่อโดยปราศจากการหาเหตุผลมารองรับ เรื่องเล่าที่เห็นชัดเจนที่สุดคือเรื่องการตัดหัวและท้ายของแฮมก่อนนำไปทำอาหาร เรื่องเล่ามีอยู่ว่า ทุกครั้งที่ภรรยานำแฮมมาทำอาหารมักจะตัดหัว ตัดท้ายออก ทำให้สามีสงสัยเป็นอย่างมาก วันหนึ่งเขาจึงถามภรรยาว่าทำไมต้องตัดหัวท้าย ภรรยาตอบว่าไม่รู้ แต่เห็นแม่ตัดทุกครั้งก่อนนำไปทำอาหาร บังเอิญวันนั้นแม่มาเยี่ยม เขาเลยถามแม่ว่าทำไมต้องทำเช่นนี้ แม่ตอบว่าไม่ทราบเช่นกันเห็นยายทำเช่นนี้มาแต่เด็ก ทั้งหมดเลยพร้อมใจกันโทรหาคุณยายเพื่อถามว่าทำไมต้องตัดหัวท้ายแฮมก่อนนำไปทำอาหาร คุณยายตอบว่า ก็เพราะตอนนั้นกะทะของยายมันเล็ก ไม่ตัดมาก็ยาวยื่นออกนอกกะทะทำให้ทอดไม่สุก

เรื่องเงินก็เช่นกัน สถานะทางการเงินของครอบครัวในวัยเด็กเราเป็นเช่นไร เรามีแนวโน้มที่จะลอกเลียนแบบแผนทางการเงินเหล่านั้นมาโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่ก็ไม่ทุกคนที่จะเป็นแบบนี้เสมอไป บางคนกลับลายเป็นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง บางคนครอบครัวร่ำรวยมั่งคั่งแต่พอถึงรุ่นลูกกับยากจนลงอย่างรวดเร็วเพราะเขาเห็นแต่เพียงด้านการใช้จ่ายเงินแต่เขาไม่ได้เรียนรู้ด้านการหาเงิน แต่ในขณะเดียวกันบางคนที่มาจากครอบครัวยากจนกลับร่ำรวยขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จะได้รับแรงกระตุ้นจากความโกรธแค้นในความยากลำบากในขณะที่ครอบครัวขัดสน คนเหล่านี้ถึงแม้จะร่ำรวยแต่ก็จะไม่มีความสุข พวกเขาจะระบายความโกรธในวันเด็กผ่านการใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย และพยายามหาเงินอย่างบ้าคลั่ง และไม่เลือกวิธีจนกลายเป็นรูปแบบของเศรษฐีหน้าเลือด หรือแม้กระทั่งพัฒนาไปในทางผิดกฎหมาย ทำไมถึงกลายเป็นแบบนี้ นั่นเพราะว่าต้นเหตุของปัญหาไม่ใช่เงิน แต่คือความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความผิดหวัง ความรู้สึกเหล่านี้ไม่อาจแก้ได้ด้วยเงิน ดังนั้นหากอยากจะร่ำรวยมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ต้องแก้ปัญหาพวกนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ปัญหาเหล่านี้อยู่ในจิตใจเรา มีแต่เราเท่านั้นที่จะแก้ไขมันได้

Specific Incidents: ประสบการณ์ในวัยเด็กของเราที่เกี่ยวข้องกับเงินตรา ความมั่งคั่ง ความร่ำรวย และเศรษฐี ประสบการณ์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะมันจะกลั่นกรองออกมาเป็นความเชื่อและทัศนคติที่มีต่อเรื่องเหล่านี้ของเรา และแน่นอนว่าเมื่อมันเป็นความเชื่อและทัศนคติที่ฝั่งลึกลงไปในจิตใต้สำนึก ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความคิดของเรา และความคิดก็นำไปสู่ความรู้สึก การกระทำ และผลลัพธ์เป็นลำดับ ยกตัวอย่างเช่นเด็กหญิงไปขอเงินแม่ แม่มักจะบอกว่าแม่ไม่มีให้หรอก อยากได้ไปขอพ่อโน้น และแน่นอนว่าเด็กหญิงจะได้เงินจากพ่อเสมอ ทำให้เธอเชื่อว่าผู้ชายเท่านั้นที่มีเงิน ดังนั้นพอเติบโตแต่งงานออกไป ผู้หญิงคนนี้เชื่อว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องมีเงินเพราะทุกอย่างสามีจะจัดการให้หมด ดังนั้นสามีให้เงินไว้เท่าไหร่หญิงสาวคนนี้จะใช้จ่ายมันออกไปทุกบาททุกสตางค์โดยไม่เหลือเก็บ นี่คือตัวอย่างของประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความเชื่อ และแสดงออกมาในรูปแบบการกระทำ


The Wealth Files

สิบเจ็ดวิธีคิดที่แตกต่างกันระหว่างคนรวยกับคนชั้นกลางและคนจน


Wealth File 1: Rich people believe "I create my life". Poor people believe "Life happens to me". หากคิดที่สร้างมั่งคั่งร่ำรวย อย่างแรกคือต้องเชื่อก่อนว่าเราเป็นผู้ที่ควบคุมชีวิตของเราเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเงิน

เชื่อหรือไม่ว่า มีเพียงคนจนเท่านั้นที่ใช้โชคลาภทั้งหมดที่มีไปกับการซื้อลอตเตอรรี่ เพราะเขาเหล่านั้นเชื่ออย่างจริงจังว่า ความมั่งคั่งร่ำรวยเกิดจากการหยิบยื่นให้ของใครบางคนหรือมือที่มองไม่เห็น เขาเหล่านั้นถึงกับหยุดการงานทุกวันที่ 1 กับ 16 ของเดือน วัตถุประสงค์เพียงเพื่อไปนั่งอยู่หน้าโทรทัศน์ลุ้นหวย และคาดหวังว่าหนึ่งในผู้โชคดีจะเป็นเขา ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่ได้อยากได้โชคลาภแบบนี้แม้กระทั่งคนที่ร่ำรวยก็ไม่มีข้อยกเว้น ข้อแตกต่างคือคนรวยเขาเล่นเพียงแค่สนุกสนาน ตื่นเต้น เขาไม่ได้ใช้จ่ายรายได้ครึ่งหนึ่งที่หามาได้ไปกับการซื้อลอตเตอรรี่เหมือนที่คนจนเขาทำกัน ประการถัดมาคือเหล่าคนร่ำรวยเขารู้แล้วว่า การซื้อลอตเตอรรี่ไม่ใช่กลยุทธ์ที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยได้อย่างยั่งยืน กลยุทธ์อย่างเดียวที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยคือ ต้องเชื่อมั่นในตัวเรา ศักยภาพของเรา เชื่อว่าเราคือผู้ควบคุมทุกอย่างในชีวิตของเรา เพราะสิ่งเหล่านี้คือเรื่องจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้

แทนที่จะรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต, คนจนเลือกที่จะเล่นในบทบาทของการเป็นเหยื่อหรือผู้ประสบชะตากรรมอันน่าสงสาร ที่บอกว่าเขาเล่นในบทบาทของการเป็นเหยื่อแต่ไม่ได้หมายความว่าเขาเหล่านั้นเป็นเหยื่อจริง เขาเพียงแต่เล่นบทบาทนี้เพื่อให้ผู้คนเกิดความสงสารและหยิบยื่นบางสิ่งที่เขาต้องการให้ก็เท่านั้น แล้วอะไรคือลักษณะที่สำคัญของคนที่ชอบเล่นในบทบาทของเหยื่อผู้น่าสงสาร?

Victim Clue 1: Blame โทษคนอื่นเก่ง คนเหล่านี้ไม่เคยทำอะไรผิดในชีวิตของเขา ทุกความผิดที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากคนอื่น รวมไปถึงเรื่องความมั่งคั่งด้วย ถามว่าทำไมถึงจน? คนเหล่านี้จะชี้นิ้วออกไปทันที โทษว่าเพราะพ่อแม่จนบ้าง โทษว่าขาดโอกาสบ้าง โทษว่าเพราะเศรษฐกิจไม่ดีบ้าง โทษทุกอย่างที่โทษได้ แม้กระทั่งพระเจ้าหรือโชคชะตา แต่คนเหล่านี้ไม่เคยโทษตัวเอง เขาจะบอกว่าตนเองเป็นเหยื่อที่ถูกกระทำเสมอ

Victim Clue 2: Justifying แก้ตัวเก่ง ถ้าไม่เล่นบทโทษคนอื่น ก็มักจะหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง เช่น เงินไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิตฉัน หรือเงินมันไม่สำคัญสำหรับฉันขนาดนั้นหรอก เหตุผลเดียวกันถ้าคุณลองบอกแฟนคุณ ภรรยา หรือสามีคุณว่าเขาเหล่านั้นไม่ได้มีความสำคัญต่อคุณหรอก คุณคิดว่าเขาเหล่านั้นจะยังอยู่เคียงข้างคุณอยู่หรือไม่ คนรวยเขารู้ว่าเงินมีความสำคัญอย่างยิ่งในบทบาทของมัน แต่คนจนมักจะเอาเงินไปเปรียบเทียบกับอย่างอื่นที่มีบทบาทแตกต่างกันออกไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่อาจจะเทียบกันได้ เช่น เงินไม่สำคัญเท่ากับความรักหรอก การเปรียบเทียบแบบนี้เหมือนเราบอกว่า แขนไม่สำคัญเท่าขาหรอก แต่ไม่มองว่าแขนกับขามันมีบทบาทที่แตกต่างกัน เงินกับความรักมันก็มีบทบาทของมันเอง ดังนั้น เงินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในบทบาทของมัน และไม่มีความสำคัญเลยในบทบาทที่ไม่ใช่บทบาทของมัน ความรักอาจจะทำให้โลกทั้งใบสดใส แต่เราเอามันไปจ่ายเป็นค่าอาหารไม่ได้ เอามันไปจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลก็ไม่ได้ เอามันไปจ่ายค่ารถเมล์ก็ไม่ได้ เพราะทุกอย่างมันต้องใช้เงิน ถ้ามีใครบอกคุณว่าเงินไม่สำคัญให้เดาได้เลยว่าคนที่พูดคำนี้กำลังถังแตก ให้ระวังประโยคหลังจากนั้นให้ดี

Victim Clue 3: Complaining บ่นเก่ง การบ่นเป็นเรื่องที่แย่ที่สุดไม่ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องใดก็ตาม เหตุผลก็เพราะว่าในขณะที่เราบ่นสิ่งที่เราโฟกัสคือเรื่องแย่ ๆ ทั้งนั้น สังเกตง่าย ๆ เราบ่นเรื่องไหนเรามักจะเจอกับเรื่องนั้น ยิ่งบ่นบ่อยแค่ไหนยิ่งเจอบ่อยแค่นั้น นั่นเพราะจิตใจเราเสพติดการบ่น เราเลยคอยสอดส่องมองหาแต่เรื่องแย่ ๆ เพื่อที่จะบ่น และคนเหล่านี้ก็จะบอกว่าชีวิตเขาเจอแต่เรื่องแย่ ๆ

โทษคนอื่น แก้ตัว ขี้บ่น สามสิ่งนี้เป็นเหมือนยาเม็ดสำหรับบรรเทาความเครียดอันเกิดมาจากความล้มเหลวในเรื่องเหล่านั้นเท่านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในโลกนี้ไม่มีเหยื่อที่ร่ำรวยมั่งคั่ง รางวัลของเหยื่อผู้ประสบเคราะห์กรรมลำบากมีเพียงอย่างเดียวคือ ความสงสาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน

ดังนั้นอยากเป็นผู้ที่มั่งคั่งร่ำรวยต้องไม่ประพฤติเช่นเดียวกับเหยื่อผู้น่าสงสาร ทุกครั้งที่กำลังจะบ่น แก้ตัว หรือโทษคนอื่น ต้องตระหนักรู้ว่านั่นไม่ใช่บทบาทที่ผู้ที่ร่ำรวยหรือมั่งคั่งเขาเล่นกัน


Wealth File 2: Rich people play the money game to win, Poor play the money game to not lose.

สำหรับเกมการเงินแล้ว คนจนจะเล่นเกมรับมากกว่าเกมรุก ไม่มีกีฬาใดที่เล่นแต่เกมรับแล้วจะสามารถเอาชนะได้ ผลของเกมรับมีเพียงเสมอกับแพ้เท่านั้น สิ่งที่คนจนคาดหวังคือความอยู่รอดปลอดภัย สามารถมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย หมุนเดือนชนเดือนไปเรื่อย ๆ ในขณะที่เป้าหมายของคนรวยคือความมั่งคั่งที่ยั่งยืน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คนรวย รวยขึ้นไปเรื่อย ๆ ขณะที่คนจนย่ำอยู่กับที่ เมื่อเป้าหมายมันต่างกัน ผลลัพธ์ย่อมต้องต่างกันเป็นธรรมดา คนจนมีเป้าหมายเพียงเพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย สิ่งที่เขาเหล่านั้นทำเมื่อใกล้สิ้นเดือนและพบว่ามีเงินเหลือคือการออกไปฉลองหรือซื้อสิ่งที่อยากได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ในขณะที่คนที่มีเป้าหมายในเรื่องความมั่งคั่ง จะเก็บเงินไว้และมองหาช่องทางทำให้มันเพิ่มขึ้น

สำหรับชนชั้นกลางแล้ว เป้าหมายจะต่างจากคนจนทั่วไปเล็กน้อย ขณะที่คนจนมีเป้าหมายอยู่ที่ความอยู่รอดปลอดภัยในแต่ละเดือน เป้าหมายของคนชั้นกลางพัฒนามาอยู่ที่ความสะดวกสบาย ซึ่งมันคือกับดักที่สำคัญที่ทำให้คนเหล่านี้ติดอยู่ในฐานะชนชั้นกลาง ถึงแม้ว่าในฐานะชนชั้นกลาง จะมีพอกินพอใช้ แต่ความสามารถในการใช้จ่ายก็มีอย่างจำกัดเช่นกัน ในทุกรายการจ่ายมักจะแฝงไปด้วยความกังวลอยู่เสมอ ดังนั้นทุกครั้งที่เข้าร้านอาหารหรูๆ สิ่งแรกที่ทำเมื่อเปิดเมนูอาหารคือการมองไปทางด้านขวาของเมนูก่อน ซึ่งก็คือ"ราคา" และบ่อยครั้งมักจะจบลงที่เมนูที่ราคาต่ำที่สุด ขณะที่คนรวยเขาไม่ได้สนใจราคาเท่าใดนัก เขาสามารถสั่งในสิ่งที่อยากกินจริง ๆ ถ้าเป้าหมายของเราคือความสะดวกสบาย เราจะไม่มีวันร่ำรวย แต่ถ้าเป้าหมายของเราคือความร่ำรวยมั่งคั่ง เราอาจจะจบอยู่ที่แค่พอมีกินมีใช้อย่างสะดวกสบายเท่านั้นก็เป็นได้ คนที่มีเป้าหมายอยู่ที่ความร่ำรวยมั่งคั่งพึงระวังกับดักนี้ให้ดี

จะเห็นได้ว่าทุกอย่างอยู่ที่เป้าหมายและความตั้งใจของตัวเราเอง หากเป้าหมายของเราคือร่ำรวยมั่งคั่ง ก็ต้องร่ำรวยมั่งคั่งจริง ๆ ไม่ใช่แค่พอกินพอใช้เท่านั้น


Wealth File 3: Rich people are committed to being RICH. Poor people want to be rich. คนจนทุกคนอยากรวย แต่คนรวยทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้ร่ำรวยมั่งคั่งอย่างมั่นคง

ถ้าหากเราถามผู้คนว่าอยากรวยไหม? คำตอบคือแทบทั้งหมดคืออยากรวย แต่ความจริงแล้วคนเหล่านี้ไม่ได้อยากรวยอย่างแท้จริง สาเหตุก็เพราะว่าเขาเหล่านั้นมีทัศนคติด้านลบต่อความมั่งคั่งร่ำรวยอยู่ภายใต้จิตใต้สำนึกโดยที่เขาไม่รู้ตัว (สำหรับที่มาของทัศนคติดังกล่าวซึ่งเราได้กล่าวไปแล้วตั้งแต่ตอนต้น) ในขณะที่ปากเขาบอกว่าอยากรวย แต่ในหัวสมองจะคิดว่าถ้าฉันรวย ฉันต้องเสียภาษีเยอะแน่ ๆ ในขณะที่ปากบอกว่าอยากรวย แต่ในหัวสมองจะบอกว่าถ้ารวยแล้วญาติพี่น้องทุกคนต้องมาแบมือขอเงินแน่ๆ ในขณะที่ปากบอกว่าอยากรวย ในหัวสมองบอกว่าฉันต้องทำงานอย่างหนักแน่ๆ คำตอบที่อยู่ในหัวสมองจะค้านคำตอบที่ออกจากปากอยู่เสมอ ดังนั้นขณะที่เขาบอกว่าอยากรวย จะมีร้อยแปดพันเก้าเหตุผลอยู่ในหัวสมองที่พร้อมจะยับยั้งสิ่งที่เขาต้องการ แต่กับคนที่มีทัศนคติด้านการเงินในเชิงบวก เมื่อเขาบอกว่าอยากรวย คือเขาอยากรวยจริง ๆ และไม่มีเหตุผลใดๆ ในหัวสมองจะยับยั้งเขาไว้ จะเห็นได้ว่าความต้องการของคนจนที่อยากรวย กับความต้องการอยากร่ำรวยของคนรวยนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นเราสามารถแบ่งระดับของความต้องการความร่ำรวยออกเป็นสามระดับคือ

ฉันอยากร่ำรวย หากจะพูดอีกอย่างหนึ่งคือฉันจะร่ำรวยเมื่อโชคใหญ่หล่นลงมาตรงหน้า ความต้องการอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ใครร่ำรวยได้จริง ๆ คนเหล่านี้เป็นนักฝัน ฝันว่าวันหนึ่งจะถูกหวยรางวัลที่หนึ่งมีเงินหลายสิบล้านภายในพริบตา เมื่อมีความต้องการแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการก็ยิ่งเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งเหล่านี้พิสูจน์จากการที่คนเหล่านี้ใช้เงินเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ไปกับการซื้อหวย ซื้อลอตเตอรี่ หรือแม้กระทั่งเล่นการพนัน และฝันว่าตัวเองจะมีโชคดีพอ ได้รางวัลก้อนใหญ่และร่ำรวยขึ้นมาทันที แต่ในความเป็นจริง ผลลัพธ์ที่ได้มักจะสวนทางกัน ยิ่งใช้จ่ายเงินที่หามาได้เสี่ยงโชคมากเท่าไหร่ คนเหล่านี้ก็นับวันขัดสน จนลงเรื่อยๆ โชคดีมันมีอยู่จริง แต่ก็สำหรับคนจำนวนเพียงน้อยนิดเท่านั้น และความร่ำรวยประเภทนี้ก็ไม่เคยยั่งยืน

ฉันตัดสินใจเลือกที่จะร่ำรวย คนกลุ่มนี้เลือกที่จะลงมือทำ ทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ร่ำรวยได้ พวกเขาลงมือสร้างเนื้อสร้างตัว เก็บหอมรอมริบ ทำงานหนัก อดทน แต่คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ท้ายที่สุดจะติดอยู่กับกับดักของความสะดวกสบาย พอกินพอใช้ แต่ไม่ร่ำรวยมั่งคั่งอย่างยั่งยืนอย่างที่คาดหวัง

ฉันมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อความร่ำรวย คนส่วนใหญ่จะตอบว่าอยากรวย แต่คนเหล่านี้ไม่มีความมุ่งมั่นทุ่มเทอย่างจริงจังที่จะสร้างความมั่งคั่งร่ำรวย หากเราถามต่อว่า อีกสิบปีคุณจะมีความมั่งคั่งร่ำรวยใช่ไหม? คำตอบส่วนใหญ่ที่ได้คือ ไม่แน่ใจ อาจจะ หรือแม้กระทั่งไม่รู้ คำตอบเหล่านี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย มนุษย์เราเป็นนักแก้ปัญหาที่เก่งที่สุดในโลก หรือแม้กระทั่งในจักรวาล ถ้าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน เมื่อเผชิญกับอุปสรรคหรือปัญหาต่าง ๆ เราย่อมทุ่มเทปัญญาทั้งหมดเพื่อแก้ไขมัน แต่เมื่อไหร่ที่เป้าหมายไม่ชัดเจน แทนที่จะทุ่มเทแก้ปัญหา เราเลือกที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นมากกว่า


Wealth File 4: Rich people think big. Poor people think small.

อ้างอิงถึงทฤษฎี The law of Income ที่บอกว่า "You will be paid in direct proportion to the value you deliver according to the marketplace" หากจะพูดอีกแบบก็คือ คุณค่า=ราคา โดยคุณค่าเป็นผลลัพธ์โดยตรงจากสี่ส่วนสำคัญคือ Demand, Supply, Quality และ Quantity สำหรับสิ่งที่สะท้อนคุณค่าของมนุษย์เราได้มากที่สุดคือปริมาณ หากจะถามอีกแบบหนึ่งก็คือ มีคนจำนวนเท่าไหร่ที่คุณสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลได้ คุณค่าและความหมายของการมีชีวิตอยู่คือการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม วิธีเดียวที่จะทำให้ชีวิตเรามีคุณค่าคือส่งมอบคุณค่าเหล่านั้นออกไปสู่สังคม

การคิดหรือทำอะไรก็ตามที่ส่งผลเฉพาะกับคนไม่กี่คนไม่อาจทำให้เราร่ำรวยได้ อยากรวยต้องคิดใหญ่ ทำใหญ่ วางเป้าหมายให้ใหญ่ ทำให้ผู้คนจำนวนมากได้รับผลประโยชน์ มันถึงจะนำมาซึ่งรายได้ที่มากพอจะทำให้เรามีอิสระทางการเงินได้ เหตุผลที่สำคัญที่คนเหล่านี้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เพราะเขาเหล่านั้นมีเงิน มีความรู้หรือมีความสามารถพิเศษ แต่พวกเขามีความกล้าที่จะคิด ชีวิตเรา เราเลือกได้ ไม่ว่าจะคิดเล็กหรือคิดใหญ่ก็อยู่ที่เราเลือก ถ้าเราเลือกที่จะเล่นอยู่ใน Minor League เราก็จะอยู่แต่ใน Minor League ถ้าเราเลือกที่จะเล่น Major League ต่อให้มีอุปสรรคอะไรมาขัดขวาง เราย่อมต้องฝ่าฟันไปได้

เหตุผลหลักที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะคิดเล็กมีอยู่สองประการ หนึ่งความกลัว กลัวความล้มเหลว กลัวความสูญเสีย กลัวคำดูถูกเหยียดหยาม และอีกสารพัดความกลัว ประการที่สองคือ ความรู้สึกด้อยคุณค่า ไม่มีความสำคัญ หรือรู้สึกว่าตัวเองโง่เขลา ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้นำไปสู่ความไม่มั่นใจตนเอง ทำให้ไม่กล้าที่จะคิดฝันอะไรที่มันยิ่งใหญ่ แต่เชื่อเถอะ เราทุกคนมีความพิเศษในตัว นี่เป็นเหตุผลที่เราถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ...


Wealth File 5: Rich people focus on opportunities, poor people focus on obstacles.

คนรวยมองเห็นโอกาสในขณะที่คนจนมองเห็นแต่อุปสรรค คนรวยมองเห็นความเป็นไปได้ในการเจริญเติบโตในขณะที่คนจนมองเห็นความเป็นไปได้ที่จะล้มเหลว คนรวยจดจ่ออยู่กับรางวัลที่จะได้รับในขณะที่คนจนจดจ่ออยู่กับความเสี่ยงเกิดขึ้น

การตัดสินใจส่วนใหญ่ของคนจนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความกลัว พวกเขาคอยมองหาแต่ความผิดพลาดหรือโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้ เมื่อคิดจะทำอะไรสักอย่างคำถามที่เกิดขึ้นในหัวคือ มันจะใช้ได้เหรอ? มันไม่เวิร์คหรอกมั้ง? มันจะดีเหรอ? ขณะที่คนชั้นกลางจะดีขึ้นมานิดหนึ่ง พวกเขาหวังว่าสิ่งที่ทำจะได้ผล ในขณะที่สิ่งที่คนร่ำรวยคิดคือ มันต้องได้ผล เพราะฉันจะทำให้มันได้ผล เป้าหมายคือความสำเร็จ เขาเชื่อมั่นในศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นต่อให้มีปัญหาหรืออุปสรรคเขาก็จะฝ่าฟันมันไป

หากพูดถึงความเสี่ยง ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงทั้งนั้น การอยู่เฉย ๆ ยิ่งเป็นความเสี่ยงที่อันตรายที่สุด เกิดเป็นพืชถ้าไม่เติบโต ก็ต้องแคระแกร็นและแห้งตาย แต่ความเสี่ยงไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพราะความเสี่ยงมาพร้อมกับรางวัล ยิ่งความเสี่ยงสูง รางวัลยิ่งต้องใหญ่ตาม ดังสำนวนที่ว่า High Risk, High Reward คนจนมองเห็นแต่ความเสี่ยง แต่มองไม่เห็นรางวัลที่จะได้รับ ในขณะที่คนรวยมองเห็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นเขาพร้อมที่จะแบกรับความเสี่ยง ต่อให้ทุกอย่างไม่เป็นไปตามคาด เขาก็ยังมีความมั่นใจว่าจะหาวิธีเอาเงินลงทุนเหล่านั้นกลับคืนมาได้อยู่ดี สิ่งที่คนจนคาดคิดไว้ตั้งแต่ต้นคือความล้มเหลว นั่นเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เขาเหล่านั้นสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง พวกเขามองเห็นแต่อุปสรรค ดังนั้นเลยไม่อยากจะเสี่ยง ในโลกนี้ไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จไปทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ประเด็นสำคัญคือการเรียนรู้ ครูที่สอนเราได้ดีที่สุดคือความล้มเหลว คนที่ไม่เคยประสบความล้มเหลวเลยคือคนที่ไม่เคยเรียนรู้อะไรเลย คนรวยเพราะเขากล้าเสี่ยง กล้าล้มเหลว เขาจึงได้เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ไม่ล้มเหลวซ้ำอีก เชื่อหรือไม่ก็ตาม คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก คือคนที่ผ่านความล้มเหลวมามากที่สุดโลกเช่นกัน

ขณะที่เราบอกว่าเรากำลังเตรียมตัวอยู่ ให้ทบทวนดูว่าเรากำลังเตรียมความพร้อมจริง ๆ หรือเรากำลังถ่วงเวลา และพึงระลึกอยู่เสมอว่าความพร้อมไม่มีอยู่จริง การจะประสบความสำเร็จได้ต้องลงมือทำเท่านั้น ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ คนรวยจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เขาต้องการ ขณะที่คนจนจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เขาไม่ต้องการ คนจนมองปัญหาเป็นอุปสรรคขัดขวางหนทางไปสู่ความสำเร็จ คนรวยมองปัญหาเป็นบันไดสำหรับปีนขึ้นไปไขว่คว้าความสำเร็จ

When you focus on problems, you have more problems. When you focus on possibilities, you have more opportunities.

Wealth File 6: Rich people admire other rich and successful people. Poor people resent rich and successful people.

คนรวย ชื่นชม เลื่อมใสผู้ที่ร่ำรวยกว่า ประสบความสำเร็จมากกว่าตน ในขณะที่คนจนกลับไม่ชอบผู้ที่ร่ำรวยและประสบความสำเร็จ ในสายตาของคนจนที่มองคนรวยหรือคนที่ประสบความสำเร็จมักจะเต็มไปด้วย อคติ ความขุ่นแค้น อิจฉาริษยา สิ่งแรกที่เราต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจคือ ถ้าเรามองคนรวยว่าเป็นคนเลว คนชั่วไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามและคุณคิดว่าคุณเป็นคนดี คุณจะไม่มีวันร่ำรวยเหมือนเขาเหล่านั้นเด็ดขาด เพราะคุณไม่สามารถเป็นในสิ่งทีคุณไม่ชอบได้ ดังนั้นหากอยากรวย จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงมุมมองที่มีต่อคนรวย คนที่ประสบความสำเร็จ เปลี่ยนจากความอิจฉาริษยามาเป็นการชื่นชมยินดี เลื่อมใสที่คนเหล่านั้นสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนร่ำรวยได้ และเรียนรู้จากเขาเหล่านั้น ยึดถือเรื่องราวความสำเร็จของเขาเหล่านั้นมาเป็นแรงบันดาลใจของเรา ในการฝ่าฝันอุปสรรคเพื่อไปสู่ความสำเร็จ

ในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้ยังไม่อาจละทิ้งซึ่งกิเลส ย่อมไม่อาจขจัดความอิจฉาริษยาออกไปจากใจได้หมด หลักการฝึกฝนที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงความอิจฉาริษยา เป็นความชื่นชมยินดี คือความตระหนักรู้ในอารมณ์ ย้ำอีกครั้งว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราไม่รู้ ดังนั้นบทเรียนแรกคือการสำรวจอารมณ์ความอิจฉาริษยาที่เกิดขึ้นในใจอยู่เสมอ เมื่อไหร่ที่เรารู้ตัวว่ากำลังอิจฉาริษยา ให้รีบหยุดและปรับเปลี่ยนมุมมองจากความอิจฉาไปเป็นการชื่นชมยินดีทันที จงอย่างปล่อยให้อารมณ์มาควบคุมเรา เพราะเราคือเจ้านายของอารมณ์ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะควบคุมอารมณ์ ไม่ใช่ปล่อยให้อารมณ์มาควบคุมเรา

เรามักจะได้ยินจากผู้คนรอบตัว คนในสังคม ตลอดจนถึงสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ บอกว่าคนรวยมักจะเป็นพวกไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือคดโกงมาทั้งนั้น คำพูดเหล่านี้เป็นประโยคที่เกิดจากความอิจฉาริษยามากกว่าที่จะเป็นความจริง จริงอยู่ที่ว่าคนรวยบางคนก็ไม่ได้สร้างเนื้อสร้างตัวมาจากความสุจริต แต่ก็ไม่ทุกคนที่จะมีที่มาเหมือนกัน หากมองให้ลึกถึงเนื้อแท้แล้ว คนรวย คือคนที่ซื่อสัตย์สุจริตที่สุด เพราะเขาเหล่านั้นมีความซื่อสัตย์สุจริตจึงได้รับความเชื่อถือ ไว้เนื้อเชื่อใจ เมื่อมีความเชื่อถือจึงมีคนวางใจทำธุรกิจ ธุรกรรมด้วยและนั้นย่อมนำมาซึ่งรายได้ ที่ทำให้เขาเหล่านั้นเกิดความมั่งคั่ง ร่ำรวย  หากปราศจากความซื่อสัตย์เที่ยงตรงเป็นพื้นฐานแล้ว ความมั่งคั่งร่ำรวยย่อมไม่เกิดขึ้น คนโกงที่ร่ำรวยย่อมมีอยู่ แต่เขาเหล่านั้นย่อมไม่อาจร่ำรวยมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน


Wealth Files 7: Rich people associate with positive, successful people. Poor people associate with negative and unsuccessful people.

ผู้ที่ประสบความสำเร็จจะนำความสำเร็จของผู้อื่นมาเป็นแรงกระตุ้นตนเอง เขามองความสำเร็จของผู้อื่นเป็นแม่แบบในการเรียนรู้ เขาเหล่านี้จะบอกตัวเองอยู่เสมอว่า "เขาทำได้ ฉันก็ต้องทำได้สิ" และเขาเหล่านั้นจะรู้สึกขอบคุณผู้ที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้าเหล่านั้น ที่ได้กรุยทางสร้างแม่แบบไว้ให้เรียนรู้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปลองผิดลองถูกเอง ดังนั้นวิธีการในการสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้ได้รวดเร็วที่สุดคือเรียนรู้วิธีสร้างความร่ำรวยจากผู้ที่ร่ำรวยเท่านั้น นอกจากวิธีทำเงินแล้วยังมีวิธีคิด มุมมองต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน

ในขณะที่คนจน เมื่อได้ยินได้ฟังความสำเร็จของผู้อื่น บ่อยครั้งที่คนเหล่านี้ทำคือการตัดสิน วิจารณ์ เยาะเย้ย และพยายามดึงเขาเหล่านั้นให้มาอยู่ในระดับเดียวกับตน คำถามคือเราอยากจะเรียนรู้ หรือค้นหาแรงบันดาลใจอะไรจากคนที่เราไม่ให้คุณค่า คนที่เราเยาะเย้ยเขา คนที่เรามองว่าเขาแย่กว่าเราได้บ้าง เมื่อเราปล่อยให้ความอิจฉาริษยามาพรางตา เราจะมองไม่เห็นข้อดีอะไรเลยจากเขาเหล่านั้น และเมื่อมองไม่เห็นความดีความเก่ง ย่อมไม่เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ว่าแท้จริงแล้วเขาเหล่านั้นประสบความสำเร็จร่ำรวยมาด้วยประการใด

เราจะทำอย่างไรถ้าเราต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางคนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้องหรือสามีภรรยา คำแนะนำแรกคืออย่าให้เขาเหล่านั้นมาเปลี่ยนแปลงตัวตนของคุณ หน้าที่หลักของเราคือการใช้สิ่งที่เราเรียนรู้ไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเราให้ดีขึ้น มีความสุขยิ่งขึ้น ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ร่ำรวยยิ่งขึ้น ส่วนคำแนะนำถัดมาคือการเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อสิ่งเหล่านี้ การตกอยู่ท่ามกลางบรรยากาศแบบนี้แม้จะมีความยากลำบาก แต่หากเรามองว่ามันคือเวทีของการฝึกฝน นั่นย่อมทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เมื่อเราผ่านพ้นมันไปได้เราจะกลายเป็นคนที่แข็งแกร่งที่สุด เปรียบดังกับต้นไม้ที่เติบโตอยู่เหนือเหล่าวัชพืช ต้นไม้ที่ไม่อาจเติบโตเหนือวัชพืชก็เป็นได้เพียงวัชพืชประเภทหนึ่งเท่านั้น ในโลกนี้ไม่มีอะไรมีความหมายต่อตัวเรา เว้นเสียแต่เราจะกำหนดให้มันมีความหมาย เช่นเดียวกันกับ คำตัดสิน คำวิจารณ์ การดูหมิ่นดูแคลน เหล่านี้ก็ไม่มีความหมายต่อเรา ถ้าเราไม่ให้คุณค่าแก่มัน ดังนั้นทุกครั้งที่เผชิญกับคำพูดเหล่านี้ ปฏิกิริยาแบบนี้ ให้นำมาเป็นบทเรียนในการเตือนตนเองว่า เราต้องไม่กระทำสิ่งแย่ ๆ เหล่านี้ คำแนะนำสุดท้ายหากไม่สามารถอดทนต่อสิ่งรอบตัวที่เป็นแบบนี้ได้คือการพาตัวเองออกมาจากที่ตรงนั้น ความคิดด้านลบก็เป็นเหมือนเชื้อโรค ถ้าเราไม่แข็งแกร่งพอที่จะต้านทานมัน เราจะถูกมันกัดกร่อนและกลืนกินไปในที่สุด ชีวิตเป็นของเรา มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องทำให้มันดี มีความสุข หากรู้ว่ายากต้านทานไหวก็อย่าปล่อยให้ทุกอย่างย่ำแย่จนเกินจะแก้ไข

มีประโยคหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า "หากอยากประสบความสำเร็จ ก็จงพาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางผู้ที่ประสบความสำเร็จ" นี่ย่อมไม่ใช่ประโยคที่กล่าวมาอย่างเลื่อนลอย จากผลการวิจัยพบว่าเราจะเป็นคนแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับบุคคลรอบตัวเรา 5 คนโดยเฉลี่ย  คนรวยเขาไปตีกอล์ฟไม่ใช่เพราะเขารักหรือหลงใหลในกีฬาประเภทนี้อย่างจริงจัง (ยกเว้นบางคนที่ชอบจริง ๆ ) เขาใช้การตีกอล์ฟเพื่อเป็นสะพานเชื่อมเข้าหากลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จ ผู้ที่ร่ำรวย ทำความรู้จักและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของคนรวย เพื่อเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากจะพูดให้ถูกคือ "มันไม่ใช่แค่ว่าเรารู้อะไร สิ่งที่สำคัญที่แท้จริงคือ เรารู้จักใคร" ดังนั้นหากเราต้องการที่จะบินสูงเยี่ยงอินทรี อย่าใช้เวลาแทบทั้งหมดในชีวิต ไปกับการว่ายน้ำไปกับฝูงเป็ด


Wealth Files 8: Rich people are willing to promote themselves and their value. Pool people think negatively about selling and promotion.

เราจะประสบความสำเร็จได้อย่างไรถ้าเราไม่กล้าโปรโมทคุณค่าของเราต่อสังคม ไม่กล้าเปิดเผยความรู้ความสามารถหรือสิ่งที่เรามีให้คนอื่นรับรู้ ต่อให้สิ่งนั้นมีค่าแค่ไหน หากไม่เอาไปใช้ประโยชน์ก็ไม่มีความหมาย ยกตัวอย่างเช่นการทำงาน ต่อให้เราทำงานเก่งแค่ไหน มีความรู้ความเชี่ยวชาญแค่ไหน หากไม่ป่าวประกาศออกไป บริษัทที่ต้องการความรู้ความสามารถของเราย่อมหาเราไม่พบ และแน่นอนว่าเราย่อมไม่มีโอกาสได้งานที่เราถนัด ที่เรารัก เทียบกับคนที่มีความกล้าที่จะประกาศตนออกไปว่ามีอะไรดี ย่อมมีโอกาสที่จะได้งานดี ๆ ที่ตรงตามความรู้ความสามารถที่มี เราต้องเข้าใจก่อนว่าไม่มีใครในโลกนี้เก่งมาตั้งแต่เกิด คนที่จะเก่งได้ต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกฝนทั้งนั้น ดังนั้นจงเชื่อมั่นศักยภาพในการเรียนรู้ของตนเอง เมื่อมีความเชื่อมั่นและมีโอกาสได้ฝึกฝน ความเก่งความเชี่ยวชาญจะตามมาเอง

หลายคนเชื่อว่าเมื่อมีความรู้ความสามารถ โอกาสย่อมเดิมเข้ามาหาเอง แต่โอกาสจะมาหาคุณได้นั้นก็ต่อเมื่อมีคนรู้ว่าคุณมีสิ่งที่เขาต้องการ ในความเป็นจริงโลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยการแข่งขัน ไม่มีอะไรที่หาไม่ได้ในท้องตลาด มันจึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องประกาศให้โลกรู้ว่า สิ่งที่เรามีมันดีกว่าสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาดยังไง เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องโปรโมท โน้มน้าวให้คนหันมาสนใจในสิ่งที่เรามี โลกทุกวันนี้ใครที่ทำการโปรโมทเก่งกว่า ย่อมมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า และเหล่าคนรวยส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่เชี่ยวชาญในการโปรโมทในสิ่งที่เขาเหล่านั้นมีให้โลกได้รับรู้ พวกเขาจึงมีโอกาสที่สร้างรายได้จากสิ่งที่มีอยู่มากกว่าคนจน

Robert Kiyosaki ผู้เขียนหนังสือ Rich Dad, Poor Dad บอกว่า ธุรกิจทุกอย่างก็ล้วนแล้วแต่ตัดสินความสำเร็จกันที่การขาย ไม่เว้นแม้แต่การเขียนหนังสือ ทุกวันนี้น้อยคนที่จะจำได้ว่านักเขียนคนไหนเขียนหนังสือได้ดี แต่คนส่วนใหญ่จะจำชื่อนักเขียนที่เขียนหนังสือที่ขายดีที่สุดได้เป็นอย่างดี และแน่นอนว่าจะขายดีได้ต้องมีการโปรโมทให้รับรู้อย่างกว้างขวาง การจะเป็นผู้นำก็ต้องอาศัยการขายเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นประธานาธิบดี คนที่จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีต้องมีความสามารถในการโน้มน้าว จูงใจ ขายฝัน ให้พรรคเลือกเขาเป็นตัวแทนลงชิงตำแหน่ง ให้ประชาชนเลือกเขาเป็นผู้นำ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของการโปรโมทตนเองให้สังคมได้รับรู้ทั้งสิ้น หากปราศจากความสามารถในการโปรโมทตนเอง ย่อมไม่อาจขึ้นเป็นผู้นำได้

ดังนั้นหากอยากจะประสบความสำเร็จ เราต้องเชื่อมั่นในคุณค่า ศักยภาพ ความสามารถ ผลิตภัณฑ์ บริการ หรืออะไรก็ตามที่เรามีอยู่ และต้องกล้าที่จะประกาศออกไปให้โลกรับรู้ในสิ่งที่เรามี แล้วโอกาสจะเข้ามาหาคุณเอง


Wealth Files 9: Rich people are bigger than their problems. Poor people are smaller than their problems.

หนทางที่จะนำไปสู่ความร่ำรวยมั่งคั่งไม่เคยโรยไปด้วยกลีบกุหลาบ มันเต็มไปด้วยปัญหา อุปสรรค ขวากหนาม กับดักต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นคนจนและคนชั้นกลางส่วนใหญ่มักจะเลือกหนทางที่สะดวกสบาย ในขณะเดียวกันคนรวยจะมองเป้าหมายในชีวิตเป็นหลัก ส่วนปัญหาหรืออุปสรรคคือความท้าทาย เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาเขาเหล่านั้นจะมีความกระตือรือร้นที่จะแก้ไข ขณะที่คนจนมองปัญหาเป็นสิ่งกีดขวาง ดังนั้นเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหา สิ่งแรกที่เขาเหล่านั้นคิดคือการหลีกเลี่ยง ไม่ใช่แก้ไข พยายามพาตัวเองออกห่างจากปัญหาให้มากที่สุด เคล็ดลัพธ์ในการที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่การหลีกเลี่ยงปัญหาให้ได้มากที่สุด แต่คือการแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุด เพราะทุกครั้งที่เราแก้ปัญหาสำเร็จเราจะเรียนรู้ เติบโต และแข็งแกร่งขึ้นอีกขั้นหนึ่ง

หากเราแบ่งความยากของปัญหาออกเป็น 10 ระดับและเราเป็นคนที่สามารถแก้ปัญหาที่มีความยากในระดับ 2 เมื่อเรามองปัญหาระดับ 5 เราจะรู้สึกว่ามันยิ่งใหญ่มาก แต่เมื่อไหร่ที่เราก้าวข้ามผ่านมันไปและมองย้อนกลับมาเราจะเห็นว่ามันไม่ได้ยากเย็นยิ่งใหญ่จนยากจะข้ามผ่านอย่างที่เราคิด จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เป็นปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่ขนาดของปัญหา แต่คือขนาดของเรา ขนาดของหัวใจ ขนาดของความกล้าในการเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคของ ดังนั้นยิ่งเผชิญกับปัญหาที่ใหญ่ยิ่งเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้และเติบโตขึ้น จงอย่ากลัวที่จะเผชิญกับปัญหา สิ่งที่ต้องกลัวที่แท้จริงคือการไม่มีปัญหาให้แก้ไขต่างหาก จงจำไว้เสมอว่า การที่ชีวิตไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ เลยคือปัญหาที่ใหญ่ที่สุด เพราะเราจะไม่มีโอกาสในการ เรียนรู้ เติบโต และพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นเลย ชีวิตก็เหมือนต้นไม้ เมื่อไม่เติบโต ก็มีแต่จะเหี่ยวเฉาและแห้งตายไปอย่างไร้ความหมาย

ขณะที่คนรวยพยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ขัดขวางไม่ให้เขาไปถึงเป้าหมายได้ สิ่งที่คนจนทำเมื่อเผชิญกับปัญหาไม่ว่าเล็กหรือใหญ่คือบ่น ก่นด่า ตัดพ้อต่อว่า และหลีกเลี่ยงในท้ายที่สุด เมื่อเขาเหล่านั้นไม่แก้ปัญหา ปัญหาเหล่านั้นย่อมไม่หายไปไหน ปัญหาต่าง ๆ คอยวนเวียนพัวพันอยู่รอบตัวอย่างนั้นไปตลอด และคนเหล่านั้นก็จะบ่น ๆ เป็นวังวนอยู่เช่นนี้เรื่อยไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนกลายเป็นอุปนิสัยของคนจนที่เรากล่าวไปในข้างต้น เคล็ดลับที่จะทำให้เราเป็นคนรวยคือทำตัวเราให้ใหญ่กว่าทุกปัญหาที่เผชิญอยู่ ไม่ใช่การทำตัวเหนือปัญหา


Wealth Files 10: Rich people are excellent receivers. Poor people are poor receivers.

ทุกประการในโลกนี้ล้วนประกอบไปด้วยสองด้านเสมอ มีมืดย่อมมีสว่าง มีขาวย่อมมีดำ และมีผู้ให้ก็ต้องมีผู้รับ คนเราส่วนใหญ่มักจะถูกสอนให้เป็นผู้ให้ สอนให้เป็นผู้เสียสละตั้งแต่เด็ก แต่เราไม่เคยถูกสอนให้เป็นผู้รับ การเป็นผู้รับสำหรับหลายคนแล้วเป็นเรื่องน่ากระอักกระอ่วน แม้กระทั่งเป็นเรื่องน่าอับอาย แต่อย่าลืมว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องการความสมดุล ชีวิตก็เช่นกัน การมุ่งมั่นจะเป็นผู้ให้เพียงฝ่ายเดียวก็อาจจะทำให้ชีวิตประสบกับความยากลำบาก ในขณะเดียวกันการที่จะเอาแต่รับอยู่ฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่ดูน่าละอาย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้และผู้รับที่เหมาะสม ชีวิตถึงจะราบรื่น

ทำไมคนเราถึงรู้สึกแย่เมื่อต้องเป็นผู้รับ เขาเหล่านั้นจะรู้สึกด้อยค่า บางครั้งถึงกับรู้สึกว่าไม่คู่ควรกับสิ่งที่ได้รับด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างเช่นคนที่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง เมื่อมีโอกาสได้งานที่เงินเดือนสูงจะรู้สึกกลัว กังวลจนถึงขั้นปฏิเสธงานนั้นเพราะคิดว่าตัวเองมีความสามารถไม่พอ หลายคนคงเคยได้ยินประโยคนี้จากคนรอบข้างไม่มากก็น้อย "ให้คนที่เขาเก่งได้งานนั้นไปก็ดีแล้ว เรามีความสามารถแค่นี้ก็เอาแค่นี้พอ"  หลายคนมีโอกาสที่จะสร้างรายได้ที่มากพอจะทำให้เกิดความมั่งคั่งได้ แต่เขาเหล่านั้นกลับปฏิเสธ เหตุเพราะว่าเขารู้สึกว่าไม่คู่ควรกับสิ่งเหล่านั้น

คนรวยเขาเข้าใจถึงสมดุลของการให้และการรับ เมื่อถึงคราวต้องรับเขาจะไม่มัวกังวล กระอักกระอ่วนใจ หรือคิดว่าเขาสมควรได้รับหรือไม่สมควร เขาคิดอยู่เสมอว่าถ้าเขาไม่รับก็จะมีคนอื่นรับไป ถ้าเขาไม่รวยก็จะมีคนอื่นรวยไป เขาจึงรับมันอย่างเต็มใจอย่างพร้อมใจ คนรวยไม่เคยปฏิเสธเงินตรา ตราบใดที่เงินที่ได้มาเหล่านั้นอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายและศีลธรรม ตรงข้ามกับคนจนที่บางครั้งปฏิเสธที่จะรับเงิน เรามักจะได้ยินเขาเหล่านั้นพร่ำเพ้อว่าเป็นคนดีมีศักดิ์ศรีสูงส่ง ดังนั้นสิ่งที่แสดงออกถึงความสูงส่งของศักดิ์ศรีก็คือความอัตคัดขัดสน เมื่อเจอเศษสตางค์หล่นอยู่บนท้องถนนคนจนแทบไม่มีใครก้มเก็บเลย แต่คนรวยกลับไม่ปล่อยให้หลุดรอด

ดังนั้นการจะร่ำรวยได้ต้องรู้จักสร้างสมดุลระหว่างการให้กับการรับ เมื่อถึงเวลารับก็รับอย่างเต็มใจพร้อมใจ เมื่อถึงเวลาให้ก็ให้อย่างยินดี เงินตราไม่ใช่สิ่งเลวร้าย ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผู้ที่ครอบครองมัน ถ้าคุณเป็นคนดี การมีเงินมากขึ้นก็จะทำให้คุณช่วยเหลือคนอื่นได้มากขึ้น ส่งเสริมให้เป็นคนดียิ่งขึ้น ถ้าคุณเป็นคนเลวทรามหยาบคาย การมีเงินมากขึ้นก็ยิ่งทำให้คุณเลวทรามหยาบคายมากขึ้น เงินไม่เคยเปลี่ยนคนดีเป็นคนเลว มันเพียงแต่ช่วยให้คนที่เลวที่อยู่ในคราบคนดีแสดงธาตุแท้ออกมาก็เท่านั้นเอง ดังนั้นอย่างโทษเงินตราและปฏิเสธมัน


Wealth Files 11: Rich people choose to get paid base on results. Poor people choose to get paid base on time.

หลายคนคงเคยได้ยินคำสอนที่ว่า "เรียนหนังสือให้สูง ๆ ทำเกรดให้ได้ดี ๆ เพื่อที่จะได้มีงานดี ๆ มีเงินเดือนดีๆ ขยันทำงานแล้วชีวิตจะมีแต่ความสุข" ประโยคนี้ไม่มีอะไรที่ไม่ถูกต้องเว้นแต่คำว่า "เงินเดือน" คนจนแทบทั้งหมดปรารถนาที่จะได้งานที่มีเงินเดือนมั่นคง พวกเขาจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อรู้ว่าแต่ละเดือนจะมีรายได้ไว้สำหรับใช้จ่ายอย่างพอเพียง โดยเขาเหล่านั้นไม่ได้ตระหนักเลยว่าความปลอดภัยที่ได้รับนั้นต้องแลกมาด้วยการสูญเสียโอกาสที่จะร่ำรวย การใช้ชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความกลัว กลัวว่าจะมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพหรือตอบสนองต่อความสะดวกสบายที่เป็นอยู่

คนรวยจะสร้างรายได้จากพื้นฐานของผลงานเป็นหลัก ดังนั้นคนรวยส่วนใหญ่มักจะมีธุรกิจเป็นของตนเองไม่รูปแบบใดก็รูปแบบหนึ่ง จึงมีรายได้จากผลกำไรเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่แน่นอนเหมือนกับเงินเดือนและต้องแบกรับความเสี่ยงที่มากกว่า แต่เขาเหล่านั้นมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ และความสามารถของตนเอง

ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เห็นได้ชัดเช่น ถ้าบริษัทต้องการจ้างพนักงานขายโดยมีสองตัวเลือกให้เลือก ตัวเลือกที่หนึ่งคือ เงินเดือนสองหมื่นบาท โดยมีเป้าการขายอยู่ที่สองแสนบาท กับตัวเลือกที่สองคือ ไม่มีเงินเดือนแต่จะได้ยี่สิบเปอร์เซนต์จากยอดขาย คนจนส่วนใหญ่จะเลือกหนทางแรกเพราะเขาเหล่านั้นต้องการความมั่นคง เพราะถึงแม้บางเดือนอาจจะทำได้ไม่ถึงเป้าแต่ก็ยังได้เงินเดือนเท่าเดิม แต่กับคนรวยเขาจะเลือกหนทางที่สองเพราะเขาเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองว่าจะทำได้มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ สิ่งที่แตกต่างระหว่างคนสองประเภทนี้คือ ความเชื่อมั่น ความตั้งใจ และความทุ่มเทกับงานที่ทำ

คนจนใช้เวลาเพื่อแลกกับเงิน จุดอ่อนของกลยุทธ์นี้คือทุกคนมีเวลาอย่างจำกัด และเมื่อรายได้ถูกจำกัดไว้ด้วยเวลา นั่นหมายความว่าไม่มีทางที่จะทำรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำเท่าที่ควร และแน่นอนว่ารายได้ที่จำกัดไม่อาจทำให้ร่ำรวยได้ เปรียบเสมือนรถยนต์ที่มีความเร็วจำกัดอยู่ที่แปดสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง ย่อมไม่อาจพาเราไปถึงเป้าหมายได้เร็วเท่าเครื่องบินที่ใช้ความเร็วได้ไม่จำกัดได้

ข้อด้อยอีกประการหนึ่งสำหรับการเป็นมนุษย์เงินเดือนคือการที่ต้องแบกรับภาระภาษีที่มากขึ้นตามรายได้ ในขณะเดียวกันการเป็นผู้ประกอบการมักจะมีหนทางหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระทางภาษี ซึ่งท้ายที่สุดแล้วแทบจะไม่ต้องจ่ายอะไรเลย


Wealth Files 12: Rich people think both. Poor people think "either/or"

นับตั้งแต่เราจำความได้ เรามักจะได้ยินประโยคที่ว่า "ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง" แต่สำหรับคนรวยแล้วสิ่งที่เขาคิดคือ ทำไมเราต้องเสียถ้าเราสามารถไขว่คว้าทั้งสองอย่างได้พร้อมกัน มันอาจจะฟังดูเป็นคนโลภมาก แต่หากมองลึกลงไปแล้วมนุษย์ทุกคนไม่มีใครอยากเสียสละอะไรไป หากสามารถไขว่คว้าได้ย่อมไขว่คว้าเอาไว้

เราจำเป็นต้องคิดให้ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้นเมื่อต้องเลือกระหว่างเงินกับสิ่งอื่น ๆ ในชีวิต คนจนและคนชั้นกลางมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องเงินน้อยกว่าอย่างอื่นในชีวิต เช่นครอบครัวหรือความสุข แต่นี่เป็นเหตุผลสำหรับปลอบใจเท่านั้น เพราะแท้ที่จริงแล้วเงินเป็นเสมือนต้นธารของสิ่งทั้งปวงในชีวิต เปรียบเสมือนดังน้ำมันหล่อเลื่อนที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนั้นการเอาเงินไปเปรียบเทียบกับแง่มุมอื่นในชีวิตก็เปรียบเสมือนการเปรียบเทียบความสำคัญระหว่างแขนกับขา ซึ่งไม่อาจจะเปรียบเทียบกันได้เพราะต่างก็มีบทบาทของตนเองที่ชัดเจน ลองถามใจตัวเราเองดูว่าถ้าเราต้องเลือกระหว่างแขนหรือขาเราจะเลือกเก็บอะไรไว้ และถ้าเราสามารถเลือกที่จะเก็บทั้งสองอย่างไว้ได้ ทำไมเราต้องเสียสละอย่างใดอย่างหนึ่งไป

หากลองตรึกตรองดูว่า หากไม่มีเงินเราจะยังมีอิสระในชีวิตหรือไม่ หากไม่มีเงินครอบครัวเราจะยังมีความสมบูรณ์พูนสุขอยู่หรือไม่ หากไม่มีเงินเรายังจะอุดมไปด้วยญาติสนิทมิตรสหายหรือไม่ หากไม่มีเงินเราจะยังจะสามารถไปเที่ยวรอบโลกได้หรือไม่ เงินไม่ใช่ทุกอย่าง แต่เงินก็เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มทุกอย่างในชีวิตของเรา ดังนั้นการมีเงิน ย่อมทำให้ชีวิตมีความสุขกว่าการไม่มีเป็นที่แน่นอน ดังนั้นหากถึงคราวที่ต้องเลือกระหว่างเงินกับสิ่งอื่นใดในชีวิต ขอให้คิดเสมอว่า เราสามารถเลือกที่จะมีทั้งสองอย่างได้ไม่ใช่แค่อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะต่างก็มีบทบาทของมันที่ไม่อาจทดแทนกันได้ อย่าได้เสียสละอย่างใดอย่างหนึ่งไปโดยไม่จำเป็น


Wealth Files 13: Rich people focus on their net worth. Poor people focus on their working income.

เมื่อเราพูดคุยกันในเรื่องเงิน คำถามส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ว่า เรามีรายได้เท่าไหร่ แต่น้อยคนที่จะโฟกัสไปว่าเรามีเงินได้สุทธิเท่าไหร่ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ใช้ชี้วัดความร่ำรวยมั่งคั่งที่แท้จริง ยกตัวอย่างเช่นนายเอ มีรายได้หนึ่งล้านบาทต่อปี มีรายจ่าย เก้าแสนแปดหมื่นต่อปี กับนายบีที่มีรายได้สองแสนบาทต่อปี มีค่าใช้จ่ายหนึ่งแสนบาทต่อปี หากเราโฟกัสที่รายได้ นายเอย่อมดูร่ำรวยมั่งคั่งกว่านายบีหลายเท่า แต่เมื่อเราเทียบเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายของนายเอที่เหลือเพียงสองหมื่นบาท กับนายบีที่มีหนึ่งแสนบาท เป็นที่แน่นอนว่านายบีมีความร่ำรวยมั่งคั่งกว่านายเอหลายเท่านัก เหล่าคนรวยเขาเข้าใจความแตกต่างของที่สองอย่างเป็นอย่างดี รายได้เป็นสิ่งที่สำคัญแต่เป็นเพียงหนึ่งสี่องค์ประกอบหลักเท่านั้น ซึ่งองค์ประกอบทั้งสี่คือ

  1. รายได้
  2. เงินออม
  3. เงินลงทุน
  4. ความเรียบง่าย พอเพียง

รายได้ แบ่งออกเป็นสองรูปแบบคือ รายได้ที่มาจากการทำงาน และรายได้ที่ไม่ได้มาจากการทำงาน รายได้ที่มาจากการทำงานก็คือรายได้ที่เราเอาเวลาในชีวิต แรงงาน ความรู้ต่างๆ ที่มีไปแลกมา เช่นเงินเดือน โบนัส โอที หรือถ้าเป็นผู้ประกอบการก็เป็นพวกกำไรต่าง ๆ   ส่วนรายได้ที่ไม่ได้มาจากการทำงานก็คือรายได้ที่เราไม่ต้องใช้แรงงาน หรือเวลาไปแลกมา เช่นผลตอบแทนจากการลงทุน, ดอกเบี้ยเงินฝาก เป็นต้น รายได้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะมันเป็นจุดตั้งต้นที่จะนำไปสู่องค์ประกอบที่เหลืออีกสามประการ หากไม่มีรายได้ ก็ไม่มีเงินออม ไม่มีเงินออมย่อมไม่มีเงินไปลงทุน แต่ถึงแม้มันจะสำคัญเพียงไร ก็เป็นเพียงหนึ่งในองค์ประกอบที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งเท่านั้น หากมีแต่เพียงรายได้อย่างเดียว ย่อมไม่อาจทำให้เกิดความร่ำรวยมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน คนจนและคนชั้นกลางส่วนใหญ่มักจะโฟกัสที่รายได้เพียงอย่างเดียวโดยไม่รู้ว่าอีกสามองค์ประกอบก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน หรือแม้กระทั่งไม่รู้ว่าความร่ำรวยจำเป็นที่ต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้อยู่

เงินเก็บ ก็มีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่ารายได้ ต่อให้มีรายได้มาเท่าไหร่แต่หากไม่เหลือเก็บเลย ชีวิตก็คงไม่มีความมั่นคง หากวันใดวันหนึ่ง รายได้ที่เคยมีหดหายไป ย่อมไม่อาจดำรงชีพอยู่ได้ ดังนั้นเมื่อมีรายได้ก็ต้องบริหารจัดการเงินออมให้เหมาะสม

เทคนิคส่วนตัวของผู้อ่านในการออมเงินคือ ให้คิดเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของรายได้ แทนที่จะเป็นจำนวนเงินที่ตายตัว เช่นตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเก็บ 20% ของรายได้เป็นเงินออม ด้วยวิธีนี้เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นเงินออมก็เพิ่มขึ้นตาม

การลงทุน เมื่อมีเงินออมอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว เราถึงจะสามารถก้าวไปยังขั้นถัดไปคือการลงทุน คนรวยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง แต่กับคนจนและคนชั้นกลาง มักจะคิดว่าการลงทุนเป็นเรื่องที่ไกลตัว เป็นเรื่องของคนรวย เขาเหล่านั้นจึงไม่สนใจที่จะขวนขวายหาความรู้ด้านนี้

การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย หลายคนอาจสงสัยว่ามันเกี่ยวข้องกับความมั่งคั่งร่ำรวยอย่างไร การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมีความสำคัญไม่แพ้องค์ประกอบอื่นข้างต้น หากเรามีรายได้น้อยแต่ใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ ย่อมไม่อาจเก็บออมได้ เมื่อไม่มีเงินออม ย่อมไม่อาจก้าวไปสู่ขั้นของการลงทุน หากมีรายได้เยอะแต่ไม่ประหยัดอดออมก็เหลือเก็บน้อย เมื่อเก็บได้น้อย การจะก้าวข้ามไปยังขั้นต่อไปก็ยากลำบาก คนรวยแทบทั้งหมดมักจะดำรงชีพด้วยความเรียบง่าย วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก กลับใช้ชีวิตเรียบง่ายยิ่งกว่าชนชั้นกลางทั่วไปเสียอีก ทั้งนี้ทั้งนั้นความเรียบง่ายก็คือการไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหรา แต่ก็ไม่ทำให้ชีวิตของตนเองและคนรอบข้างประสบกับความยากลำบาก

สำหรับผู้ที่มีครบองค์ประกอบทั้งสี่ ก็เปรียบเสมือนกำลังขับรถยนต์ที่มีสี่ล้อครบสมบูรณ์ ย่อมมีความมั่นคงปลอดภัย สำหรับคนจนและคนชั้นกลางที่โฟกัสเฉพาะรายได้เพียงอย่างเดียวก็เปรียบดังกับการขี่จักรยานล้อเดียวที่จะล้มเมื่อไหร่ก็เป็นได้


Wealth Files 14: Rich people manage their money well. Poor people mismanage their money well.

แท้ที่จริงแล้ว คนรวยเขาก็ไม่ได้ฉลาดมากเกินกว่าเหล่าคนยากคนจนเท่าไหร่ เพียงแต่เขาเหล่านั้นมีความคิด และมุมมองในเรื่องของการเงินแตกต่างออกไปเท่านั้น สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดระหว่างคนสองกลุ่มนี้คือ คนรวยควบคุมเงินทอง ส่วนคนจนจะถูกเงินทองควบคุม

เหตุผลที่เรามักจะได้ยินจากเหล่าคนยากคนจนที่ไม่คิดบริหารเงินทองหลัก ๆ มีอยู่สองเหตุผล หนึ่งคือมันทำให้เขาเหล่านั้นขาดอิสรภาพ สองคือมีไม่พอให้บริหาร ซึ่งทั้งสองนี้แท้ที่จริงแล้วตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง ประการแรก การบริหารเงินทองให้มีประสิทธิภาพไม่ได้เป็นการจำกัดอิสรภาพ แต่แท้ที่จริงแล้วมันคือหนทางไปสู่อิสรภาพทางการเงิน ซึ่งเป็นอิสรภาพที่แท้จริง ประการที่สอง มีไม่พอให้บริหารจัดการ คนจนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเมื่อมีเงินมากมายแล้วค่อยบริหารจัดการ คำถามคือคุณจะมีเงินได้อย่างไรถ้าคุณไม่บริหารจัดการเงินทองตั้งแต่ตอนนี้ มันเป็นไปไม่ได้ที่อยู่ ๆ จะมีเงินทองมากองให้คุณทดลองบริหารจัดการเว้นแต่จะถูกลอตเตอร์รี่ สิ่งที่ถูกต้องคือต้องเริ่มฝึกฝนบริหารจัดการจากจุดที่มีน้อยจนไม่เพียงพอให้มันพอเพียงและเหลือเก็บ เมื่อผ่านการฝึกฝนจนเก่ง เงินทองย่อมเพิ่มพูนตามเป็นลำดับ คนรวยเขาจะฝึกฝนบริหารจัดการเงินทองของเขาที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่คนจนรอให้มีเงินทองก่อนค่อยบริหาร แต่ไม่มีใครจะเก่งได้โดยไม่ผ่านการฝึกฝน ดังนั้นเราจะเห็นได้บ่อยครั้งที่คนจนเมื่อได้ลาภลอยเป็นเงินก้อนโตมา แต่เงินเหล่านั้นไม่เคยอยู่กับเขาเหล่านั้นอย่างยั่งยืน เหตุเพราะเขาเหล่านั้นไม่มีประสบการณ์ในการบริหารเงินทอง เพราะมีไม่เคยหาความรู้และฝึกฝนมาก่อน


Wealth Files 15: Rich people have their money work hard for them. Poor people work hard for their money.

คนส่วนใหญ่มักจะเติบโตมากับคำสอนที่ว่า "จงทำงานหนักเพื่อที่จะได้มีเงินทองมาก ๆ" เราถูกปลูกฝังให้ทำงานเพื่อเงินมาตั้งแต่เด็ก น้อยคนนักที่จะถูกสอนให้รู้จักการใช้เงินทำงาน การรู้จักการทำงานเป็นเรื่องที่ดีและเป็นสิ่งที่สำคัญ เว้นเสียแต่ว่าการทำงานหนักเพียงอย่างเดียวไม่อาจทำให้ร่ำรวยได้ เรื่องเหล่านี้เราไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ เพราะมันมีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่แล้ว หากลองพิจารณาถึงชนชั้นในสังคม จะเห็นได้ว่าคนชนชั้นใดที่ทำงานหนักที่สุด ทำงานนานที่สุด เขาเหล่านั้นคือคนจนและคนชั้นกลาง ขณะที่คนรวยส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการตีกอล์ฟ ดื่มชา และปาร์ตี้ วัน ๆ แทบจะไม่ทำงานเลย คำถามคือแต่ทำไมคนเหล่านี้ถึงได้รวยขึ้นๆ เรื่อย ๆ คำตอบคือคนเหล่านี้ใช้เงินทำงาน เงินทั้งหมดที่เขาเหล่านี้มีไม่เคยหยุดนิ่ง แต่ก่อนที่เขาเหล่านั้นจะมาถึงจุดนี้ได้ล้วนแล้วแต่ผ่านการทำงานหนักมาแทบทั้งสิ้น แต่การทำงานหนักของคนรวยเป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่เหมือนกับคนจนที่ต้องทำงานหนักทั้งชีวิตเพียงเพื่อให้พอมีกินมีใช้ คนรวยรู้จักการใช้เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มาช่วยทำให้เขาทำเงินได้มากขึ้น และเครื่องทุ่นแรงก็มีมากมายหลายหลากให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นการจ้างคนอื่นมาทำงานแทน การลงทุนซื้อเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น ทำกำไรได้มากขึ้นเป็นต้น

เงินก็คือพลังงานชนิดหนึ่ง เราแปลงพลังงานของเราเป็นเงิน และเมื่อเรามีเงินแล้วเราก็จำเป็นต้องรู้จักใช้พลังของเงินตราให้เกิดประโยชน์ ยิ่งบริหารเงินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ภาระของเจ้าของเงินตราก็ยิ่งเบาบางลงเท่านั้น จนกระทั่งนำไปสู่อิสรภาพทางการเงินอย่างสมบูรณ์ในที่สุด

เราจะไม่สามารถมีอิสรภาพทางการเงินได้หากปราศจากสิ่งที่เรียกว่า Passive Income หรือเงินได้ที่ได้มาโดยไม่จำเป็นต้องทำงาน ไม่มีเงินทองที่ไม่มีวันใช้ไม่หมดเว้นเสียแต่มันจะงอกเงยขึ้นมาเองได้ ทำอย่างไรถึงจะทำให้เงินที่เรามีอยู่งอกเงยได้ทันกับรายจ่ายหรือมากกว่า ปัญหานี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถในการสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคล ไม่มีกลยุทธ์หรือวิธีการใดที่จะสมบูรณ์และได้ผลร้อยเปอร์เซนต์ ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับการวางแผนและพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ แผนการเดียวกันแต่ในบริบทที่ต่างกันย่อมให้ผลที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นอย่ายึดติดอยู่กับแผนการหรือวิธีการเพียงอย่างเดียว ต้องรู้จักปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พลิกแพลงให้ตรงกับบริบทหรือสถานการณ์เฉพาะหน้า

สำหรับเรื่องเงินแล้วความแตกต่างอีกประการที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างคนจนกับคนรวย คือ คนรวยมองการไกล คนจนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องเฉพาะหน้า เรามักจะได้ยินคนเหล่านี้พูดว่า ฉันจะคิดถึงเรื่องของพรุ่งนี้ได้อย่างไรในเมื่อวันนี้ยังแทบเอาตัวไม่รอด และสิ่งที่น่าแปลกที่สุดคือ เมื่อวันพรุ่งนี้มาถึงเราก็จะได้ยินคนพูดประโยคเดิมๆ นี้อีก เงินทองของคนจนที่ได้จากการทำงานหนักจะถูกตอบสนองความต้องการอย่างเต็มที่ เมื่อสิ้นเดือนหรือจบวันรับค่าแรง คนจนจะเฉลิมฉลองความเหนื่อยยากอย่างเต็มที่ด้วยการกินอยู่เมามายอย่างอิ่มหนำสำราญและมักจะจบด้วยประโยคที่ว่า "กินให้เต็มที่เดียวพรุ่งนี้หาใหม่" ขณะที่เงินทองที่ได้จากการทำงานหนักของคนรวยจะถูกเก็บออมเอาไปลงทุนเพื่ออนาคต เขาเหล่านั้นยามลำบากมักจะกินอยู่อย่างประหยัดใช้จ่ายอย่างอดออม จนกระทั่งติดเป็นนิสัย แม้กระทั่งเมื่อรวยแล้วก็ยังไม่ทิ้งนิสัยประหยัดมัธยัสถ์เมื่อครั้งยากลำบาก ดังที่เราจะเห็นมหาเศรษฐีหลายคนใช้ชีวิตเรียบง่ายเช่น วอร์เรน บัพเฟตต์ เป็นต้น

ขอเล่าเสริมถึงที่มาของเมนูหัวปลาหม้อไฟว่าทำไมถึงเป็นอาหารของเหล่าเจ้าสัว เมนูนี้มีที่มาว่าในสมัยก่อนคนจีนเข้ามาเป็นจับกังอยู่ตามท่าเรือต่าง ๆ เป็นจำนวนมากและมีฐานะลำบากยากแค้นเป็นอย่างยิ่ง ด้วยธรรมชาติในสมัยก่อนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ปลาจึงมีมากมาย คนส่วนใหญ่จึงนิยมกินเฉพาะเนื้อปลา ส่วนหัวมักจะตัดทิ้ง ดังนั้นตามท่าเรือต่าง ๆ เมื่อเรือประมงนำปลามาขึ้น ขั้นตอนแรกในการชำแหละคือตัดหัวปลาทิ้งแล้วเอาเฉพาะเนื้อไปขาย ด้วยความยากจน ทุกวันก่อนกลับบ้านเหล่าจับกังจะหาเก็บหัวปลาที่เขาตัดทิ้งติดมือกลับไปทำอาหารประทังชีวิตด้วย และเมื่อเวลาผ่านไปคนเหล่านี้ร่ำรวย หลายคนเป็นเจ้าสัวใหญ่ แต่ก็ยังไม่เคยลืมรสชาติของความทุกข์ยากในวานวัน การกินหัวปลาแท้ที่จริงแล้วเป็นการรำลึกถึงความยากลำบากที่ผ่านมา ถึงขนาดที่ว่าเจ้าสัวบางคนเมื่อเห็นหัวปลาหม้อไฟถึงกับหลั่งน้ำตา คนทั่วไปเห็นเหล่าเจ้าสัวกินหัวปลากันอย่างเอร็ดอร่อยจนน้ำตาไหล จึงทำให้มันกลายเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมในเวลาต่อมา

ดังนั้นหากคนยังไม่มีเงิน จงทำงานหนักเพื่อให้ได้เงินมา และเมื่อมีเงินแล้ว จงเรียนรู้ที่จะบริหารเงินให้เงินทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วสิ่งที่เรียกว่า "อิสรภาพทางการเงิน" จะไม่ใช่เพียงภาพเพ้อฝันอีกต่อไป


Wealth Files 16: Rich people act in spite of fear. Poor people left fear stop them.

ในบทแรก ๆ เราได้กล่าวถึงการได้มาของผลลัพธ์หรือผลกรรม ซึ่งมีลำดับดังนี้ ความคิดนำไปสู่ความรู้สึกแสดงออกผ่านการกระทำนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หากเราพิจารณาถึงกระบวนการนี้จะพบว่ามันแยกออกเป็นสองส่วนคือ สิ่งที่จับต้องไม่ได้ซึ่งก็คือ ความคิดและความรู้สึก กับสิ่งที่มองเห็นจับต้องได้ซึ่งก็คือผลลัพธ์หรือผลกรรม ทั้งสองด้านเชื่อมต่อกันผ่านการกระทำ หรือ Action หากจะพูดอีกแบบ การกระทำคือสะพานเชื่อมระหว่างสิ่งที่เป็นความคิดความรู้สึกกับผลกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สิ่งที่ปิดกั้นไม่ให้เราแสดงออกถึงความคิดความรู้สึกคือ ความกลัว

ดังนั้นความกลัว ความกังวลจึงเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุด ไม่ใช่แค่ต่อความสำเร็จเท่านั้น แต่มีผลกับทุกอย่างในชีวิต และความกลัวนี่เองที่เป็นตัวแบ่งแยกระหว่างคนรวยกับคนจน คนรวยกล้าที่จะกระทำทั้ง ๆ ที่มีความกลัว แต่คนจนปล่อยให้ความกลัวครอบงำจนไม่กล้าที่จะทำอะไร  ความผิดพลาดที่สำคัญที่สุดที่คนส่วนใหญ่กระทำคือการ "รอ" ให้ความกลัวหายไป ก่อนที่จะลงมือกระทำการใด และคนเหล่านี้มองข้ามความจริงประการหนึ่งนั่นก็คือ ความกลัว ความกังวล ไม่มีวันหาย หรือหมดไป เมื่อเราหมดความกังวลในเรื่องหนึ่ง มักจะมีความกังวลอื่น ๆ ตามมาอีกเสมอ ดังนั้นคนเหล่านี้จึงได้แต่รอต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความกลัวเปรียบเสมือนงูจงอางมากมายที่แผ่แม่เบี้ยสลอนอยู่ต่อหน้าเราอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เราต้องทำไม่ใช่การฆ่ามันทิ้ง หรือกำจัดมันให้หมดไปจากเส้นทางที่เราจะเดิน เพราะถึงแม้เราจะทำได้แต่การดำเนินชีวิตเราก็คงจะเหนื่อยยากน่าดู การหันหลังวิ่งหนีไปให้พ้นเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ วิธีที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่สุดคือการทำให้งูเหล่านั้นเชื่อง และเมื่อไหร่ที่เราสำเร็จวิชานี้เราทั้งไม่ต้องเข่นฆ่าประหัตประหารกับมันและก็ไม่ต้องพยายามวิ่งหนีมัน แต่เราจะอยู่ร่วมกับมันอย่างสันติ

จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรู้ว่าการที่จะประสบความสำเร็จ เราไม่จำเป็นต้องขจัดความกลัวหรือความกังวลให้หมดไป มนุษย์ทุกคนมีความกลัวไม่ว่าจะรวยหรือจน หนุ่มหรือชรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ร่ำรวยหรือประสบความสำเร็จย่อมมีความกลัวมากกว่าคนทั่วไปมากมายหลายเท่า แต่เขาเหล่านั้นไม่เคยปล่อยให้ความกลัวหยุดยั้งไม่ให้เขาก้าวไปสู่ความสำเร็จ คนเหล่านี้กล้าที่จะล้มเหลว กล้าที่จะลองผิดลองถูก กล้าที่จะลงมือกระทำทั้ง ๆ ที่มีความกลัวหรือความกังวลใจอยู่

ความมั่งคั่งร่ำรวยไม่มีทางได้มาอย่างง่ายๆ กว่าที่เหล่ามหาเศรษฐีจะประสบความสำเร็จร่ำรวย ล้วนแล้วแต่ผ่านความยากลำบากมาอย่างแสนสาหัสแล้วทั้งสิ้น "ถ้าเราเลือกจะกระทำแต่เรื่องง่าย ๆ ชีวิตเราจะต้องประสบกับความยากลำบาก แต่ถ้าเรากล้าที่จะกระทำเรื่องยาก ๆ ให้สำเร็จเราก็จะพบกับความสุขสบาย" เป้าหมายของคนจนและคนชั้นกลางส่วนใหญ่คือความสุขสบาย ความสุขสบายเป็นเรื่องที่ดี เว้นเสียแต่ว่ามันไม่ทำให้เราเติบโตก้าวหน้าและเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ ถ้าเป้าหมายของเราคือความร่ำรวย เราอาจถูกหยุดอยู่ที่ความสะดวกสบาย แต่ถ้าเป้าหมายของเราคือความสะดวกสบาย เราอาจจะได้มันมาเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่เราจะประสบกับความยากลำบากเสียมากกว่า

ดังนั้นหากอยากจะประสบความสำเร็จ เราจำเป็นที่จะต้องลงมือกระทำทั้ง ๆ ที่ในใจอาจจะยังมีความกลัวหรือความกังวล เพื่อที่จะประสบความสำเร็จเราจำเป็นต้องผ่านความยากลำบาก เพราะเมื่อเราผ่านมันไปได้ ความสุขสบายก็จะตามมาเอง อย่าปล่อยให้ความกลัวมาฉุดรั้ง และจงระวังกับดักของความสะดวกสบาย


Wealth Files 17: Rich people constantly learn and grow. Poor people think they already know.

น้ำเต็มแก้ว คือศัตรูที่สำคัญที่สุด เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดที่จะขัดขวางไม่ให้เราประสบความสำเร็จ หากอยากจะประสบความสำเร็จ ประการแรกคือเราต้องตระหนักว่าความไม่รู้ไม่ได้หมายความว่าโง่ และเราต้องเข้าใจว่าไม่มีใครรู้ทุกเรื่องราวในโลกนี้ เมื่อเราเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้จะทำให้เราเปิดใจที่จะเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง คนรวยส่วนใหญ่เข้าใจในประเด็นนี้เป็นอย่างดี สำหรับคนจนแล้วมักจะทระนงตนว่ารู้ทุกเรื่องราว สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับคนเหล่านั้นคือการถูกมองว่าโง่ และสิ่งที่คนเหล่านี้เข้าใจคือการไม่รู้เท่ากับโง่ สำหรับคนรวยแล้ว เขาเข้าใจเป็นอย่างดีว่า การที่เราไม่รู้ไม่ได้หมายความว่าโง่ การไม่ยอมเรียนรู้ต่างหากคือความโง่ที่แท้จริง ดังนั้นการถูกมองว่าโง่เพราะไม่รู้ จึงมีความน่ากลัวน้อยกว่าคำว่าจน ถ้าทุกวันนี้เรายังจน ทุกข์ยากและไม่มีความสุขในชีวิต นั่นแสดงว่ามีบางอย่างที่เรายังไม่รู้

การเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเราคิดว่าเรารู้ทุกอย่างแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญคือ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเราสิ่งที่เรารู้มันจริงแค่ไหน? ถูกต้องแค่ไหน? ถึงแม้ว่าเราจะเคยได้ยิน ได้รับรู้ ได้อ่าน เรื่องราวเหล่านั้นมาก็ไม่ได้หมายความว่าเรารู้จักเรื่องเหล่านั้นดีพอ ดังนั้นหากเราสามารถเปลี่ยนจากคำว่า know it all เป็นคำว่า learn it all เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราคิดว่า เรารู้แล้ว ว่าแท้ที่จริงเรารู้จักมันจริง ๆ หรือเปล่า

การเรียนรู้ต้องมีการขยายของเขตไปเรื่อย ๆ ถึงจะเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง การเรียนรู้ในเรื่องเดิม ๆ ไม่อาจช่วยให้เราเติบโตและก้าวหน้าได้ โลกไม่มีอะไรที่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิตอล ที่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ผู้ที่ไม่ยอมเรียนรู้จะถูกสลัดทิ้งให้ล้าหลังห่างไกลออกไปเรื่อย ๆ มนุษย์เราก็เหมือนกับพืชพันธุ์ต่าง ๆ ถ้าไม่เติบโตก็มีแต่รอวันตายเท่านั้น

คนจนมักจะโทษว่าพวกขาดความรู้และไม่ได้รับการศึกษาเพราะว่ายากจน หรือค่าใช้จ่ายในการศึกษาแพงเกินไป Benjamin Franklin เคยกล่าวไว้ว่า "If you think education is expensive, try ignorance." เราตีราคาการศึกษาว่าแพง แต่เราไม่เคยตีราคาความเขลาว่ามันแพงแค่ไหน ความรู้คือพลัง มีพลังถึงจะสามารถกระทำการใดๆ ได้ ถ้าอยากร่ำรวยมั่งคั่ง จงอย่างอายที่จะบอกว่าไม่รู้และลงมือศึกษามันอย่างจริงจัง อย่าให้ข้ออ้างต่าง ๆ มาหยุดคุณไว้ หากวันนี้คุณไม่มีเงิน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ว่าทำยังไงถึงจะมีเงิน หากคุณไม่มีเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องศึกษาว่าทำอย่างไรถึงจะมีเวลา

ความสำเร็จเป็นทักษะที่ฝึกฝนและเรียนรู้ได้ ไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จในทุกเรื่องโดยปราศจากการเรียนรู้และฝึกฝน ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ทุกคนล้วนเริ่มต้นจากจุดที่ศูนย์เหมือนกันเสมอ เริ่มจากความไม่รู้ เรียนรู้ จนกระทั่งเชี่ยวชาญ และประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด คติพจน์ที่สำคัญที่สุดคือ "เขาทำได้ เราก็ต้องทำได้" คนอื่นประสบความสำเร็จได้ เราก็ต้องประสบความสำเร็จได้เช่นกัน


การเป็นคนรวย ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเรื่องเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่มันคือคุณลักษณะ บุคลิกและความคิดในแบบที่คนรวยเขามีกัน หนทางที่จะนำไปสู่ความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนที่สุดคือการพัฒนาตนเอง โดยวิธีการที่ได้ผลที่สุดคือการพัฒนาตนเองจากภายในสู่ภายนอก ปรับปรุงพื้นฐานทางความคิด ทัศนคติให้ถูกต้อง อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่า ผลกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนเป็นผลสะท้อนจากสิ่งที่อยู่ภายในของเรา ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความรู้สึกต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้คือรากที่แท้จริงที่เราต้องปรับปรุงบำรุงรักษา ส่วนผลลัพธ์หรือกรรมที่เกิดขึ้นแล้วล้วนเป็นสิ่งที่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หนทางที่ดีที่สุดคือการหันมาบำรุงรากให้แข็งแรงเพื่อให้ผลรุ่นถัดไปหอมหวาน ไม่ใช่พยายามแก้ไขผลที่เกิดขึ้นแล้วให้หอมหวาน

ลำดับในการประสบความสำเร็จประกอบด้วย ทำ, เป็น, มี สามคำนี้คนรวยกับคนจนจะเรียงลำดับไม่เหมือนกัน คนรวยจะเรียงลำดับคำเหล่านี้เป็น "เป็น, ทำ, มี" ในขณะที่คนจนจะเรียงลำดับเป็น "มี, ทำ, เป็น" คนจนมักจะบอกว่า "ถ้าฉันมีเงินมาก ฉันจะทำอะไรก็ได้ที่ฉันอยากทำ และฉันจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ" ในขณะเดียวกันคนรวยจะบอกว่า "ถ้าฉันเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ฉันสามารถทำอะไรก็ตามที่ฉันอยากทำเพื่อที่จะมีอะไรก็ตามที่ฉันอยากมี รวมถึงเงิน"

Hungry homeless man sits behind wealthy young man
Photo by Benjamin Disinger / Unsplash

คนเดียวที่จะเปลี่ยนตัวคุณได้ คือตัวคุณเอง